วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550


อากาอิ ชูอิจิ เป็นตัวละครจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เขาเดินทางมาจาก สหรัฐอเมริกา พร้อมกับ โจดี้ เชนท์มิลเลี่ยน และ เจมส์ แบล็ก ซึ่งเป็น FBI เหมือนกันกับเขาเพื่อมาสืบหาตัวคนร้าย
อากาอิ ชูอิจิอากาอิ ชูอิจิ
ค.ศ. 711
พุทธศักราช 1254 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 711 - มีนาคม ค.ศ. 712
มหาศักราช 633 วันเกิด

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550


ส่วนหนึ่งของฮุเซน ศาสนาอิสลาม
อิมามฮุเซน (ฮุซัยนฺ) เกิดปี ฮ.ศ. 4 เป็นบุตรของอิมามอะลีย์ (อ) กับท่านหญิงฟาฏิมะหฺ บุตรีนบีมุฮัมมัด เป็นน้องชายของอิมามฮะซัน นบีมุฮัมมัดรักหลานทั้งสองคนนี้มากและมักกล่าวเสมอว่า "เขาทั้งสองคือลูกของฉัน" "ลูกของฉันทั้งสองคือ อิมามทั้งในยามนั่งและยามยืน" ทั้งในยามนั่งและยามยืนหมายถึง การดำรงตำแหน่งผู้นำและการยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูของศาสนา และ "ฮะซันและฮุเซนเป็นหัวหน้าชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์"
หลังจากอิมามฮะซันเสียชีวิตแล้ว อิมามฮุเซน น้องชายของท่านได้ขึ้นรับตำแหน่งอิมามแทน ตามคำสั่งเสียของพี่ชาย อิมามฮุเซนได้ทำหน้าที่ในการชี้นำประชาชนและยืนหยัดต่อสู้กับความเลยร้ายของ มุอาวิยะหฺ บุตรอะบูซุฟยาน
มุอาวิยะหฺ ตาย 9 ปี 6 เดือนต่อมา เขาได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบคอลีฟะหฺเป็นระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย โดยตั้งตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์และได้แต่งตั้งให้ ยะซีด บุตรชายเป็นมกุฏราชกุมาร ยะซีดชอบดื่มสุรา เล่นการพนัน ผิดประเวณี และมีใจคอโหดร้าย เมื่อขึ้นปกครองก็ได้มีคำสั่งให้เจ้าเมืองมะดีนะหฺไปเจรจากับอิมามฮุเซนให้ยอมใหคำ้สัตยาบันแก่ตน ถ้าอิมามฮุเซน ปฏิเสธก็ให้ฆ่าทิ้งเสีย อิมามฮุเซนขอถ่วงเวลาเรื่องสัตยาบัน และในคืนนั้นเอง อิมามฮุเซนและสมาชิกในครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาชนกลุ่มหนึ่ง ได้ออกเดินทางจากนครมะดีนะหฺไปยังนครมักกะหฺ อิมามฮุเซนพักอยู่ที่มักกะหฺได้ 2-3 เดือนก็ทราบข่าวว่ายะซีดไม่ยอมลดละที่จะหาทางสังหารท่านให้ได้หากไม่ยอมให้คำสัตยาบัน ในเวลานั้นประชาชนจากนครกูฟะหฺ อิรัก ได้ส่งจดหมายหลายพันฉบับถึงท่าน เพื่อเชิญชวนให้ไปเป็นอิมามในอิรัก ซึ่งในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของบิดาและพี่ชาย พวกเขาสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือท่านในการต่อสู้กับพวกอุมัยยะหฺ

