วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

วาสนา วีระชาติพลี
วาสนา วีระชาติพลี หรือ ป้าแต๋ว เป็นดีเจชื่อดัง จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบด้วยคะแนนเกียรตินิยม สมัยที่เธอเรียนอยู่ที่จุฬาฯ เธอเคยเป็นทั้งนักดนตรีจากสถาบันศึกษาเดิมและเป็นนักร้องส.จ.ม.อีกด้วย จึงมีพื้นฐานของความรู้ในเรื่องของเพลงสากลเป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นผู้ที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษอย่างดีเยี่ยม ต่อมาได้เป็นดีเจหญิงคนแรกของรายการ nite spot จากการชักชวนของอิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ เธอได้จัดรายการ Together Again และ Radioactive ทางคลื่น 99 เม็กกะเฮิร์ตซ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายครั้งภายในชื่อ Radioactive การจัดรายการเพลงในช่วงนั้น เป็นการปฏิวัติวงการรายการวิทยุด้วยการเลิกเปิดเพลงร็อกเก่าๆ และเพลงป๊อปจ๋าๆ แต่เปิดเพลงแนวโมเดิร์นร็อกที่เป็นซาวนด์ดนตรีจากอังกฤษยุค 80 แทน แล้วก็มีการเลือกเพลงจากยุค 70 เข้ามาเปิดด้วย
เธอเป็นผู้ผลักดันแนวอัลเทอร์เนทีฟในประเทศไทย ได้นำหลายๆวงเข้ามาเปิดคอนเสิร์ตในประเทศไทยเช่น แมนิค สตรีท พรีชเชอร์ส ในปี 2536 หลังจากนั้นเธอได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศอังกฤษกว่าสิบปี โดยเธอได้จัดรายการ London Express จัดแบบบันทึกเทปและส่งมาออกอากาศที่ประเทศไทย นอกจากนี้เธอยังมีผลงานหนังสือที่ชื่อ ลุยเดี่ยว เที่ยวแบบวาสนา วีระชาติพลี เธออยู่ที่ประเทศอังกฤษโดยทำงานอยู่ Goldman Sachs แผนก Event Organization ในลักษณะการจัดงาน มีทติ้ง จัดปาร์ตี้ต่างๆ ทำได้อยู่หกปี
5 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เธอได้เป็นดีเจ ในงานปาร์ตี้ Dude/sweet ที่คลับ Astra ปัจจุบันเธอจัดรายการที่คลื่น 99.5 เอ็ฟเอม ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลาห้าทุ่มจนถึงตีหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550


ดู อุทัยธานี ในความหมายอื่นได้ที่ อุทัยธานี (แก้ความกำกวม)

ประวัติเมืองอุทัยธานี
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ - กิ่งอำเภอ 68 ตำบล 632 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองอุทัยธานี
อำเภอทัพทัน
อำเภอสว่างอารมณ์
อำเภอหนองฉาง
อำเภอหนองขาหย่าง
อำเภอบ้านไร่
อำเภอลานสัก
อำเภอห้วยคต หน่วยการปกครอง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
เมื่อท่านอายุ 13 ปีในปี พ.ศ. 2453 ท่านได้ศึกษานักธรรมและบาลีจนจบนักธรรมเอกและเปรียญ 5 ประโยค โดยสอบได้เปรียญ 5 ประโยคเมื่ออายุ 19 ปีใน พ.ศ. 2459 สอบได้เป็นที่ 1ในประเทศได้รับประกาศนียบัตรหมายเลข 1 จากพระหัตถ์ ของรัชกาลที่ 6 และได้รับความไว้วางใจจากพระศรีวิสุทธิวงศ์ (เฮง เขมจารี) ให้เป็นครูสอนภาษาบาลีอีกด้วย
จังหวัดอุทัยธานี เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนา "พระบรมราชวงค์จักรี" ได้สถาปนาพระราชบิดาเป็น "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก" เมื่อ พ.ศ. 2338

สืบ นาคะเสถียร
หลวงวิจิตรวาทการพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นนักคิดนักเขียนคนสำคัญของไทย เดิมชื่อ กิมเหลียง วัฒนปฤดา บุตรนายอิน และนางคล้ายเกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่จังหวัดอุทัยธานี บิดามารดามีอาชีพค้าขาย อายุ 8 ขวบเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดขวิด ต.สะแกกรัง เมื่อจบประถมศึกษา บิดาได้นำไปฝากให้บวชสามเณรอยู่กับพระมหาชุ้ย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เป็นพระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 "แห่งราชวงค์จักรี" มีพระนามเดิมชื่อ "ทองดี" เป็นบุตร ชายของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ประสูติที่บ้านสะแกกรัง ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี ในสมัยแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (2251-2275) ได้รับราชการเป็น พระพินิจอักษร และต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระอักษรสุนทรสาสน์ มีหน้าที่แต่งราชสาสน์ และท้องตราที่ไปมากับหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งเป็นผู้เก็บรักษาตราพระราชลัญจกร อันเป็นตราของแผ่นดิน พระอักษรสุทรสาสน์ได้แต่งงานกับสตรีงามชื่อ "หยก" (บางแห่งเรียกดาวเรือง) มีบุตร-ธิดา 5 คนคือ
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมเทพสุคาวดี
ขุนรามณรงค์
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

สงคราม ป.เปาอินทร์
สงคราม ป.เปาอินทร์ หรือนายค้ำ หมดมา เป็นชาวจังหวัดเพชรบูรณ์

พ.ศ. 2271
พุทธศักราช 2271 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1728 - มีนาคม ค.ศ. 1729
มหาศักราช 1650 วันเกิด

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550

The Matrix ReloadedThe Matrix Reloaded
เดอะ เมทริกซ์ รีโหลดเดด : สงครามมนุษย์เหนือโลก (The Matrix Reloaded) เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองของชุดไตรภาคเมทริกซ์ กำกับโดยพี่น้องวาชอฟสกี (แลร์รี และ แอนดี) ออกฉายในอเมริกาเหนือ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) นำแสดงโดย คีนู รีฟส์, ลอว์เรนซ์ ฟิชเบิร์น, แคร์รี-แอนน์ มอสส์ และฮิวโก วีฟวิง
เดอะ เมทริกซ์ รีโหลดเดด ทำรายได้ในทวีปอเมริกาเหนือไป 281 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรายได้รวมทั่วโลก 735 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื้อหาส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมทริกซ์ รีโหลดเดด ปรากฏในเกมคอมพิวเตอร์ เอ็นเทอร์เดอะเมทริกซ์ และชุดภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดสั้น ดิ แอนิเมทริคซ์ รวมถึงภาพยนตร์ภาคที่สามของไตรภาค คือ เดอะ เมทริกซ์ เรฟโวลูชั่นส์ ซึ่งออกฉายหลังจากภาคนี้เพียง 6 เดือน

