วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554
Zakuro Cosplay
Zakuro Fujiwara is the last of the main Mew Mews introduced. As with the others, she first appears at the endangered animal exhibit without being named.Zakuro tends to be a loner and initially refuses to join the other Mew Mews, but changes her mind after they come to her aid. Infused with the DNA of a Gray Wolf, Zakuro has a wolf tail and ears while in her Mew Mew form. Zakuro is a professional model and is presented as a mature character. As her biggest fan Mint effuses, Zakuro has "long, glossy, raven hair" with "dark, intelligent, yet sensitive eyes" and "long, strong and thin legs".Zakuro's background is more developed in the anime adaptation and she is said to be estranged from her family since leaving home two years earlier.Junko Noda provides her voice in the anime. In the Mew Mew Power English adaptation, her name is changed to Renée Roberts and her voice is supplied by Mollie Weaver.
Show some Zakuro Cosplay!
วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553
Touhou Project Character Koakuma
Koakuma (小悪魔?)
Species: Devil
Ability: N/A
Residence: Scarlet Devil Mansion
Stage 4 mid-boss. Similar to Daiyousei, she received no character profile in the game and was named Koakuma (lit. "Little Devil") by fans. However, she is quite popular considering her status, more so than some of the lesser liked stage bosses. ZUN later described her to be like Daiyousei — whimsical, enjoys pranks, and doesn't think before doing. He also added that while devils are powerful as vampires and magicians, Koakuma is a rather weak one, therefore, she is a Koakuma (Little Devil).
วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550
วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ส่วนหนึ่งของ ศาสนาอิสลาม
อิมามฮุเซน (ฮุซัยนฺ) เกิดปี ฮ.ศ. 4 เป็นบุตรของอิมามอะลีย์ (อ) กับท่านหญิงฟาฏิมะหฺ บุตรีนบีมุฮัมมัด เป็นน้องชายของอิมามฮะซัน นบีมุฮัมมัดรักหลานทั้งสองคนนี้มากและมักกล่าวเสมอว่า "เขาทั้งสองคือลูกของฉัน" "ลูกของฉันทั้งสองคือ อิมามทั้งในยามนั่งและยามยืน" ทั้งในยามนั่งและยามยืนหมายถึง การดำรงตำแหน่งผู้นำและการยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูของศาสนา และ "ฮะซันและฮุเซนเป็นหัวหน้าชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์"
หลังจากอิมามฮะซันเสียชีวิตแล้ว อิมามฮุเซน น้องชายของท่านได้ขึ้นรับตำแหน่งอิมามแทน ตามคำสั่งเสียของพี่ชาย อิมามฮุเซนได้ทำหน้าที่ในการชี้นำประชาชนและยืนหยัดต่อสู้กับความเลยร้ายของ มุอาวิยะหฺ บุตรอะบูซุฟยาน