สงครามกัรบะลาอ์
อิมามฮุเซนได้ตัดสินใจปฏิเสธการให้สัตยาบันต่อยะซีดและเลือกความตายเพื่อสานต่ออุดมการณ์แห่งอิสลาม หลังจากนั้นท่านและครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาชนกลุ่มหนึ่งได้เดินทางออกจากมักกะหฺเพื่อมุ่งหน้าไปยังนครกูฟะหฺ ในระหว่างการเดินทาง ท่านได้อธิบายเจตนารมณ์ในการเดินทางแก่ผู้ร่วมขบวนการ และสุดท้ายท่านอิมามได้ตัดสินใจแจ้งให้ผู้ร่วมขบวนการฟังว่า การเดินทางไปครั้งนี้อาจจะไม่มีใครรอดชีวิตกลับมา เมื่อถึงกัรบะลาอ์ ซึ่งอยู่ห่างจากกูฟะหฺประมาณ 70 กม. อิมามฮุเซนได้เผชิญหน้ากับกองทัพของยะซีดที่สกัดกั้นทางไว้ กองคาราวานของอิมามฮุเซนถูกทหารยะซีดจำนวนมากมายล้อมกรอบและถูกปิดเส้นทางเอาน้ำดื่ม จนทำให้กองคาราวานของอิมามฮุเซนต้องทนกระหายน้ำท่ามกลางทะเลทรายที่ร้อนระอุเป็นเวลาหลายวัน ในสภาพการเช่นนั้นอิมามมีทางเลือกอยู่สองทางคือ ยอมใหคำ้สัตยาบันหรือยอมตาย
ในวันที่ 10 มุฮัรรอม ปี ฮ.ศ. 61 ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 1023 อิมามฮุเซนและครอบครัวได้ร่วมกันต่อสู้กับกองทหารที่มีจำนวนพลสามหมื่นคนตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาบ่าย ซึ่งในการต่อสู้ครั้งนี้ชีวิตของท่าน ลูกชาย น้องชาย หลานชาย อา และสาวกบางคนของท่าน รวมแล้วประมาณ 132 คนได้เสียชีวิตจนหมดสิ้น ยกเว้นอิมามซัยนุลอาบิดีน บุตรชายคนหนึ่งของท่านที่ไม่สามารถออกรบได้ เพราะป่วยอยู่ในขณะนั้น จึงรอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวแต่เหตการณ์ในครั้งนั้นก็ได้ทำให้ศาสนาอิสลามคงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้
อับบาส บุตรของ อิมามอะลีย์(อ)น้องชายอิมามฮุเซน ได้ขออนุญาตครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่ออาสาออกไปรบแต่ท่านอิมามฮุเซนก็มิให้ออกรบเพราะท่านรักน้องชายของท่านมาก แต่ท่านอิมาม(อ)ก็อนุญาตให้ออกไปเอาน้ำจากฝั่งกองทัพยะซีด อับบาสควบม้าฝ่ากองทัพศัตรูจนถึงแม่น้ำฟุรอต (ยูเฟรติส) อับบาสตักน้ำใส่ถุงน้ำเพื่อนำกลับ โดยตัวเองไม่ได้ดื่ม แต่ก็ถูกทหารสกัดกั้น อับบาสต่อสู้จนตกจากหลังม้า ถูกม้าของเหล่าศัตรูเหยียบย่ำจนสิ้นชีพ
หลังจากเหล่าบุรุษในกองคาราวานอิมามฮุเซนถูกสังหาร กองทหารของยะซีดได้ยึดทรัพย์สินและจับกุมลูกหลานของอิมามฮุเซน ซึ่งส่วนมากเป็นเด็กและสตรีไปเป็นเชลยร่วมเดินทางไปพร้อมกับศีรษะของท่านอิมามฮุเซนไปยังกูฟะหฺ และจากกูฟะหฺมุ่งหน้าไปยังนครดามัสคัส ซีเรีย
ในบรรดาเชลยเหล่านั้นมีท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน และซัยนับ น้องสาวของอิมามฮุเซน ร่วมอยู่ด้วย ซัยนับได้กล่าวคำปราศรัยท่ามกลางผู้คนที่เนีองแน่นในกูฟะหฺและในห้องประชุมของ อิบนุซิยาด ผู้ปกครองกูฟะหฺในเวลานั้น เมื่อไปถึงซีเรียทั้งสองได้กล่าวคำปราศรัยตอบโต้ยะซีดและพรรคพวก เป็นคำปราศรัยที่ได้รับการบันทึกไว้จนถึงวันนี้
ฮุเซน