เนื้อเรื่องย่อ
เดอะ เมทริกซ์ รีโหลดเดด : สงครามมนุษย์เหนือโลก เปิดฉากขึ้นด้วยนิมิตรประหลาดในฝันของนีโอ สองปีผ่านไปหลังจากการปลดปล่อยตัวเองได้อย่างสมบูรณ์กลายเป็นเดอะวัน(The One) ทำให้นีโอต้องปฏิบัติภารกิจต่างๆเพื่อยุติสงครามตามคำทำนายของเทพยากรณ์ และความเชื่อของมอร์เฟียส ในนิมิตของเขานั้น เขาเห็นทรินิตี้คนรักต้องตาย แต่นั่นมันมีความหมายว่าอย่างไรกันแน่?
ระหว่างนั้นเอง ข่าวสารจากยานโอไซริสซึ่งส่งมาก่อนจะสูญหายไปก็ได้ระบุว่าพวกเครื่องจักรบนพื้นโลกกำลังทำการขุดเจาะลงใต้พื้นดิน ตำแหน่งเป้าหมายก็คือไซออน เมืองสุดท้ายของมนุษยชาติ นั่นหมายความว่าถ้าไม่ทำอะไรสักอย่าง สุดท้ายแล้วพวกเครื่องจักรก็จะบุกมาถึงไซออน และถึงคราวสูญสิ้นของเผ่าพันธุ์มนุษย์ในที่สุด นีโอซึ่งกำลังสับสนระหว่างเส้นทางของตัวเองและอนาคตของมนุษย์ที่เหลือตัดสินใจไปพบกับเทพยากรณ์เพื่อขอคำปรึกษา
ขณะเดียวกัน สายลับสมิธซึ่งน่าจะถูกทำลายไปแล้วก็กลับมาอีกครั้ง คราวนี้เขามีพลังอำนาจเหมือนกับนีโอทุกประการ ที่ร้ายกว่านั้นคือเขาสามารถเปลี่ยนผู้คนอื่นๆในเมทริกซ์ให้กลายเป็นตัวเขาเองด้วย นั่นหมายความว่านีโอต้องต่อกรกับสมิธอีกนับร้อยตัว
นีโอเพิ่งจะพบว่าแท้จริงเทพยากรณ์นั้นไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยเมทริกซ์ ทำให้เขาไม่แน่ใจว่าจะเชื่อเธอได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม คำแนะนำจากเทพยากรณ์ก็คือ สงครามนั้นใกล้จะถึงจุดสุดท้ายเต็มที และหนทางเดียวที่จะแก้ปัญหาได้ก็คือการกลับไปสู่แหล่งกำเนิด(The Source) ซึ่งหนทางจะไปสู่แหล่งกำเนิดนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลที่ชื่อว่าช่างทำกุญแจ(The Key Maker) แต่บัดนี้ช่างทำกุญแจถูกคุมขังไว้ด้วยโปรแกรมอันตรายอีกตัวหนึ่งซึ่งพวกนีโอจะต้องหาทางเจรจาเพื่อให้ได้ตัวช่างทำกุญแจมา และเข้าไปสู่แหล่งกำเนิดเพื่อค้นพบต้นตอและทางแก้ปัญหาทั้งหมด
เรื่องลุกลามขึ้นเมื่อสมิธไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แค่ในเมทริกซ์ แต่เขาสามารถออกมาสู่โลกจริงได้แล้ว จุดมุ่งหมายตอ่ไปของเขาก็คือยึดครองอำนาจและแก้แค้น ทั้งในเมทริกซ์และในโลกจริง พวกนีโอจึงต้องหาทางยุติปัญหาให้ได้ทั้งสมิธและเครืองจักรที่กำลังมุ่งตรงสู่มนุษยชาติ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

กลูตาเมต
กลูตาเมต หรือ กรดกลูตามิค เป็นกรดอะมิโนชนิดที่พบมากที่สุดในโปรตีนตามธรรมชาติ กรดกลูตามิคจัดเป็นกรดอะมิโนชนิดที่ไม่จำเป็น ในทางเคมีนั้นกลูตาเมตเป็นไอออนลบของกรดกลูตามิก

กลูตาเมต หน้าที่
กรดกลูตามิกมีอยู่ในอาหารมากมายหลายชนิด เกลือโซเดียมกลูตาเมต (มอนอโซเดียมกลูตาเมตเป็นสารปรุงแต่งที่อยู่ในผงชูรส) ทำหน้าที่ให้รสชาติที่ชื่อว่า รสอูมามิ หรือ รสกลมกล่อม โดยกระตุ้นตัวรับที่ต่อมรับรสที่อยู่บนลิ้น กรดกลูตามิกประมาณร้อยละ 95 จะเกิดการสันดาปที่เซลล์ในลำไส้เล็ก

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

ประธานาธิปดี
ประธานาธิบดี (President) คือ ประมุขของประเทศที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

พื้นฐาน
กราฟย่อย ของกราฟ G คือกราฟที่มีเซตจุดยอดและเซตเส้นเชื่อม เป็นเซตย่อยของ G

กราฟย่อย
แนวเดิน คือ ลำดับสลับระหว่างจุดยอดและเส้นเชื่อม โดยเริ่มต้นและลงท้ายที่จุดยอด โดยที่จุดยอดจะต่อกับเส้นเชื่อมที่อยู่หน้าและตามหลังมันในลำดับ แนวเดินปิดคือแนวเดินที่จุดยอดแรกและจุดยอดท้ายเป็นจุดยอดเดียวกัน แนวเดินที่ไม่เป็นแนวเดินปิดเรียกว่า แนวเดินเปิด
ความยาวของแนวเดิน คือ จำนวนเส้นเชื่อมที่ใช้ในแนวเดิน
รอยเดิน คือ แนวเดินที่ใช้เส้นเชื่อมแต่ละเส้นเพียงครั้งเดียว รอยเดินปิด เรียกว่า ทัวร์ หรือ วงจร
วิถี มักหมายถึง แนวเดินเปิด โดยทั่วไปแล้ว วิถีมักจะหมายถึงวิถีเชิงเดียว นั่นคือ จุดยอดทุกจุดจะติดกับเส้นเชื่อมอย่างมากสองเส้น จากกราฟตัวอย่างข้างบน (5, 2, 1) คือ วิถีที่มีความยาวเท่ากับ 2 วัฏจักร คือ วิถีที่จุดเริ่มต้นกับจุดท้ายเป็นจุดเดียวกัน จากกราฟตัวอย่าง (1, 5, 2, 1) เป็นวัฏจักรที่มีความยาวเท่ากับ 3 วิถีที่มีจุดยอด n จุด เขียนแทนด้วย Pn วัฏจักรที่มีจุดยอด n จุด เขียนแทนด้วย Cn (อย่างไรก็ตาม มีผู้เขียนบางคนใช้ความยาวแทนจำนวนจุดยอด)
วัฏจักรคี่ คือ วัฏจักรที่มีความยาวเป็นจำนวนคี่ วัฏจักรคู่ คือ วัฏจักรที่มีความยาวเป็นจำนวนคู่ มีทฤษฎีบทหนึ่งกล่าวว่า กราฟจะเป็นกราฟสองส่วน ก็ต่อเมื่อ มันไม่มีวัฏจักรคี่อยู่
girthของกราฟ คือ ความยาวของวัฏจักร(เชิงเดียว)ที่สั้นที่สุดในกราฟ เส้นรอบวงของกราฟ คือ ความยาวของวัฏจักร(เชิงเดียว)ที่ยาวที่สุดในกราฟ กราฟที่ไม่มีวัฏจักรจะถือว่ามี girth และเส้นรอบวง เท่ากับอนันต์
กราฟอวัฏจักร คือ กราฟที่ไม่มีวัฏจักร กราฟวัฏจักรเดียว คือกราฟที่มีวัฏจักรอยู่ 1 วัฏจักร
C1 เรียกว่า วงวน C2 เรียกว่าคู่ของเส้นเชื่อมซ้ำ C3 เรียกว่า รูปสามเหลี่ยม