มุอาวิยะหฺ ตาย 9 ปี 6 เดือนต่อมา เขาได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบคอลีฟะหฺเป็นระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย โดยตั้งตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์และได้แต่งตั้งให้ ยะซีด บุตรชายเป็นมกุฏราชกุมาร ยะซีดชอบดื่มสุรา เล่นการพนัน ผิดประเวณี และมีใจคอโหดร้าย เมื่อขึ้นปกครองก็ได้มีคำสั่งให้เจ้าเมืองมะดีนะหฺไปเจรจากับอิมามฮุเซนให้ยอมใหคำ้สัตยาบันแก่ตน ถ้าอิมามฮุเซน ปฏิเสธก็ให้ฆ่าทิ้งเสีย อิมามฮุเซนขอถ่วงเวลาเรื่องสัตยาบัน และในคืนนั้นเอง อิมามฮุเซนและสมาชิกในครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาชนกลุ่มหนึ่ง ได้ออกเดินทางจากนครมะดีนะหฺไปยังนครมักกะหฺ อิมามฮุเซนพักอยู่ที่มักกะหฺได้ 2-3 เดือนก็ทราบข่าวว่ายะซีดไม่ยอมลดละที่จะหาทางสังหารท่านให้ได้หากไม่ยอมให้คำสัตยาบัน ในเวลานั้นประชาชนจากนครกูฟะหฺ อิรัก ได้ส่งจดหมายหลายพันฉบับถึงท่าน เพื่อเชิญชวนให้ไปเป็นอิมามในอิรัก ซึ่งในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของบิดาและพี่ชาย พวกเขาสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือท่านในการต่อสู้กับพวกอุมัยยะหฺ
สงครามกัรบะลาอ์
อิมามฮุเซนได้ตัดสินใจปฏิเสธการให้สัตยาบันต่อยะซีดและเลือกความตายเพื่อสานต่ออุดมการณ์แห่งอิสลาม หลังจากนั้นท่านและครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาชนกลุ่มหนึ่งได้เดินทางออกจากมักกะหฺเพื่อมุ่งหน้าไปยังนครกูฟะหฺ ในระหว่างการเดินทาง ท่านได้อธิบายเจตนารมณ์ในการเดินทางแก่ผู้ร่วมขบวนการ และสุดท้ายท่านอิมามได้ตัดสินใจแจ้งให้ผู้ร่วมขบวนการฟังว่า การเดินทางไปครั้งนี้อาจจะไม่มีใครรอดชีวิตกลับมา เมื่อถึงกัรบะลาอ์ ซึ่งอยู่ห่างจากกูฟะหฺประมาณ 70 กม. อิมามฮุเซนได้เผชิญหน้ากับกองทัพของยะซีดที่สกัดกั้นทางไว้ กองคาราวานของอิมามฮุเซนถูกทหารยะซีดจำนวนมากมายล้อมกรอบและถูกปิดเส้นทางเอาน้ำดื่ม จนทำให้กองคาราวานของอิมามฮุเซนต้องทนกระหายน้ำท่ามกลางทะเลทรายที่ร้อนระอุเป็นเวลาหลายวัน ในสภาพการเช่นนั้นอิมามมีทางเลือกอยู่สองทางคือ ยอมใหคำ้สัตยาบันหรือยอมตาย
ในวันที่ 10 มุฮัรรอม ปี ฮ.ศ. 61 ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 1023 อิมามฮุเซนและครอบครัวได้ร่วมกันต่อสู้กับกองทหารที่มีจำนวนพลสามหมื่นคนตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาบ่าย ซึ่งในการต่อสู้ครั้งนี้ชีวิตของท่าน ลูกชาย น้องชาย หลานชาย อา และสาวกบางคนของท่าน รวมแล้วประมาณ 132 คนได้เสียชีวิตจนหมดสิ้น ยกเว้นอิมามซัยนุลอาบิดีน บุตรชายคนหนึ่งของท่านที่ไม่สามารถออกรบได้ เพราะป่วยอยู่ในขณะนั้น จึงรอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวแต่เหตการณ์ในครั้งนั้นก็ได้ทำให้ศาสนาอิสลามคงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้
อับบาส บุตรของ อิมามอะลีย์(อ)น้องชายอิมามฮุเซน ได้ขออนุญาตครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่ออาสาออกไปรบแต่ท่านอิมามฮุเซนก็มิให้ออกรบเพราะท่านรักน้องชายของท่านมาก แต่ท่านอิมาม(อ)ก็อนุญาตให้ออกไปเอาน้ำจากฝั่งกองทัพยะซีด อับบาสควบม้าฝ่ากองทัพศัตรูจนถึงแม่น้ำฟุรอต (ยูเฟรติส) อับบาสตักน้ำใส่ถุงน้ำเพื่อนำกลับ โดยตัวเองไม่ได้ดื่ม แต่ก็ถูกทหารสกัดกั้น อับบาสต่อสู้จนตกจากหลังม้า ถูกม้าของเหล่าศัตรูเหยียบย่ำจนสิ้นชีพ
หลังจากเหล่าบุรุษในกองคาราวานอิมามฮุเซนถูกสังหาร กองทหารของยะซีดได้ยึดทรัพย์สินและจับกุมลูกหลานของอิมามฮุเซน ซึ่งส่วนมากเป็นเด็กและสตรีไปเป็นเชลยร่วมเดินทางไปพร้อมกับศีรษะของท่านอิมามฮุเซนไปยังกูฟะหฺ และจากกูฟะหฺมุ่งหน้าไปยังนครดามัสคัส ซีเรีย
ในบรรดาเชลยเหล่านั้นมีท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน และซัยนับ น้องสาวของอิมามฮุเซน ร่วมอยู่ด้วย ซัยนับได้กล่าวคำปราศรัยท่ามกลางผู้คนที่เนีองแน่นในกูฟะหฺและในห้องประชุมของ อิบนุซิยาด ผู้ปกครองกูฟะหฺในเวลานั้น เมื่อไปถึงซีเรียทั้งสองได้กล่าวคำปราศรัยตอบโต้ยะซีดและพรรคพวก เป็นคำปราศรัยที่ได้รับการบันทึกไว้จนถึงวันนี้
วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550
บทความนี้เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ กาลิเลโอ สำหรับบทความเกี่ยวกับยานสำรวจดาวพฤหัสบดี ดูรายละเอียดใน ยานกาลิเลโอ
กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เกิด ณ เมืองปิซา ประเทศอิตาลี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1564) – เสียชีวิต ณ เมืออาร์เซทิ (Arcetri) ฟลอเรนซ์ ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) มีบิดาชื่อ วินเซนซิโอ กาลิเลอิ ซึ่งมีอาชีพเป็นนักดนตรี และมีมารดาชื่อ จูเลีย กาลิเลอิ กาลิเลโอ เป็นนักวิทยาศาสตร์ และยัง ถูกขนานนามในชื่อต่างๆ เช่น "father of modern astronomy" (บิดาแห่งวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่), "father of modern physics" (บิดาแห่งวิชาฟิสิกสมัยใหม่) หรือ "father of science" (บิดาแห่งวิทยาศาสตร์) เป็นผู้ค้นพบ ทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์มากมาย เช่น กฏแห่งการแกว่งของลูกตุ้ม และ กฏการตกของวัตถุ
เหตุที่กาลิเลโอได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ เพราะเขาและโยฮันส์ เคปเลอร์ เป็นผู้ที่ก่อให้เกิด การปฏิวัติวิทยาศาสตร์(Scientific revolution)ขึ้น จริงอยู่ที่ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ เราเรียนรู้ที่จะสร้างอารยธรรมขึ้นมา จากการค้นคว้า ทดลอง และจดบันทึกองค์ความรู้สืบทอดต่อๆกันมา จากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หากพิจารณาจริงๆกระบวนการดังกล่าวก็มีขั้นตอนครบถ้วนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับในแบบเรียนทุกประการ แล้วจะนับกาลิเลโอจะเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์ ได้อย่างไร ในเมื่อเขาคงก็ไม่ได้เป็นคนแรกแน่ๆที่เริ่มใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในโลกใบนี้ ประเด็นอันละเอียดอ่อนนี้คงจะเป็นประเด็นเปิดให้ถกเถียง กันอีกยาว แต่หากเรามองอีกแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนกว่า คือจากมุมของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ โดยนับการตีพิมพ์หนังสือPhilosophiae Naturalis Principia Mathematica ของนิวตันเป็นการสิ้นสุดการปฏิวัติ กาลิเลโอก็นับว่าเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เพราะงานในยุคนั้นหลายๆชิ้นที่มีส่วนสำคัญต่อ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ มีเพียงงานของกาลิเลโอเพียงคนเดียวที่โดดเด่นที่สุดในแง่ของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