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550


บทความนี้เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ กาลิเลโอ สำหรับบทความเกี่ยวกับยานสำรวจดาวพฤหัสบดี ดูรายละเอียดใน ยานกาลิเลโอ
กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เกิด ณ เมืองปิซา ประเทศอิตาลี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1564) – เสียชีวิต ณ เมืออาร์เซทิ (Arcetri) ฟลอเรนซ์ ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) มีบิดาชื่อ วินเซนซิโอ กาลิเลอิ ซึ่งมีอาชีพเป็นนักดนตรี และมีมารดาชื่อ จูเลีย กาลิเลอิ กาลิเลโอ เป็นนักวิทยาศาสตร์ และยัง ถูกขนานนามในชื่อต่างๆ เช่น "father of modern astronomy" (บิดาแห่งวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่), "father of modern physics" (บิดาแห่งวิชาฟิสิกสมัยใหม่) หรือ "father of science" (บิดาแห่งวิทยาศาสตร์) เป็นผู้ค้นพบ ทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์มากมาย เช่น กฏแห่งการแกว่งของลูกตุ้ม และ กฏการตกของวัตถุ
เหตุที่กาลิเลโอได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ เพราะเขาและโยฮันส์ เคปเลอร์ เป็นผู้ที่ก่อให้เกิด การปฏิวัติวิทยาศาสตร์(Scientific revolution)ขึ้น จริงอยู่ที่ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ เราเรียนรู้ที่จะสร้างอารยธรรมขึ้นมา จากการค้นคว้า ทดลอง และจดบันทึกองค์ความรู้สืบทอดต่อๆกันมา จากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หากพิจารณาจริงๆกระบวนการดังกล่าวก็มีขั้นตอนครบถ้วนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับในแบบเรียนทุกประการ แล้วจะนับกาลิเลโอจะเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์ ได้อย่างไร ในเมื่อเขาคงก็ไม่ได้เป็นคนแรกแน่ๆที่เริ่มใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในโลกใบนี้ ประเด็นอันละเอียดอ่อนนี้คงจะเป็นประเด็นเปิดให้ถกเถียง กันอีกยาว แต่หากเรามองอีกแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนกว่า คือจากมุมของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ โดยนับการตีพิมพ์หนังสือPhilosophiae Naturalis Principia Mathematica ของนิวตันเป็นการสิ้นสุดการปฏิวัติ กาลิเลโอก็นับว่าเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เพราะงานในยุคนั้นหลายๆชิ้นที่มีส่วนสำคัญต่อ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ มีเพียงงานของกาลิเลโอเพียงคนเดียวที่โดดเด่นที่สุดในแง่ของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
อิทธิพลการแสวงหาความรู้ที่มีแม่แบบจากหนังสือ The Elements ของ Euclidทรงพลังมากในสมัยของกาลิเลโอ เพราะเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการวัดจะไม่นำเราคลาดเคลื่อนจากความแท้จริง ยกตัวอย่างเช่น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสามด้านของสามเหลี่ยมมุมฉากจะต้องสอดคล้องกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสทุกรูป ? ความจริงข้อนี้คงไม่สามารถหาได้จากการทดลองสร้างสามเหลี่ยมมุมฉากขึ้นมาเป็นหมื่นๆรูปแล้ววัด? หากเราทดลองกับรูปสามเหลี่ยมุมฉากจำนวน 10 + 1จะจริงด้วย? ดังนั้นเป็นที่น่าสงสัย(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของกาลิเลโอ)ว่าความจริงที่หาได้จากการทดลองและการวัด กับความจริงที่หาได้การอนุมาน(deduction)จากสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่าจริงอยู่แล้ว อย่างไหนเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือกว่ากัน ซึ่งแน่นอนที่ความจริงแบบเรขาคณิตของEuclid ที่รู้จักกันดีว่าเป็นเรขาคณิตของ"วงเวียนและสันตรง"(สันตรงคือไม้บรรทัดที่ไม่มีเสกลที่ใช้ขีดเส้นตรงได้เพียงอย่างเดียว=ไม่มีการวัดความยาว)
ดูจะมีอิทธิพลเหนือกว่าความรู้ที่ได้จากการสังเกต ทดลอง และวัดค่าเป็นตัวเลขออกมาเป็นตัวเลขในแบบของกาลิเลโอ
แต่ข้อมูลจากการสังเกต ทดลองวัดค่าเป็นตัวเลขในงานกฏการตกของวัตถุมีส่วนสำคัญที่ทำให้นิวตันค้นพบ
กฏแรงของโน้มถ่วง(frac{GmM}{r^2})ในครั้งแรก และงานที่ได้จากการทดลอง ทางกลศาสตร์ของกาลิเลโอก็เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้นิวตันสามารถสรุปกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน 3 ข้อ ออกมาได้ ซึ่งกฏทั้งสี่ข้อนี้ คือ ชัยชนะของวิทยาศาสตร์ที่เหนือกว่า กระบวนการแสวงหาความรู้เดิมที่ได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์ชาวกรีกซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงมาเป็นพันๆปี
มีข้อสังเกตว่างานที่ใช้ตัดสินชี้ขาดชัยชนะของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์น้ำหนักน่าจะอยู่ที่งานของเคปเลอร์ที่เป็นถือข้อพิสูจน์ กฏแรงของโน้มถ่วงที่นิวตันพิสูจน์ได้เป็นครั้งที่สอง มากกว่างานของกาลิเลโอ แต่งานของเคปเลอร์อาจไม่ได้มีความหมายตรงกับ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานทั่วไป เราจึงไม่นับว่าเคปเลอร์เป็นบิดาวิทยาศาสตร์
กาลิเลโอ นำเรื่อง ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล

กาลิเลโอ กาลิเลอิ งานเขียนของกาลิเลโอ

Two New Sciences, ค.ศ. 1638 Lowys Elzevir (Louis Elsevier) Leiden (ในภาษาอิตาเลียน , Discorsi e Dimostrazioni Matematiche, intorno á due nuoue scienze Leida, Appresso gli Elsevirii 1638)
Letters on Sunspots
The Assayer (ในภาษาอิตาเลียน, Il Saggiatore)
Dialogue Concerning the Two Chief World Systems, ค.ศ. 1632 (ในภาษาอิตาเลียน, Dialogo dei due massimi sistemi del mondo)
The Starry Messenger, ค.ศ. 1610 Venice (ในภาษาลาติน, Sidereus Nuncius)
Letter to Grand Duchess Christina

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เมลิสม่า
เมลิสม่า คือ เทคนิคการร้องเพลงให้หลายๆ ตัวโน้ตในหนึ่งคำ (โดยมากมักจะ 5-6 โน้ตในหนึ่งคำ ) เทคนิคการร้องประเภทนี้มักจะมีในดนตรีโบราณ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอย่างเช่น ยิว,มุสลิม,ฮินดู ส่วนทางตะวันตกมักถูกอ้างถึงโดยเกรโกเรียนแชนท์ แต่บางทีมักจะถูกอธิบายถึงการร้องเพลงจริงๆ ในยุคบาโรคต่อมาคือการร้องแบบกอสเปล
เมลิสม่าถูกเขียนอย่างเป็นระบบในโตราห์ในศตวรรษที่ 7 หรือ 8 ต่อมาโดยเกรโกเรียนแชนท์ ปรากฏหลักฐานประมาณ คริสตวรรษที่ 900
ทุกวันนี้มีการใช้เทคนิคเมลิสม่าในดนตรีป็อปและดนตรีแบบบอลคาน ป็อป-โฟล์ก ศิลปินปัจจุบันที่ใช้เทคนิคนี้ โดยในปัจจุบันมักจะเรียกว่า Riffing เช่น ลูลู, มาวิน เกย์,มารายห์ แครี,วิทนีย์ ฮูสตัน,แพตตี ลาเบลล์,ลูเธอร์ แวนดรอส,สตีวี วันเดอร์,อินเดีย อารี,ไบรอัน แมคไนท์,เซลีน ดิออน,คริสติน่า อากีเลร่า,เบเวอร์ลีย์ ไนท์,บียอนเซ่,ลอรีน ฮิลล์,โจโจ,คริส บราวน์ และ อารีธา แฟรงคลิน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

คลองประเวศบุรีรมย์คลองประเวศบุรีรมย์
คลองประเวศบุรีรมย์ (Khlong Prawet Buri Rom) เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดต่อจากคลองพระโขนงไปเชื่อมกับคลองด่าน ออกสู่แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกคลองที่ขุดต่อออกไปว่า "คลองประเวศบุรีรมย์" และให้ขุดคลองแยกจากคลองประเวศบุรีรมย์ อีก 4 คลอง คือ คลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม และคลองสี่ เริ่มขุดตั้งแต่ พ.ศ. 2421 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2423 มีความยาวทั้งสิ้น 1150 เส้น (46 กิโลเมตร)
ในการขุดคลองประเวศบุรีรมย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ "ประกาศขุดคลอง" ใน พ.ศ. 2420 ทรงพระราชทานเงินทุนจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจำนวน 80000 บาท ส่วนทุนสร้างที่เหลือเป็นเงิน 32752 บาท ทรงให้ราษฎรช่วยเสียค่าขุดคลอง โดยจะได้รับผลประโยชน์จากการจับจองที่ดินสองฝั่งคลองเป็นค่าตอบแทน
ต่อมาเมื่อที่ดินคลองประเวศบุรีรมย์ไม่เพียงพอกับความต้องการของราษฎร จึงได้ช่วยกันออกเงินจ้างจีนขุดคลองแยก อีก 4 คลอง คือ คลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม และคลองสี่

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550


ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

โกล
พวกฟรองก์สามารถยึดแผ่นดินจากพวกโกลได้ และนำคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเข้ามา พวกฟรองก์เจริญสูงสุดในปี ค.ศ. 771 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญ ครองราชสมบัติ และขยายอาณาเขตครองยุโรปแผ่นดินหลัก ไปจนจรดอาณาจักรมุสลิมของพวกสเปน พระเจ้าชาร์เลอมาญได้เป็นผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) ในที่สุด
เพิ่มเติม en:Franks