แนวเดิน
ต้นไม้ คือ กราฟเชิงเดียวเชื่อมโยงที่ไม่มีวัฏจักร ใบ คือ จุดยอดที่มีระดับขั้นเท่ากับ 1 เส้นเชื่อมใบ คือ เส้นเชื่อมที่ต่อกับใบ จุดยอดที่ไม่ใช่ใบเรียกว่า จุดยอดภายใน ต้นไม้จะถูกเรียกว่า ต้นไม้มีราก ถ้ามีจุดยอดหนึ่งจุดที่ถูกกำหนดให้เป็นราก ต้นไม้มีรากจะเป็นกราฟอวัฏจักรระบุทิศทางเมื่อเส้นเชื่อมชี้ออกจากรากเสมอ
ต้นไม้ เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นิยมใช้กันในวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ดูโครงสร้างข้อมูลแบบต้นไม้)
ป่า คือ กลุ่มของต้นไม้ที่ไม่มีจุดยอดร่วมกัน
ต้นไม้ย่อยของกราฟ G คือ กราฟย่อยที่เป็นต้นไม้
ต้นไม้ทอดข้าม คือ กราฟย่อยทอดข้ามที่เป็นต้นไม้ กราฟเชื่อมโยงจะมีต้นไม้ทอดข้ามเสมอ

ต้นไม้
กราฟแบบบริบูรณ์ Kn คือ กราฟเชิงเดียวที่มีจุดยอด n จุด และจุดยอดทุกจุดจะประชิดกับจุดยอดอื่นๆทุกจุด กราฟแบบบริบูรณ์ที่มีจุดยอด n จุด เขียนแทนด้วย Kn ซึ่งจะมีเส้นเชื่อม n(n-1)/2 เส้น
กลุ่มพรรคพวกในกราฟ คือ กลุ่มของจุดยอดที่จุดยอดทุกจุดในกลุ่มประชิดกัน กลุ่มพรรคพวกอันดับ k คือ กลุ่มพรรคพวกที่มีจุดยอด k จุด จากตัวอย่างข้างบน จุดยอด 1, 2, 5 เป็นกลุ่มพรรคพวกอันดับ 3 หรือเรียกว่า รูปสามเหลี่ยม
หมายเลขกลุ่มพรรคพวก ω(G) ของกราฟ G คือ อันดับของกลุ่มพรรคพวกที่ใหญ่สุดใน G

อภิธานศัพท์ทฤษฎีกราฟ การประชิด และระดับขั้น

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550

ลักษณะการแต่ง
เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการแต่งนิราศ ชมการจัดขบวนเรือคณะทูต เครื่องราชบรรณาการ พระราชสาสน์ ความอาลัยบ้านเมือง ตอนที่ 2 กล่าวถึงการเดินทางผ่านที่สำคัญต่างๆ จากปากน้ำ ผ่านเขาสามยอด เมืองพุทไธมาส เมืองญวน จนถึงเกาะมาเก๊าเป็นเวลา 33 วัน ตอนที่ 3 กล่าวชมเมืองกวางตุ้งและประเพณีของจีน ตอนที่ 4 เป็นการเดินทางกลับและยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นิราศเรื่องนี้เป็นเพียงการบันทึกเหตุการณ์ ไม่มีการคร่ำครวญถึงคนรัก ผิดกับนิราศเรื่องอื่น

นิราศกวางตุ้ง ตัวอย่าง
ในด้านประวัติศาสตร์นิราศเรื่องนี้เป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าในการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ในการเดินทางเพื่อเจริญพระราชไมตรี ตลอดจนการบันทึกเกี่ยวกับการทูตสมัยโบราณ โดยพรรณนาการเดินทางได้อย่างละเอียด ในด้านวรรณคดีพระยามหานุภาพเป็นผู้ริเริ่มการบันทึกเหตุการณ์ และเป็นนิราศที่ใช้ฉากต่างประเทศเป็นเรื่องแรกในวรรณคดีไทย ในด้านสังคม นิราศเรื่องนี้ให้เห็นสภาพของบ้านเมืองของจีนและวัฒนธรรมของจีน ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของคนจีนสมัยนั้น


ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (Diana, Princess of Wales) หรือพระนามเต็มคือ ไดอานา ฟรานเซส - สกุลเดิม สเปนเซอร์ (Diana Frances , née The Lady Diana Spencer) (ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ที่เมืองแซนดริงแฮม ประเทศอังกฤษ — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส) เป็นพระชายาพระองค์แรกของเจ้าฟ้าชายชาลส์ แห่งเวลส์ จากการอภิเษกสมรสเมื่อปี พ.ศ. 2524 และได้ทรงหย่าขาดเมื่อปี พ.ศ. 2539 พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นพระองค์ที่ 9 ของพระอังกฤษ ซึ่งสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปได้ขนานพระนามค์ว่า "เจ้าหญิงไดอานา" ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วพระนามนี้ถือว่าผิดในทางทฤษฎี
นับตั้งแต่ทรงหมั้นกับเจ้าชายแห่งเวลส์ในปี พ.ศ. 2524 จนกระทั่งการสิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุรถยนต์ ในปี พ.ศ. 2540 ไดอานาเป็นผู้หญิงสำคัญคนหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะความสนพระทัย การฉลองพระองค์ รวมถึงพระกรณียกิจของพระองค์ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลก พระองค์ทรงเป็นผู้นำแฟชั่น เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความหวังของผู้ป่วยโรคเอดส์ และทูตสันถวไมตรีที่เชื่อมทุกความขัดแย้ง แต่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดคือพระองค์ทรงเป็นพระราชินีในดวงใจของประชาชนอีกด้วย ตลอดทั้งพระชนม์ชีพพระองค์เป็นผู้ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดคนหนึ่งในโลกราวกับนักแสดงที่มีชื่อเสียง