อิทธิพลการแสวงหาความรู้ที่มีแม่แบบจากหนังสือ The Elements ของ Euclidทรงพลังมากในสมัยของกาลิเลโอ เพราะเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการวัดจะไม่นำเราคลาดเคลื่อนจากความแท้จริง ยกตัวอย่างเช่น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสามด้านของสามเหลี่ยมมุมฉากจะต้องสอดคล้องกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสทุกรูป ? ความจริงข้อนี้คงไม่สามารถหาได้จากการทดลองสร้างสามเหลี่ยมมุมฉากขึ้นมาเป็นหมื่นๆรูปแล้ววัด? หากเราทดลองกับรูปสามเหลี่ยมุมฉากจำนวน 10 + 1จะจริงด้วย? ดังนั้นเป็นที่น่าสงสัย(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของกาลิเลโอ)ว่าความจริงที่หาได้จากการทดลองและการวัด กับความจริงที่หาได้การอนุมาน(deduction)จากสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่าจริงอยู่แล้ว อย่างไหนเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือกว่ากัน ซึ่งแน่นอนที่ความจริงแบบเรขาคณิตของEuclid ที่รู้จักกันดีว่าเป็นเรขาคณิตของ"วงเวียนและสันตรง"(สันตรงคือไม้บรรทัดที่ไม่มีเสกลที่ใช้ขีดเส้นตรงได้เพียงอย่างเดียว=ไม่มีการวัดความยาว)
ดูจะมีอิทธิพลเหนือกว่าความรู้ที่ได้จากการสังเกต ทดลอง และวัดค่าเป็นตัวเลขออกมาเป็นตัวเลขในแบบของกาลิเลโอ
แต่ข้อมูลจากการสังเกต ทดลองวัดค่าเป็นตัวเลขในงานกฏการตกของวัตถุมีส่วนสำคัญที่ทำให้นิวตันค้นพบ
กฏแรงของโน้มถ่วง()ในครั้งแรก และงานที่ได้จากการทดลอง ทางกลศาสตร์ของกาลิเลโอก็เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้นิวตันสามารถสรุปกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน 3 ข้อ ออกมาได้ ซึ่งกฏทั้งสี่ข้อนี้ คือ ชัยชนะของวิทยาศาสตร์ที่เหนือกว่า กระบวนการแสวงหาความรู้เดิมที่ได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์ชาวกรีกซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงมาเป็นพันๆปี
มีข้อสังเกตว่างานที่ใช้ตัดสินชี้ขาดชัยชนะของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์น้ำหนักน่าจะอยู่ที่งานของเคปเลอร์ที่เป็นถือข้อพิสูจน์ กฏแรงของโน้มถ่วงที่นิวตันพิสูจน์ได้เป็นครั้งที่สอง มากกว่างานของกาลิเลโอ แต่งานของเคปเลอร์อาจไม่ได้มีความหมายตรงกับ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานทั่วไป เราจึงไม่นับว่าเคปเลอร์เป็นบิดาวิทยาศาสตร์
กาลิเลโอ นำเรื่อง ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล
งานเขียนของกาลิเลโอ
Two New Sciences, ค.ศ. 1638 Lowys Elzevir (Louis Elsevier) Leiden (ในภาษาอิตาเลียน , Discorsi e Dimostrazioni Matematiche, intorno á due nuoue scienze Leida, Appresso gli Elsevirii 1638)
Letters on Sunspots
The Assayer (ในภาษาอิตาเลียน, Il Saggiatore)
Dialogue Concerning the Two Chief World Systems, ค.ศ. 1632 (ในภาษาอิตาเลียน, Dialogo dei due massimi sistemi del mondo)
The Starry Messenger, ค.ศ. 1610 Venice (ในภาษาลาติน, Sidereus Nuncius)
Letter to Grand Duchess Christina
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)