ฟรองก์
หลังการตายของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ฝรั่งเศสต้องประสบปัญหาการบุกรุกของเผ่าไวกิง ทีอพยพลงใต้มายังฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงยกนอร์มังดีเมืองนอร์มังดี ในปัจจุบันให้เป็นของพวกไวกิ้งจึงอยู่กันได้อย่างสงบ ชาวนอร์มังดีบางครั้งก็ว่าตนเป็นฝรั่งเศสบางครั้งก็เป็นอังกฤษ อังกฤษเปลี่ยนแผ่นดินก็ยกกำลังผลฝรั่งเศสไปชิงบังลังค์ ได้บังลังค์อังกฤษแล้วก็ยกมาตีฝรั่งเศสใหม่
เพิ่มเติม en:France in the Middle Ages

สมัยกลาง
ราชวงศ์วาลัว (Valois Dynasty) มีกษัตริย์ปกครอง 14 พระองค์ เริ่มจากพระเจ้าฟิลิปที่ 6 ไปจนถึงพระเจ้าอองรีที่ 3
ในช่วงที่แพ้สงครามกับอังกฤษ ก็เกิดตำนานของโจนออฟอาร์ค (ชาน ดาร์ก) (Joan of Arc) หญิงสาวที่อ้างว่าได้ยินเสียงของพระเจ้าให้มาปลดปล่อยฝรั่งเศส
ราชวงศ์วาลัวได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงที่เกิดการแตกนิกายโปรเตสแตนต์ ออกจากนิกายโรมันคาทอลิก และส่งผลให้เกิดสงครามศาสนาในที่สุด
เพิ่มเติม en:Valois Dynasty

ราชวงศ์วาลัว (ค.ศ. 1328 - ค.ศ. 1589)
เริ่มตั้งแต่ยุคของพระนางแคเทอรีน เดอ เมดิซี ที่ต้องถ่วงดุลอำนาจระหว่างพวกบูร์บง ซึ่งนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ กับพวกกีส ซึ่งเป็นฝ่ายโรมันคาทอลิก
สงครามศาสนาจบลงด้วยการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอองรีแห่งกีส และพระเจ้าอองรีที่ 3 ในปี ค.ศ. 1589 พระเจ้าอองรีที่ 4ซึ่งเป็นโปรเตสแตนต์ ได้ขึ้นครองราชย์ และเริ่มต้นราชวงศ์บูร์บง
เพิ่มเติม en:French Wars of Religion

ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส สงครามศาสนา
เพิ่มเติม ราชวงศ์บูร์บง

ราชวงศ์บูร์บง (ค.ศ. 1859 - ค.ศ. 1793)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นกษัตริย์ที่ปรีชาสามารถ และรวมเอาภาพของประเทศเข้ากับตัวกษัตริย์ เป็นที่มาของคำพูดว่า
"L'État, c'est moi!" (I am the state!) ซึ่งหมายถึง "รัฐ คือตัวข้า"
เป็นผู้เริ่มก่อสร้างพระราชวังแวร์ซาย (Versailles) และตรงกับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชของไทย

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ค.ศ. 1643 - ค.ศ. 1715)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางมารี อองตัวเนต การใช้ชีวิตในราชสำนักอย่างฟุ่มเฟือยทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ทั้งสองพระองค์โดนประหารด้วยกีโยตินในปี ค.ศ. 1793ซึ่งการถูกประหารของทั้ง 2 พระองค์ ทำให้เกิดแนวคิดการปฏิวัติเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ประชาชนในประเทศยุโรปเริ่มทำการต่อต้าน กษัตริย์ของตนเอง เพื่อให้พวกเขาได้ปลดแอกเป็นอิสระ และในขณะที่ประหารนั้น ประชาชนได้มามุงดูเพื่อจะดูว่า สีเลือดของกษัตริย์นั้นเป็น สีน้ำเงินหรือสีแดง ปรากฏเลือดเป็นสีแดง ทำให้พวกเขาได้ทราบว่าสีเลือดของกษัตรฺย์นั้นไม่ได้แตกต่างกับพวกตน ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่ากษัตริย์ก็เหมือนพวกเขานั่นเอง

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (ค.ศ. 1754 - ค.ศ. 1793)
บทความหลัก การปฏิวัติฝรั่งเศส
หลังจากนั้นเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยเรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่ 1 ซึ่งมีเปลี่ยนรูปแบบการปกครองสามครั้ง ดังนี้

การปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1793 - ค.ศ. 1804)
หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเลือกตั้งโดยชายชาวฝรั่งเศสที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ซึ่งนับเป็นการใช้สิทธิ์ออกเสียงครั้งแรกของโลก ที่ไม่ได้แบ่งแยกชนชั้นที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง มีสมาชิกในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 183 คน
การปกครองนำโดยคณะกรรมการซึ่งมีหลายชุด ที่มีชื่อเสียงคือ 'คณะกรรมาธิการความปลอดภัยแห่งสาธารณะ' และ 'คณะกรรมาธิการความมั่นคงทั่วไป'
เพิ่มเติม en:National_Convention