ประวัติ
ไดอานาประสูติเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ทรงเป็นธิดาคนสุดท้องของวิสเคานท์และวิสเคานท์เตสอัลทอป ไดอานาทรงรับศีลล้างบาปที่โบสถ์เซนต์แมรีแม็กดาแลน พระองค์ทรงมีพี่น้อง 5 คนดังนี้
เลดีซาราห์ แม็กคอเดล พี่สาวคนโต
เลดีเจน เฟเลอว์ พี่สาวคนรอง
ชาลส์ เอิร์ลสเปนเซอร์คนที่ 9 น้องชายคนเดียว
หลังการหย่า ออเนอเรเบิลฟรานเซส พระมารดาของเจ้าหญิงพยายามที่จะขอมีอำนาจในการปกครองบุตร-ธิดาทุกคนโดยการร้องขอต่อศาล หากแต่แพ้คดีความ อำนาจในการปกครองบุตรธิดาจึงตกอยู่ที่พระบิดา ซึ่งหลังจากพระอัยกา (ปู่) ของไดอานา เอิร์ลคนที่ 7 แห่งสเปนเซอร์ถึงแก่อนิจกรรม วิสเคานท์อัลทอปในฐานะบุตรชายคนโตจึงได้รับสืบทอดยศของตระกูลต่อมา เป็นเอิร์ล คนที่ 8 แห่งสเปนเซอร์ ธิดาทั้งสามคน (ซาราห์ เจนและไดอานา) ได้รับยศเป็นเลดี้ ในขณะที่ชาลส์ ในฐานะที่เป็นทายาทผู้จะสืบตำแหน่งเอิร์ลแห่งสเปนเซอร์ต่อไป จึงดำรงยศเป็นวิสเคานท์อัลทอป
ต่อมาเอิร์ล คนที่ 8 แห่งสเปนเซอร์ พระบิดาได้สมรสอีกครั้งกับเรนน์ เคานท์เตสแห่งดาร์มอท ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างแม่เลี้ยงและลูกเลี้ยงทั้ง 4 คนนั้นเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนัก

อลิซาเบธ ซาราห์ ลาวินา สเปนเซอร์ (เลดี้ซาราห์ แม็กคอเดล ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิไดอานา ตามพระประสงค์ของเจ้าหญิง)
ซินเธีย เจน สเปนเซอร์ (เลดี้เจน เฟเลอว์ ปัจจุบันคือ บารอนเนสเฟเลอว์)
จอห์น สเปนเซอร์ (ถึงแก่กรรมหลังคลอดได้เพียง 10 ชั่วโมง)
ไดอานา ฟรานเซส สเปนเซอร์ (เจ้าหญิงแห่งเวลส์)
ชารลส์ เอ็ดเวิร์ด มัวไรส์ สเปนเซอร์ (เอิร์ลสเปนเซอร์คนที่ 9) วัยเด็ก
ครอบครัวสเปนเซอร์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์มานานแล้ว เลดีฟรอยเมยซึ่งเป็นคุณยายของเจ้าหญิงนั้น เป็นพระสหายและนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ มาเป็นเวลานาน ประกอบกับการที่เจ้าชายแห่งเวลส์เคยทรงคบหาอยู่กับเลดี้ซาราห์และเลดี้เจน พี่สาวของเลดี้ไดอานา ทำให้พระองค์ทรงคุ้นเคยกับไดอานาพอสมควร และเมื่อเจ้าฟ้าชายชาลส์พระชนม์ได้ราว 30 พรรษา พระองค์ได้รับการร้องขอให้ทรงเสกสมรส ตามกฎหมายพระองค์จะต้องเสกสมรสกับสตรีที่ไม่ได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิค แต่นับถือนิกายโบสถ์แห่งอังกฤษ

อภิเษกสมรส
เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ

เจ้าชายวิลเลียม แห่งเวลส์ ประสูติ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2525 รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยอีตันในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ชีววิทยาและประวัติศาสตร์ศิลปะ (ผลการทรงศึกษาทั้งหมดด้วยลำดับขั้น A) จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดริวส์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 ปัจจุบันทรงเข้ารับการฝึกเป็นทหารอยู่ที่ประเทศชิลี
เจ้าชายแฮร์รี แห่งเวลส์ ประสูติ 15 กันยายน พ.ศ. 2527 รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งอังกฤษ ถูกโจมตีมากที่สุดว่าเป็นเจ้าชายเจ้าปัญหา ด้วยพระอารมณ์รุนแรง หรือการฉลองพระองค์ไม่เหมาะสม (เช่นชุดนาซี) พระโอรส
ไดอานานอกจากจะมีพระโอรส 2 พระองค์แล้ว ยังทรงมีลูกเลี้ยง (godchildren คือ เด็กที่พระองค์ทรงเป็นแม่ทูนหัว) อีกเป็นจำนวน 17 คน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

เลดีเอ็ดวิน่า กรอสเวนเนอร์ ธิดาของดยุคและดัชเชสแห่งเวสมินสเตอร์ โดยเป็นลูกเลี้ยงคนแรกของไดอานา
ฮอนเนอเรเบิ้ลอเล็กซานดร้า นัตช์บอลล์ ธิดาของลอร์ดและเลดีโรมเซ่ย์
แคลร์ คาซาแลท ธิดาของอิซาเบล และ วิคเตอร์ คาซาแลท
คามิลล่า สไตรเกอร์ ธิดาของเรเบิ้น และฮอนเนอเรเบิ้ลโซเฟีย สไตรเกอร์ ซึ่งเป็นพระสหายที่เคยอยู่แฟลตห้องเดียวกันกับไดอานา
เจ้าชายฟิลิปเปส์ พระราชโอรสของอดีตกษัตริย์คอนสแตนตินและสมเด็จพระราชินีแอนน์ มารี
ลีโอนารา ลอนสเดล ธิดาของเจมี่และลอร่า ลอนสเดล ลอร่าเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของไดอานา
แจ๊กกี้ วอร์แรน บุตรของจอห์นและเลดีแคโรลีน วอร์แรน
เลดีแมรี่ เวลเลสลี่ย์ ธิดาของมาควิสและมาชันเนสแห่งโดโร
จอร์จ ฟรอสต์ บุตรของเซอร์เดวิดและเลดีคาริน่า ฟรอสต์
แอนโทนี่ ทวิสตัน-ดาวี่ ธิดาของออดลี่ย์ ทวิสตัน-ดาวี่ และฮอนเนอเรเบิ้ลแคโรลีน ฮาร์บอด-ฮาร์มอนด์ แคโรลีนเป็นพระสหายที่ไดอานาทรงวายพระทัยมาก
แจ๊ค ฟลอคเนอร์ บุตรของซีมอนด์และอิซาเบล ฟอล์คเนอร์
ลอร์ดเอ็ดเวิร์ด ดาวน์แพททริค บุตรของเอิร์ลแค้นท์เตสแห่งเซ้นท์แอนดรูว์
แจ๊ค บาทโลเมล บุตรของวิลเลี่ยมและแคโรลีน บาทโลเมล แคโรลีนเป็นพระสหายตั้งแต่มัธยมและเคยอยู่แฟลตห้องเดียวกับไดอานา
เบนจามิน ซามูแอล บุตรของฮอนเนอเรเบิลไมเคิลและจูเลีย ซามูแอล จูเลียเป็นพระสหายสนิทของไดอานา ทั้งสองคนมักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันเสมอๆ อีกทั้งยังเป็นเพื่อนไม่กี่คนที่ไดอานาขอคำปรึกษาเรื่องครอบครัวที่ร้าวฉาน
แอนโทนี่ แฮร์ริงตัน ธิดาของโจนาธาน แฮร์ริงตัน
ดิซซี่ย์ โซแอมซ์ ธิดาของฮอนเนอเรเบิลรูเพิร์ทและคามิลลา โซแอมซ์
โดเมนิก้า ลอว์ซัน ธิดาของดอมินิค ลอว์ซันและฮอนเนอเรเบิลโรซา มอนซ์ตัน โรซาเป็นพระสหายคนที่ไดอานาไปประทับอยู่ด้วย 1 เดือนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ โดเมนิก้าเป็นลูกเลี้ยงคนสุดท้ายของไดอานา ลูกเลี้ยง
เหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างความคาดหมายของทุกคน ในระยะแรกเจ้าหญิงไม่สามารถทรงปรับพระองค์ให้เข้ากับชีวิตของความเป็นเจ้าฟ้าหญิงได้ และทรงทุกข์ทรมานจากพระโรค bulimia (อยากอาหาร แต่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะอาเจียนออกมาจนหมด แต่ความอยากอาหารก็จะยังคงมีอยู่ตลอดเวลา) ซึ่งหลังจากหายขาดจากพระโรค เจ้าหญิงได้มีพระประสูติกาลเจ้าชายวิลเลียม หลังจากนั้นอีก 3 ปี พระองค์ได้มีพระประสูติกาลอีกครั้ง เจ้าชายแฮร์รี เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์เริ่มทรงมีความสัมพันธ์กับคามิลลา ปาร์กเกอร์โบลส์อย่างเปิดเผย บางคนเชื่อว่าเนื่องจากเจ้าฟ้าชายชาลส์ไม่สามารถทนได้ที่พระชายาได้รับความชื่นชมมากกว่าพระองค์ (คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ของเจ้าฟ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ภาระทั้งหมดกลับตกไปที่ไดอานาในฐานะที่ควรจะ "ทรงทนให้ได้" เจ้าหญิงพยายามอย่างยิ่งที่จะพยายามเชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับชาลส์ไว้ให้นานที่สุด แต่ไม่เป็นผล สื่อมวลชนประโคมข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าฟ้าชายชาลส์กับคามิลลา อย่างครึกโครม รวมทั้งข่าวคราวระหว่างเจ้าหญิงกับผู้ชายอีกหลายคน นั่นทำให้ทั้ง 2 พระองค์คิดว่า เรื่องราวทั้งหมดควรจะจบลงเสียที ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ในขณะนั้น สื่อมวลชนเรียกว่า "สงครามแห่งเวลส์" (War of Waleses)
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ สงครามแห่งเวลส์

ทรงหย่า
เจ้าหญิงแห่งเวลส์ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายหลายประการ ดังนี้
"In 1987, when so many still believed that AIDS could be contracted through casual contact, Princess Diana sat on the sickbed of a man with AIDS and held his hand. She showed the world that people with AIDS deserve no isolation, but compassion and kindness. It helped change world's opinion, and gave hope to people with AIDS.''
นอกจากนี้ เจ้าหญิงยังทรงสนพระทัยในศาสนาอย่างมาก พระองค์เคยทรงเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 อีกด้วย และยังทรงโปรดการที่ได้เล่นกับเด็กโดยไม่ถือพระองค์ ทรงเป็นแม่ทูนหัวของเด็กถึง 17 คน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเพราะพระองค์ทรงเคยเป็นครูที่โรงเรียนอนุบาลมาก่อนก็ได้ ในด้านการต่างประเทศทรงเป็นทูตสันถวไมตรีในหลายๆ ประเทศ การเสด็จของพระองค์นำความยินดีให้กับทุกคนที่จะได้เฝ้าฯ เป็นที่น่าเสียดายว่าก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไม่นานทรงมีหมายกำหนดการที่จะเสด็จเยือน จังหวัดภูเก็ต แต่ยกเลิกไปเสียก่อน

ด้านโรคเอดส์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2530 เจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงเป็นบุคคลสำคัญคนแรกของโลกที่ถูกถ่ายรูปว่าจับต้องตัวผู้ป่วยโรคเอดส์ ความคิดและทัศนคติต่อคนที่ป่วยเป็นโรคเอดส์เปลี่ยนไปทันที และคนป่วยเองก็มีกำลังใจมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะจากคำพูดของประธานาธิบดี บิล คลินตัน ซึ่งกล่าวถึงไดอานา ในปี พ.ศ. 2530 ว่า
ต่อต้านกับระเบิด เจ้าหญิงเสด็จไปในการทรงต่อต้านการวางกับระเบิด ในฐานะที่ทรงเป็นสมาชิกวิสามัญของสภากาชาดแห่งอังกฤษ ภาพที่พระองค์ทรงจับมือเด็กหญิงที่ถูกกับระเบิดกำลังจะสิ้นใจตราบกระทั่งลมหายใจสุดท้ายของเธอ นำความเศร้าอย่างยิ่งให้กับโลก พระกรณียกิจ

เหตุการณ์สิ้นพระชนม์
เมื่อวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เวลา 15.37 น. มีผู้พบเห็นไดอานาเสด็จลงจากเครื่องบินที่มีต้นทางจากประเทศกรีซ ที่สนามบินเลอร์ บู เจ๊ตในกรุงปารีส ในเวลาประมาณ 15.40น.เจ้าหญิงได้เสด็จขึ้นรถ เมอร์ซีเดส เบนซ์ สีดำรุ่น E600 รุ่นปี 1997 ออกจากสนามบินอย่างรวดเร็ว พร้อมกับทรงนัดพบกับ โดดี อัลฟาเยด์ ที่อพาร์ตเมนต์กลางกรุงปารีส หลังจากนั้น เวลาประมาณ 17.45 น. มีผู้พบเห็นไดอานากับนายโดดี พร้อมองครักษ์ อีกครั้งขณะช็อปปี้งในย่านถนน "ชองเอลีเซ่" ขณะนั้นช่างภาพอิสระรุมถ่ายพระฉายาลักษณ์พระองค์กับนายโดดี โดยเวลา 18.40 น. เจ้าหญิงจึงเสด็จกลับ มีการดักฟังทางโทรศัพท์ว่า เจ้าหญิงจะทรงพบกับนายโดดีอีก ที่โรงแรมริทซ์เพื่อเลี้ยงพระกระยาหารค่ำในเวลา 21.31 น. และเจ้าหญิงได้เสด็จถึงโรงเเรมเมื่อเวลา 21.31 โดยในระหว่างเวลา 21.40-23.30 น. เจ้าหญิงทรงอยู่ในงานเลี้ยงอันหรูหราของนายโดดี แต่มีรายงานการใช้โทรศัพท์ของเจ้าหญิงว่าทรงโทรศัพท์ไปหานางมารา โหรหญิงและเจ้าของร้านอาหารอิตาเลียนในกรุงลอนดอน พระสหายสนิทพระองค์ เพื่อทำนายดวงชะตาและขอคำปรึกษาปัญหาชีวิตภายในอีก 2-3 อาทิตย์ข้างหน้า
ก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อยเจ้าหญิงเสด็จออกจากโรงแรมเพื่อกลับที่ประทับ ช่างภาพอิสระชุดเก่าที่จึงสะกดรอยตามพระองค์อีกครั้ง จนมาถึงถนนลอดอุโมงค์ Point De Alma ใต้แม่น้ำเซน ที่ชื่อว่า แต่รถพระที่นั่งซึ่งวิ่งมาด้วยความเร็วประมาณ 126 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหลบหนีการตามล่าของเหล่านักภาพ ก็ได้พุ่งชนกับแผงราวเหล็กกั้นอุโมงค์อย่างจัง เนื่องจากถนนลอดอุโมงค์มีความลาดชันมาก ทำให้รถยนต์พระที่นั่ง หมุนตัวและพุ่งชนแผงเหล็กอีกด้านหนึ่ง ส่งผลให้หม้อน้ำเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง โดยเฮนรี พอลล์ คนขับรถและนายโดดี เสียชีวิตทันที ส่วนเจ้าหญิงและนายเทรเวอร์ เรสยอนส์ องครักษ์ได้รับบาดเจ็บสาหัส เจ้าหญิงมีบาดแผลฉกรรจ์ที่พระพักตร์ พระโลหิตออกมากและยังมีพระโลหิตไหลในพระปัปผาสะ
เมื่อเวลา 00.15 น. รถพยาบาลคันแรกของโรงพยาบาลเซ็นต์เดอลาปีแอร์ มารับเจ้าหญิงและองครักษ์ หลังจากนั้นอีกชั่วโมงกว่า แต่เจ้าหญิงนั้นทรงเสียพระโลหิตมาก และยังทรงมีพระโลหิตตกค้างที่พระปัปผาสะอยู่เป็นจำนวนมากด้วย พระอาการทรงตัวต่อมาเรื่อยๆ จนเมื่อเวลา 03.35 น. พระหทัยอ่อนพระกำลังลงเรื่อยๆ ซึ่งในขณะนั้นชีพจรอยู่ที่ 23 ครั้งต่อนาที

อุบัติเหตุ
หลังจากนั้นอีกประมาณครึ่งชั่วโมง เวลา 04.00 น. ดร.บรูโน ริโอ แพทย์ผู้ทำการรักษาเจ้าหญิงไดอานา ประกาศว่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการพระโลหิตไหลในพระปับผาสะและสูญเสียพระโลหิตมาก ส่วนนายเทรเวอร์ เรสยอนส์ องครักษ์นั้นเป็นคนเดียวในอุบัติเหตุที่รอดชีวิต สำนักพระราชวังบักกิ้งแฮมได้ออกแถลงการณ์ยืนยันในวันรุ่งขึ้น และแจ้งว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายวิลเลียม และ เจ้าชายแฮร์รี แห่งเวลส์ ทรงทราบข่าวแล้ว สมเด็จพระราชินีนาถ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดงานพระศพได้ที่ มหาวิหารเวสมินตัน โดยพระราชวงศ์อังกฤษทุกพระองค์เสด็จฯ เข้าร่วมพิธีพระศพ เจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี่ซึ่งยังคงทรงโศกเศร้ามากนั้น มีคุณปีเตอร์ ฟิลิปส์ (พระโอรสในเจ้าฟ้าหญิงแอนน์) จับมือและคอยให้กำลังใจตลอดเวลา แขกสำคัญนอกจากพระราชวงศ์ทุกพระองค์แล้วยังมีครอบครัวสเปนเซอร์ทุกคน และมีผู้ร่วมไว้อาลัยประมาณ 3,500 คน

เจ้าหญิงไดอาน่า สิ้นพระชนม์
ผู้คนทั่วทั้งโลกล้วนตกตะลึงและโศกเศร้ากับข่าวการสิ้นพระชนม์ของไดอาน่า ดอกไม้หลายล้านดอกและจดหมายนับล้านๆ ฉบับถูกส่งถึงหน้าพระราชวังเพื่อไว้อาลัยถวายแด่เจ้าหญิงแห่งเวลส์ โดยมีบุคคลสำคัญที่ได้แสดงความไว้อาลัยแก่ไดอานา เช่น สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 เลดี้ซาราห์ แม็กคอเดลและ เลดี้เจน เฟเลอว์ พระเชษฐภคินีของเจ้าหญิง ชาร์ลส์ เอิร์ล สเปนเซอร์ พระอนุชา และเซอร์เอลตัน จอห์น ได้ร้องเพลง Candle in the wind เพื่อบรรเลงถวายอาลัยแก่ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ในงานพระศพ
การ์ดใบสุดท้ายถึง "แม่"
ดอกไม้จำนวนนับล้านดอกหน้าพระราชวัง
พระศพขณะที่เคลื่อนเข้าสู่พระราชพิธี

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ ไว้อาลัยถวายไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ เจ้าหญิงไดอาน่า พระพินัยกรรม
ไดอาน่าทรงดำรงพระอิสริยยศต่างกันตามช่วงเวลาดังนี้
สำหรับพระนามและพระอิสริยยศเต็มๆ ของพระองค์นับตั้งแต่พระราชพิธีอภิเษกสมรสจนถึงทรงหย่า คือ

The Honourable Diana Frances Spencer (1 กรกฎาคม พ.ศ. 25049 มิถุนายน พ.ศ. 2518
The Lady Diana Frances Spencer (9 มิถุนายน พ.ศ. 251829 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
Her Royal Highness the Princess of Wales (29 กรกฎาคม พ.ศ. 252428 สิงหาคม พ.ศ. 2539
Diana, Princess of Wales(28 สิงหาคม พ.ศ. 253931 สิงหาคม พ.ศ. 2540) เกร็ดข้อมูล

เจ้าหญิงแห่งเวลส์
เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์
เจ้าชายวิลเลียม แห่งเวลส์
เจ้าชายแฮร์รี แห่งเวลส์

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

XPS
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากว่ายังไม่มีชื่อภาษาไทยที่กระชับ เหมาะสม หรือไม่รู้วิธีอ่านในภาษาไทย
XML Paper Specification หรือ XPS เป็นรูปแบบไฟล์เอกสาร XML สำหรับบันทึกและอ่านเอกสาร ซึ่งภาษามาร์กอัปของ XPS นั้นเป็นส่วนย่อยของ XAML สำหรับ Windows Presentation Foundation
XPS นั้นมองว่าเป็นคู่แข่ง PDF เนื่องจากว่ามีไฟล์รูปแบบ XPS นั้นเป็นรูปแบบคงที่ ไม่ใช่สำหรับการแก้ไขเหมือน PDF
XPS มาพร้อมกับวินโดวส์วิสตา และดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก 3.0 สำหรับผู้ที่ไม่มีส่วนประกอบดังกล่าว ยังสามารถดาวน์โหลด XPS Viewer สำหรับเปิดไฟล์ XPS ได้

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

ประวัติ

เพ็ชรทาย วงศ์คำเหลาเพ็ชรทาย วงศ์คำเหลา ผลงาน

ชิงร้อยชิงล้าน (2537 - ปัจจุบัน)
หม่ำโชว์ (2548 - ปัจจุบัน)
ชัยบดินทร์โชว์ (2546 - 2550 : ปัจจุบันไม่ร่วมรายการแล้ว)
ระเบิดเถิดเทิง (2539 - 2544 : ปัจจุบันไม่ร่วมรายการแล้ว)
โคกคูน ตระกูลไข่ (2546 : ปัจจุบันไม่ร่วมรายการแล้ว)
เวทีทอง (2537 - 2547 : ปัจจุบันไม่ร่วมรายการแล้ว) ภาพยนตร์

หม่ำ มุกแป้ก
ความลับในไหปลาแดก

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550


สถานีรถไฟห้วยยาง ตั้งอยู่ถนนเพชรเกษม-สถานีรถไฟห้วยยาง ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานีรถไฟชั้น 4 ของทางรถไฟสายใต้

สถานีรถไฟห้วยยาง เที่ยวขึ้น

รหัส  : 4149
ชื่อภาษาไทย  : ห้วยยาง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Huai Yang
ชื่อย่อภาษาไทย :
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ :
ชั้นสถานี  : สถานีชั้น 4
ระบบอาณัติสัญญาณ :
พิกัดที่ตั้ง  : 329+070
ที่อยู่  : ถนนเพชรเกษม-สถานีรถไฟห้วยยาง ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77130

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

พ.ศ. 2217
พุทธศักราช 2217 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1674 - มีนาคม ค.ศ. 1675
มหาศักราช 1596 วันเกิด

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550


เปอร์โตริโก (Puerto Rico) หรือชื่อเต็มคือ เครือรัฐเปอร์โตริโก (Commonwealth of Puerto Rico) (สเปน: Estado Libre Asociado de Puerto Rico ออกเสียง [es'tado 'libɾe asosi'ado de 'pweɾto 'riko]) เป็นเครือรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสาธารณรัฐโดมินิกันในภูมิภาคแคริบเบียนตะวันออกเฉียงเหนือ เปอร์โตริโกเป็นดินแดนที่เล็กที่สุดของหมู่เกาะแอนทิลลิสใหญ่ มีพื้นที่รวมเกาะเปอร์โตริโก เกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง รวมทั้งกลุ่มเกาะ ได้แก่ โมนา เบียเกส และกูเลบรา

เปอร์โตริโก ประวัติศาสตร์
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

ยุคก่อนโคลัมบัส
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

การเข้ามาของชาวสเปน
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

เปอร์โตริโก ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

ภูมิศาสตร์
เปอร์โตริโกไม่มีหน่วยการปกครองลำดับแรกที่กำหนดโดยรัฐบาลสหรัฐฯ แต่มี เทศบาล (municipalities) 78 แห่งเป็นหน่วยการปกครองลำดับรอง (เกาะโมนาไม่มีฐานะเป็นเทศบาล แต่เป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลมายาเกวซ) เทศบาลของเปอร์โตริโกแบ่งย่อยออกเป็น เขต (barrios) และ แขวง (sectors) แต่ละแห่งมีนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลซึ่งมีการเลือกตั้งใหม่ทุก ๆ 4 ปี
เทศบาลแห่งแรก (เดิมเรียกว่า "เมือง") ของเปอร์โตริโก คือเทศบาลซานฮวน จัดตั้งขึ้นในปี 1521 ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ได้ตั้งเทศบาลใหม่ขึ้น ได้แก่ โกอาโม (1570) และซันเฮร์มัง (1570) จากนั้นเทศบาลอีก 3 แห่งก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้แก่ อาเรซีโบ (1614) อากวาดา (1692) และปอนเซ (1692)
การตั้งถิ่นฐานในเปอร์โตริโกขยายตัวเพิ่มขึ้นในอีก 2 ศตวรรษถัดมา โดยเกิดเทศบาลขึ้นใหม่ 30 แห่งในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และอีก 34 แห่งแห่งเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีเทศบาลเพียง 6 แห่งที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเทศบาลแห่งใหม่ที่สุดคือ โฟลรีดา จัดตั้งขึ้นในปี 1971

การแบ่งเขตการปกครอง
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

ธรณีวิทยา
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

ประชากร
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

ภาษา
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

ศาสนา
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

การเมือง
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

สถานะทางการเมืองและกฎหมายนานาชาติ
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

เศรษฐกิจ
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

การศึกษา
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550


โชเน็นแม็กกาซีนรายสัปดาห์ (「週刊少年マガジン」 Shūkan Shōnen Magajin) หรือมักจะเรียกกันว่า โชเน็นแม็กกาซีน เป็นนิตยสารการ์ตูนภาษาญี่ปุ่นตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โคดันฉะ เริ่มตีพิืมพ์ฉบับแรกเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2502 มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนมัธยมปลายและนักศึกษามหาวิทยาลัย

การ์ตูนที่มีชื่อเสียงที่ตีพิมพ์ในโชเน็นแม็กกาซีน

ชิเด็นไค โนะ ทากะ (2506-2508, เท็ตสึยะ จิบะ)
เอทแมน (2506-2509)
W3 (2508) *ตีพิืมพ์เพียงแค่ 6 ตอน หลังจากนั้นโชเน็นแม็กกาซีนก็ไม่ตีพิมพ์ผลงานของ โอซามุ เทซุกะ อีกเลยเป็นเวลากว่า 10 ปี
ไซบอร์ก 009 (2508) *เฉพาะตอนที่สอง
เกะ เกะ เกะ โนะ คิทาโร่ (2509-2514)
เคียวจิน โนะ โฮชิ (2509-2514, อิิกกิ คาจิวาระ, โนโบรุ คาวาซากิ)
เท็นไซ บาคาบอน (2510-?, ฟุจิโอะ อาคาสุกะ) โชเน็นแม็กกาซีน 2502-2510

อาชิตะ โนะ โจ (2511-2516)
ไอ้มดแดง (2514)
หน้ากากเสือ (2514, อิกกิ คาจิวาระ, นาโอกิ สึจิ)
คาราเต้ บากะ อิจิได (2514-2520, อิกกิ คาจิวาระ, จิโระ สุโนดะ, โจยะ คาเงมารุ)
เดวิลแมน (2515-2516)
ไวโอเลนซ์ แจ็ค (2516-2517, โกะ นาไง)
สุริคิจิ ซันเป (2516-2526, ทาคาโอะ ยากุจิ)
มิทสึเมะ กะ โทรุ (2517-2521, โอซามุ เทซุกะ)
เมมอน! ไดซันยาคิวบุ (2520-2536) โชเน็นแม็กกาซีน 2511-2520

โชเน็นจิได (2521-2523, ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ)
ข้าชื่อโคทาโร (2525-2544)
บาริ บาริ เด็นเซ็ทสึ (2526-2534)
มิสเตอร์อะจิกโกะ (2526-2529, ไดสุเกะ เทราซาวะ)

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550


พิคโกโร ตัวละครจากการ์ตูนเรื่องดราก้อนบอล
พิคโกโรเป็นปีศาจเผ่าอสูรตัวหนึ่งเมื่อในอดีตเคยคิดจะครองโลกซึ่งก็เคยพาลูกสมุนของตนไปอาละวาดเมืองมนุษย์มาแล้ว แต่ก็ถูกกักขังวิญญานลงในหม้อหุงข้าวใบหนึ่งโดยอาจารย์มุไทโตผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ของผู้เฒ่าเต่าและผู้เฒ่านกกระเรียนซึ่งในตอนนั้นทั้งคู่ยังเป็นหนุ่มอยู่ แต่ต่อมาพิคโกโรก้ได้ถูกปลุกโดยจักรพรรดิปิลาฟ จักรพรรดิปิลาฟก็ได้เล่าเรื่องดราก้อนบอลให้พิคโกโรฟัง พิคโกโรจะขอพรต่อหน้าเทพมังกรว่าขอให้ได้ความเป็นหนุ่มชั่วนิรันดร์ และพิคโกโรก็ได้ขอพรตามที่ต้องการได้สำเร็จ จนได้ครองโลกอย่างสมใจนึก จนในที่สุดโกคูสามารถปราบพิคโกโรลงได้ แต่ก่อนตายพิคโกโรได้แยกร่างไว้เป็น จอมมารจูเนียร์เมื่อจอมมารจูเนียร์โตขึ้นมาก็ได้ร่วมแข่งขัน ศึกชิงเจ้ายุทธภพ เพื่อที่ว่าถ้าชนะก็จะได้ครองโลกแต่จอมมารจูเนียร์แพ้ให้กับโกคูทำให้แผนการครองโลกต้องเลื่อนไป
พิกโกโร่

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

พระเจ้าแทจง
พระเจ้าแทจงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ลีของเกาหลี ทรงครองราชย์ในช่วง พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 1961 รวม 2 ปี และได้มอบบัลลังก์ให้กับพระเจ้าเซจง ครองราชย์ต่อไป


วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก
ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก (.NET Framework) คือแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์สร้างขึ้นโดยไมโครซอฟท์ โดยรองรับภาษาดอตเน็ตมากกว่า 40 ภาษา ซึ่งมีไลบรารีเป็นจำนวนมากสำหรับการเขียนโปรแกรม รวมถึงบริหารการดำเนินการของโปรแกรมบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยไลบรารีนั้นได้รวมถึงส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ การเชื่อมต่อฐานข้อมูล วิทยาการเข้ารหัสลับ อัลกอริทึม การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน
โปรแกรมที่เขียนบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก จะทำงานบนสภาพแวดล้อมที่บริหารโดย Common Language Runtime (CLR) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดย CLR นั้นเตรียมสภาพแวดล้อมเสมือน ทำให้ผู้พัฒนาไม่ต้องคำนึงถึงความสามารถที่แตกต่างระหว่างหน่วยประมวลผลต่างๆ และ CLR ยังให้บริการด้านกลไกระบบความปลอดภัย การบริหารหน่วยความจำ และException handling ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นออกแบบมาเพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม
ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นยังได้เป็นส่วนประกอบในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 และวินโดวส์วิสตา ซึ่งรุ่นแรกได้ออกในปีพ.ศ. 2545 รุ่นที่สองได้ออกในปีพ.ศ. 2548 ซึ่งตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่นสองนั้นได้รองรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์เกือบทุกรุ่น และรุ่นที่สาม ซึ่งเป็นรุ่นปัจจุบันได้ออกวันที่6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยได้รองรับวินโดวส์เอกซ์พี SP2 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 SP1 และวินโดวส์วิสตา

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2550

อนุพงษ์ เผ่าจินดา
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ชื่อเล่น ป็อก หนึ่งในทหารผู้ก่อการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 โดยขณะนั้น พล.อ.อนุพงษ์ อยู่ในยศ พล.ท. และเป็นแม่ทัพกองทัพภาคที่ 1 ถูกมองว่าแม้จะเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 (ตท.10) เหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคพวก แต่กลับไม่เข้าร่วมหรือเห็นดีเห็นชอบด้วยกับการกระทำของกลุ่ม จึงถูกมองว่าเป็นฝ่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วย
ในคืนเกิดเหตุรัฐประหาร พล.ท.อนุพงษ์ เป็นผู้ดำเนินการ เพราะกองทัพภาคที่ 1 มีขอบเขตหน้าที่ดูแลกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลางอยู่แล้ว โดยใช้แผน " ปฐพี 149 " โดยวางกำลังเป็นจุด วางเป้าหมาย รวมถึงจัดกำลังจากหน่วยทหารต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และมีกองกำลังจากกองทัพภาคที่ 3 ของ พล.ท.สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นฝ่ายประสาน โดยการดำเนินการครั้งนี้กระทำด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังอย่างที่สุด เพราะเป็นการเดิมพันด้วยชีวิต หากการไม่สำเร็จก็จะกลายเป็นกบฏในทันที
หลังจากเหตุการณ์ พล.ท.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้เลื่อนยศเป็น พล.อ. ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก หรือที่เรียกว่า 5 เสือ ทบ. และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คู่กับ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร และเป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ คมช.
พล.อ.อนุพงษ์ เป็นนายทหารที่อยู่ในสายงานคุมกำลังรบมาตั้งแต่เริ่มรับราชการใหม่ เคยเป็นผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ทหารเสือราชินี (ผบ.ร.21 รอ.) เป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.1 รอ.) ก่อนจะได้เลื่อนเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1 และแม่ทัพภาคที่ 1
พล.อ.อนุพงษ์ จบปริญญาโทจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 26