สมัชชาแห่งชาติ (ค.ศ. 1792 - ค.ศ. 1795)
ช่วงที่การปกครองแบบใหม่ยังไม่เข้ารูปเข้ารอย มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาใหม่หลายครั้ง และสุดท้ายอำนาจการปกครองตกไปอยู่ในมือของคณะมนตรี ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอำนาจ 5 คนคานอำนาจกันอยู่
นโปเลียน โบนาปาร์ต เกิดในปีค.ศ. 1769 ที่เกาะคอร์ซิกา ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศฝรั่งเศสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นทหารในกองทัพฝรั่งเศสที่มีความสามารถ หลังจากทำศึกได้ชัยชนะต่ออิตาลี และออสเตรียในปีค.ศ. 1797 ทางรัฐบาลเกรงว่านโปเลียนจะเป็นอันตรายต่อ จึงถูกส่งไปยังอียิปต์ เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวของอังกฤษในอินเดีย นโปเลียนแพ้สงครามแห่งแม่น้ำไนล์ ให้กับอังกฤษ และถูกเรียกตัวกลับในปีค.ศ. 1799
เพิ่มเติม en:French Directory

การปกครองโดยคณะมนตรี (ค.ศ. 1795 - ค.ศ. 1799)
ค.ศ. 1799 นายพลนโปเลียน โบนาปาร์ต ยึดอำนาจจากคณะมนตรี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด นโปเลียนดำรงตำแหน่งกงสุลในปี ค.ศ. 1799 - ค.ศ. 1803 ก่อนที่นโปเลียนจะสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นฝรั่งเศสต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกหลายครั้ง สลับกันระหว่างแบบกษัตริย์ กับแบบสาธารณรัฐ จนกระทั่งปัจจุบัน
เพิ่มเติม en:French Consulate

การปกครองโดยคณะกงสุล (ค.ศ. 1799 - ค.ศ. 1804)
ในช่วงจักรวรรดิที่ 1 มีเหตุการณ์สำคัญดังต่อไปนี้
เพิ่มเติม en:First French Empire

ค.ศ. 1804 นโปเลียนสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ และนับเริ่มยุคของจักรวรรดิฝรั่งเศสตั้งแต่นั้น
ค.ศ. 1805 ความพยายามของฝรั่งเศสร่วมกับสเปนในสงครามทางทะเลเพื่อล้มอังกฤษล้มเหลว ลอร์ดเนลสันได้ชัยชนะที่แหลมทราฟัลการ์ในสเปน (สงครามที่ทราฟัลการ์) และส่งผลให้อังกฤษได้เป็นเจ้าทะเลในช่วงศตวรรษที่ 18 นโปเลียนจึงเบนความสนใจมายังภาคพื้นทวีปแทน
ค.ศ. 1805 นโปเลียนได้ชัยชนะต่อออสเตรียซึ่งมีรัสเซียหนุนหลัง ในสงครามที่ ออสเตอร์ลิตซ์
ค.ศ. 1812 นโปเลียนแพ้ในการบุกรุกเข้าไปในพรมแดนรัสเซียเนื่องจากเผชิญกับอากาศที่หนาวเหน็บ ทหารฝรั่งเศสเหลือเพียง 1 หมื่นคน จาก 6 แสนคนในตอนแรก
ค.ศ. 1813 ชาติต่างๆ ในยุโรปรวมตัวกันต่อสู้กับฝรั่งเศส ในสงครามนานาชาติ ที่เมืองไลปซิก ฝ่ายพันธมิตรชนะ และทำให้ดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์เป็นของประเทศเยอรมนี
ค.ศ. 1814 ประเทศอังกฤษ ปรัสเซีย รัสเซีย และออสเตรีย รวมกำลังกันยึดปารีสได้ในเดือนมีนาคม นโปเลียนถูกบังคับให้สละบัลลังก์ และถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา (Elba) ในทะเลเมดิเตอเรเนียน นับเป็นการสิ้นสุดยุคจักรวรรดิที่ 1 จักรวรรดิที่ 1 (ค.ศ. 1804 - ค.ศ. 1815)
หลังจากเอาชนะนโปเลียนได้ ฝ่ายพันธมิตรได้ฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง ขึ้นมาใหม่ โดยมีกษัตริย์สององค์คือ
และหลุยส์-ฟิลิปที่ 1 ได้ตั้งราชวงศ์ออร์เลออง ซึ่งมีกษัตริย์เพียงพระองค์เดียว จนถึงการปฏิวัติ ค.ศ. 1948 ในฝรั่งเศส
ในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 (Louis XVIII) ปี ค.ศ. 1815 นโปเลียนได้หลบหนีออกมาจากเกาะเอลบา และเผชิญหน้ากับกองทัพที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 18ส่งมา นโปเลียนเดินเข้าหาเหล่าทหารและพูดว่า "ทหารคนไหนต้องการยิงจักรพรรดิของท่าน เชิญยิงได้เลย" ("If any man would like to shoot his emperor, he may do so") ทหารทุกคนหันมาอยู่ข้างนโปเลียนและนโปเลียนได้ยึดฝรั่งเศสเป็นเวลา 100 วัน
ดยุคแห่งเวลลิงตัน (Duke of Wellington) (อังกฤษ) และนายพลบลือเชอร์ (Gebhard Leberecht von Blücher) (เยอรมัน) ได้เอาชนะนโปเลียนในการรบที่วอเตอร์ลู (Battle of Waterloo) ในเบลเยียม คืนอำนาจให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และเนรเทศนโปเลียนไปยังเกาะแซงเตแลน (เซนต์เฮเลนา) นอกชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก นโปเลียนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1821

พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ค.ศ. 1814 - ค.ศ. 1824
พระเจ้าชาร์ลที่ 10 ค.ศ. 1824 - ค.ศ. 1830
หลุยส์-ฟิลิปที่ 1 ค.ศ. 1830 - ค.ศ. 1848 ยุคราชวงศ์ฟื้นฟู
หลุยส์ นโปเลียน (Louis Napoleon) หลานลุงของนโปเลียน ซึ่งหลบหนีไปยังอังกฤษในปี ค.ศ. 1846 ได้กลับมารับเลือกตั้ง และได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1848
ในปี ค.ศ. 1852 เขาสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 และเริ่มยุคจักรวรรดิที่สอง
เพิ่มเติม en:French Second Republic

สาธารณรัฐที่ 2 (ค.ศ. 1848 - ค.ศ. 1852)
จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แพ้สงคราม en:Franco-Prussian War ให้แก่นายกรัฐมนตรีบิสมาร์ค (Otto von Bismarck) ของเยอรมัน และถูกล้มล้างจากคณะปฏิวัติ หลุยส์ นโปเลียน ตายในปี ค.ศ. 1873 ที่ประเทศอังกฤษ
เพิ่มเติม en:French Second Empire

จักรวรรดิที่ 2 (ค.ศ. 1852 - ค.ศ. 1870)
เป็นระบอบสาธารณรัฐที่อยู่ได้นานถึง 70 ปีจนกระทั่งการบุกของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2
เพิ่มเติม en:French Third Republic

สาธารณรัฐที่ 4 (ค.ศ. 1946 - ค.ศ. 1958)
นายพลชาร์ล เดอ โกลใช้ระบบประธานาธิบดีที่เลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง แทนระบบรัฐสภาแบบเดิม ซึ่งคงอยู่มาถึงปัจจุบัน สาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศสมีประธานาธิบดีมาทั้งหมด 5 คนดังนี้
เพิ่มเติม en:French Fifth Republic

นายพลชาลส์ เดอ โกล ค.ศ. 1958 - ค.ศ. 1969
ชอร์ช ปงปีดู ค.ศ. 1969 - ค.ศ. 1974
วาเลรี ชีสการ์ แดสแตง ค.ศ. 1974 - ค.ศ. 1981
ฟรองซัว มีแตรอง ค.ศ. 1981 - ค.ศ. 1995
ชาก ชีรัก ค.ศ. 1995 - ค.ศ. 2007
นีโกลา ซาร์โกซี ค.ศ. 2007

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

แอนติปริซึมไขว้
แอนติปริซึม (อังกฤษ: antiprism) คือทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่สร้างจากฐานรูปหลายเหลี่ยม (polygon) ขนานกันสองด้าน และหน้าด้านข้างเชื่อมต่อจุดยอดแบบสลับฟันปลาเป็นรูปสามเหลี่ยมโดยรอบ และแอนติปริซึมก็เป็นพริสมาทอยด์ (prismatoid) ชนิดหนึ่งด้วย
แอนติปริซึมนั้นมีความคล้ายคลึงกับปริซึม (prism) ยกเว้นแต้เพียงว่าฐานของมันถูกบิดออกไป และหน้าด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมแทนที่จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีจำนวนสองเท่า สำหรับแอนติปริซึม n เหลี่ยมปรกติ (n-antiprism) คือแอนติปริซึมที่มีรูปหลายเหลี่ยมบนฐาน เป็นรูปหลายเหลี่ยมปรกติ และถูกบิดออกไปเป็นมุม 180/n องศา
ส่วน แอนติปริซึมไขว้ (crossed antiprism) เกิดจากการบิดฐานของแอนติปริซึมธรรมดาออกไปเกินกว่า 360/n องศา รูปทรงนี้พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก

เครื่องกล
ทฤษฎีเครื่องกลเติมอากาศ การเติมออกซิเจน (oxygenation) หรือการเติมอากาศ หรือการเติมอากาศ (Aeration) เป็นหัวใจของการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะหากระบบบำบัดน้ำเสียขาดออกซิเจน จุลินทรีย์ทั้งหลายก็ไม่สามารถทำงานได้ ถ้ามีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำอยู่สูง ระบบก็สามารถบำบัดน้ำได้ดีหรือสามารถรับน้ำเสียได้มากขึ้น แต่เนื่องจากค่าการละลายน้ำของออกซิเจนที่ความดันบรรยากาศมีค่าต่ำย่อมจะทำให้มีแรงขับ (Driving Force) ต่ำตามไปด้วย ดังนั้น การเพิ่มอัตราการละลายน้ำของออกซิเจนที่ความดันบรรยากาศ จึงได้แก่การเพิ่มผิวสัมผัส (Interfacia Area) ระหว่างอากาศกับน้ำให้มีค่ามากที่สุด
สภาพการทำงานโดยทั่วไปของระบบบำบัดน้ำเสีย จะมีค่าความต้องการออกซิเจนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามปริมาณการไหลของน้ำเสียและความเข้มข้นของมวลสารอินทรีย์ ซึ่งในการออกแบบจะต้องให้ออกซิเจนแก่ระบบที่ความต้องการสูงสุดได้เพียงพอ แต่ถ้าไม่มีการควบคุมที่ดีและระบบเติมอากาศก็ไม่สามารถลดการใช้พลังงานลงได้ ก็จะเกิดการสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ เครื่องกลเติมอากาศจะต้องมีหน้าที่อยู่ 2 ประการ คือ หน้าที่ในการให้ออกซิเจนแก่น้ำในระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างพอเพียง และหน้าที่ในการกวนน้ำเพื่อ
เครื่องกล กระจายออกซิเจนให้มีค่าความเข้มข้นของออกซิเจนละลายน้ำอยู่เสมอทั่วทั้งบริเวณบ่อเติมอากาศ พลังงานที่ใช้ในการกวนนี้จะต้องมีค่าพอเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ เพราะถ้ากวนน้อยเกินไป ตะกอนจุลินทรีย์ (Floc) จะมีขนาดใหญ่เกินไป แต่ถ้ากวนแรงเกินไปก็จะเกิดแรงเฉือน (Shearing Force) สูง จนทำให้จุลินทรีย์แตกกระจาย เป็นผลให้ระบบไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าที่ควร เครื่องกลเติมอากาศแต่ละชนิดมีทั้งข้อดีและข้อเสียในด้านต่างๆ ดังนั้นการออกแบบและประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ จะต้องเข้าใจหลักการทำงาน วิธีคำนวณ ตลอดจนเข้าใจถึงวิธีการทดสอบสมรรถนะในการถ่ายเทออกซิเจนลงไปในน้ำ (Performance of Oxygen Transfer in Water) หน่วยเป็นกิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า-ชั่วโมง

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

นิกายพหุศรติยวาท
นิกายพหุสสุติกวาทหรือนิกายพหุศรุติยวาทแยกมาจากนิกายมหาสังฆิกะหรือนิกายโคกุลิกวาท นิกายใดนิกายหนึ่ง ตามประวัติของนิกายนี้กล่าวว่าพระอรหันต์รูปหนึ่งเข้าฌานสมาบัติเป็นเวลานานจน พ.ศ. 200 จึงจาริกมาสู่แคว้นอังคุตตระ เห็นว่าหลักธรรมของฝ่ายมหาสังฆิกะยังไม่สมบูรณ์ จึงแสดงข้อธรรมเพิ่มเติมลงไป ภายหลังศิษย์จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ต่างหาก โดยหลักธรรมที่เพิ่มเติมนั้น มีลัทธิมหายานเจือปนอยู่ด้วย นิกายนี้ถือว่าเฉพาะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ศูยตาและนิพพานเท่านั้นที่เป็นโลกุตตระ ในขณะที่ฝ่ายมหาสังฆิกะถือว่าพระพุทธพจน์ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550


จิระ บุญพจนสุนทร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, อดีตกรรมการการเลือกตั้ง

จิระ บุญพจนสุนทร การศึกษา

ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนติบัณฑิตไทย