วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สำหรับความหมายอื่นของ เอเอฟซี ดูที่ เอเอฟซี (แก้ความกำกวม)
สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (Asian Football Confederation) หรือ เอเอฟซี (AFC) เป็นองค์กรที่ควบคุมการแข่งขันฟุตบอลในทวีปเอเชีย จัดการเกี่ยวกับทีมฟุตบอล เงินรางวัล กฎระเบียบ รวมถึงลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดฟุตบอล เอเอฟซีเป็น 1 ใน 6 สมาคมที่จัดการแข่งขันฟุตบอลทั่วโลกของฟีฟ่า
เอเอฟซีก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2497 ที่ มะนิลา ในประเทศฟิลิปปินส์ ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ย้ายมาอยู่ที่ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
สารบัญ
เอเอฟซีแบ่งย่อยออกเป็น 4 เขตแดนได้แก่
สำหรับการแข่งขันระหว่างสโมสรในเอเอฟซี ได้มีการแบ่งออกสโมสรออกเป็น 3 ระดับตามประสิทธิของความสามารถในทางฟุตบอลของแต่ละประเทศ สำหรับสิทธิในการเข้าร่วมแข่งขัน ได้แก่
กาตาร์ เกาหลีใต้ คูเวต จีน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย ญี่ปุ่น ไทย มัลดีฟส์ มาเลเซีย เยเมน
เลบานอน สิงคโปร์ อินเดีย โอมาน ฮ่องกง
กวม กัมพูชา คีร์กีซสถาน ภูฏาน ติมอร์ตะวันออก ไต้หวัน ทาจิกิสถาน เนปาล บรูไน
ปากีสถาน ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย มาเก๊า ศรีลังกา ลาว อัฟกานิสถาน
สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน
สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันออก
สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก
สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียกลางและใต้
สมาชิก
ทีมสโมสร
วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
จูเลี่ยม กิ่งทอง หรือนายจูเลี่ยม มีแก้ว นายหนังตะลุงนามกระเดื่องทั่วภาคใต้ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2465 ที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เรียน สำเร็จชั้นประถมปีที่ 6 ด้วยความสนใจและรักการแสดงหนังตะลุงมาแต่เด็ก จึงชอบนำใบไม้มาทำเป็นตัวหนัง แสดงให้เพื่อนดูขณะที่เป็น นักเรียนชั้นประถม และชอบจดจำคำกลอนและนิทานต่างๆ มาท่องและเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอยู่เป็นนิตย์
สารบัญ
จูเลี่ยมเริ่มฝึกการแสดงหนังตะลุงเมื่อ อายุได้เพียง 12 ปี จนกระทั่งอายุได้ 14 ปี ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ หนังร้าน พิมพ์สุวรรณ ติดตามเป็นลูกคู่หนังร้านไปทุกหนทุกแห่งและ ได้พยายามฝึกแสดงหนังไปพร้อมๆ กัน ด้วยความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ ทำให้สามารถแสดงหนังได้ในเวลาอันรวดเร็ว หลังจากเที่ยวหาประสบการณ์กับหนังร้านถึง 3 ปีก็แยกมาตั้งคณะหนังตะลุงขึ้น! เองและได้แสดงครั้งแรกเมื่ออายุได้ 17 ปี หลังจากนั้นเพียง 1 ปี ก็รับขันหมากไปแสดงยังที่ต่างๆ มิได้ขาด
นักรบหนังตะลุง
เมื่อพ้นจากการเป็นทหารแล้วก็ได้ยึดอาชีพการแสดงหนังตะลุงอย่างจริงจัง ช่วงเวลาตั้งแต่อายุ 22 ปี จนกระทั่งอายุ 45 ปี นับเป็นช่วงเวลา ที่จูเลี่ยมได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้ชมในภาคใต้ผลจากการแสดงในเดือนหนึ่งๆ มีความถี่สูงถึง 24 - 30 ครั้ง หลังจากอายุ 45 ปีแล้วการแสดงหนังตะลุงของจูเลี่ยมได้ลดน้อยลงตามลำดับ เนื่องจากอายุมากขึ้นจึงรับการแสดงเฉพาะในบางงานเ�! ��่านั้น กระนั้นในช่วงบั้นปลายของชีวิต จูเลี่ยมก็ยังคงมีงานแสดงถึงเดือนละ 10 - 15 ครั้ง จะเห็นได้ว่าจูเลี่ยมเป็นหนังตะลุงที่มีระยะเวลา การแสดงที่ยาวนานคณะหนึ่งถ้านับเวลาจากที่เริ่มการแสดงมาจนกระทั่งเสียชีวิตก็จะยาวนานถึงกว่า 50 ปี
อยู่กับหนังกว่าครึ่งศตวรรษ
จูเลี่ยมมีเรื่องแสดงซึ่งแต่งขึ้นเองมากถึง 100 เรื่องเศษ เรื่องที่นำมาแสดงบ่อยครั้งและเป็นที่รู้จักแพร่หลายได้แก่ ศิลป์วงศ์ สิ้นแม่เหมือนแพ แตก น้ำใจแม่เลี้ยง สาวสลาตัน ราชินีนอกบัลลังก์ บุปผาสวรรค์ สายเลือดพยาบาท ขุนพลแพ้รัก รอยแส้แผลแค้น กงกรรม มาลัยพี่ชาย เลือด กตัญญู วงศ์เทวัญ ไร้แผ่นดิน เกศรินทร์ - สินนรายณ์ ฯลฯ เรื่องที่แสดงเกือบทั้งหมดได้ข้�! ��มูลมาจากนิยายธรรมะ วรรณคดีไทย งานเขียน ของพนมเทียนและจากการอ่านหนังสือนวนิยายต่างๆ
ผลงาน มหาศาล
การแสดงของจูเลี่ยม กิ่งทอง ซึ่งเป็นเวลายาวนานถึง 50 ปีนั้น ถ้านับเป็นจำนวนครั้งที่แสดงก็ไม่น้อยกว่า 6,500 ครั้งนับว่ามากมายทีเดียว ท่วงทำนองการแสดงของจูเลี่ยมมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเน้นมุขตลกและเกร็ดเบ็ดเตล็ดต่างๆ ที่สามารถให้ความสนุกสนานและสาระแก่ผู้ชม ไปพร้อมๆ กัน นักดูหนังตะลุงรุ่นเก่ากล่าวว่า จูเลี่ยมเป็นคณะแรกที่ใช้ไวโอลินเข้ามาประสมวงกับดน! ตรีหนังตะลุง ทั้งเป็นคณะแรกที่เอา เพลงลูกทุ่งและการละเล่นของภาคอื่นๆ เข้ามาแทรก เช่น ลิเก เพลงฉ่อย ลำตัด และหมอลำ เมื่อดูการแสดงของจูเลี่ยมจึงเหมือนได้ดูมหรสพ อื่นๆ เป็นของแถม โดยเฉพาะการร้องเพลงลูกทุ่งนั้นจูเลี่ยมให้"แก้ว" และ "นุช" ตัวตลกเอกเป็นผู้แสดงบทบาทเสมอ ตัวตลกทั้งสองตัวนี้ เป็นคู่ชูโรงที่ทำให้จูเลี่ยมมีชื่อเสียง และสำหรับ "นุช" นักดูห�! �ังตะลุงถือเป็นตัวแทนของ จูเลี่ยมเมื่อเอ่ยถึง "นุช" ก็จะนึกถึงจูเลี่ยมทันที
จูเลี่ยมได้แสดงประชันกับหนังตะลุงและมโนราห์ชั้นยอดของภาคใต้เกือบทุกคณะ เช่น หนังจันทร์แก้ว หนังหมุน หนังประทิน หนังอิมเท่ง หนังศรีพัฒน์ หนังจูลี้ หนังจำเนียร หนังเลื้อม หนังบ่าย หนังพร้อม หนังนครินทร์ หนังประวิง หนังหนูจันทร์ หนังฉิ้น หนังกั้น หนังแคล้ว หนังปรีชา หนังปล้อง ฯลฯ มโนห์ราเติม มโนห์ราฉลวย มโนห์ราปรีชา มโนห์ราขำคม ฯลฯ กับหนังประทิน เป�! �นคู่ประชันกัน มากที่สุด นับครั้งไม่ถ้วน ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ ถ้าหนังคู่นี้ประชันกันเมื่อใดผู้คนจะตามไปชมกันอย่างเนืองแน่น
สาริกา กิ่งทอง
จูเลี่ยมเป็นนายหนังตะลุงซึ่งได้รับการยอมรับจากเพื่อนนายหนังตะลุง ลูกคู่และชาวบ้านที่รู้จักดีว่าเป็นคนมีน้ำใจโอบอ้อมอารี มีความสุขุม รอบคอบ ใจคอเยือกเย็นชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นอยู่เสมอ มีสิ่งใดที่คิดว่าจะช่วยเหลือผู้อื่นได้จะไม่รีรอโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ในด้าน การแสดงหนังตะลุง จูเลี่ยมบอกว่าปีหนึ่งๆ จะมีจำนวนหลายๆ ครั้งที่แสดงโดย�! ��ม่ได้รับผลตอบแทน ของเพียงค่าตอบแทนแก่ลูกคู่เท่านั้น
ในส่วนของรางวัลต่างๆ ที่ได้จากการชนะการประชัน มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ถ้วยเกียรติยศ ขันน้ำพานรอง โล่ มงกุฎทองคำฝังเพชร และพระพิฆเนศวร์ทองคำ สำหรับถ้วยเกียรติ มีเป็นจำนวนมากกว่า 100 ใบ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จูเลี่ยมได้มอบถ้วยรางวัลเกือบทั้งหมด ให้แก่โรงเรียนต่างๆ ที่มาขอรางวัล เพื่อมอบให้แก่โรงเรียนในงานแข่งขันกีฬาในสายตาทั่วไปรางวัลดังกล่า�! ��เป็นสิ่งยืนยันว่าจูเลี่ยมประสบ ความสำเร็จสูงสุดในความเป็นศิลปินหนังตะลุง ซึ่งคณะหนังตะลุงน้อยนักจะได้รับรางวัลที่กล่าวนั้น อย่างไรก็ตามจูเลี่ยมกล่าวอย่างถ่อมตนว่ารางวัลเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ยืนยันถึงความมีชื่อเสียง มิได้หมายถึงความสำเร็จขั้นสูงสุด
ก่อนเสียชีวิต จูเลี่ยมพักอยู่กับภรรยาและลูกๆ หลานๆ ด้วยความสุข โดยมีบ้านของตนเองที่ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี ยังคงรับแสดงหนังตะลุงอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ยังใช้เวลาว่างทำสวนควบคู่ไปด้วย ทำให้เป็นศิลปินที่มีฐานะมั่นคง ผู้หนึ่ง นอกจากนี้ยังฝึกหัดศิษย์เกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุงอีกด้วย
จูเลี่ยมได้แสดงความคิดเห็นว่าศิลปินต้องมีวิญญาณศิลปิน ต้องรักษาแก่นแท้ของหนังตะลุงต้องไม่สกปรกหยาบโลน ต้องขยันอดทน ต้องเสาะหาความรู้ตลอดเวลา ต้องละเอียดอ่อน ต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ ทันเหตุการณ์และต้องตั้งมั่นในฆราวาสธรรม ในส่วนของงาน ด้านวัฒนธรรม จูเลี่ยมบอกว่า รัฐจะต้องอนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา และเผยแพร่อย่างจริงจังมิใช่อาศัยงานวัฒนธรรมเพื�! ��อผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจด้านเดียว
ด้วยประวัติและผลงานดังที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติยกย่องให้จูเลี่ยม กิ่งทองเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาศิลปะการแสดงหนังตะลุงของภาคใต้ประจำปี 2532 และเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2535 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้นายจูเลี่ยม กิ่งทอง เป็นศิลปินแห่งชาติประจำปีพ.�! �. 2535 สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง)
จูเลี่ยมกิ่งทองได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2547 รวมอายุ 83 ปี
วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ไอคอล์ (「あいこら」, Ai Kora,AICOLLA,LOVE & COLLAGE, あいこら) เป็นผลงานของ คาซูโร อิโนอุเอะผู้วาดมือขวากับขาโจ๋ เป็นเรื่องราวกับนักเรียนหนุ่ม มาเอดะ ฮาจิเบย์ ได้ย้ายเข้ามาเรียนที่โตเกียวและพักอาศัยอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย และเจอสาว 5 คนที่แต่ละคนมีลักษณะเป็นนางในฝัน(พาร์ท)ของเขา คือ ดวงตา เสียง หน้าอก ขา ต่อมามี เอว และบั้นท้าย
ตัวละครรอง
โทคิโทริ สึคาสะ เป็นนักบิดมอเตอร์ไซค์แต่ได้เสียชีวิตลงเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ เป็นคนรักของอาจารย์ อาเมะยางิ สึบาเมะ
โทคิโทริ โทคะ น้องสาวของโทคิโทริ สึคาสะ เธอรักพี่ชายมากและคิดว่าอาจารย์อาเมะยางิ สึบาเมะ แย่งพี่ชายจากเธอไป
สึคิโนะ มายุ อายุ20 ปี พี่สาวคนโตของสึคิโนะ ยูคาริคอยสนับสนุนให้สารภาพรัก
สึคิโนะ อะซึกิ อายุ18 ปี พี่สาวคนรองของสึคิโนะ ยูคาริคอยสนับสนุนให้สารภาพรัก
สึคิโนะ ฮิคาริ แม่ของสึคิโนะ ยูคาริ
คิคุโนะ ไฮจิ ศัตรูตัวฉกาจของมาเอดะ ฮาจิเบย์เจ้าของประโยคทองที่ว่า "ผู้หญิงไม่ได้สำคัญที่ หน้าตาแต่สำคัญที่จิตใจต่างหาก" แต่สุดท้ายกลับมาสารภาพรักกับฮาจิเบย์ซะเอง เป็นเจ้าของก้นลูกท้อในฝันของฮาจิเบย์
ทัตซึมิ โยอิจิโร่ หัวหน้าชมรมวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์แว่นตามองทะลุเสื้อผ้าเป็นผู้ร่วมอุดมการณ์อีกคน ของมาเอดะ ฮาจิเบย์
อะบุระกะ เซชิโร่ เป็นคนๆหนึ่งที่หลงใหลพาร์ทชิบุซาว่า ริวโนสุเกะนับถือเขาเป็นอาจารย์เป็นคนที่คิดว่า การจู่โจมในพาร์ทที่เราหลงใหลเป็นการดีที่สุดเขาได้แสดงความสามารถดึงเสนห์ของผู้หญิง ของหอพักหญิงได้อย่างอัศจรรย์แต่สุดท้ายไม่วายถูกระเบิดประลัยกัลป์ของโอโทริ คิริโนะ เล่นเอาเกือบปางตาย
พี่น้องอุซึระ นินจาสายฮารุงาสุมิศัตรูที่มีความแค้นกับโอโทริ คิริโนะมีไม้ตายที่ชื่อ "มนุษย์ ชูริเค็น"
คุโนะอิจิ อาวายูกิ นินจาสาวสายชูซุยศัตรูที่มีความแค้นกับโอโทริ คิริโนะมีไม้ตายเป็นภาพมายา
เทนมาขุ เทนปังยากิ พ่อของเทนมาขุ ซากุระโกะเป็นคนที่ห่วงลูกสาวสุดชีวิต
โทราจิมะ กินจิ หัวหน้าแก๊งคุริมุโตะรุ่นที่4 ผู้ครอบครองเขตคันโตทั้งหมดพ่ายแพ้แก่ฮาจิเบย์จึงมาฝากตัว เป็นลูกน้องแต่ถูกปฏิเสธ
หัวหน้าตระกูลโอโทริ ปู่ของโอโทริ คิริโนะที่ไม่อยากให้หลานสาวร้องเพลงจึงวางแผนที่จะทำลายเสียงของเธอ
คาโนะ คุเรฮะ เด็ก ม.4โรงเรียนซาคาชิตะมอน เป็นคนคลั่งไคล้สาวใส่แว่นเคยเป็นโจรโรคจิตทำร้ายผู้หญิง แล้วเขียนหน้าเป็นรูปแว่นหลังจากถูกฮาจิเบย์จับได้จึงสำนึกผิดแล้วมาเป็นเพื่อนร่วมชมรมธนู กับสึคิโนะ ยูคาริ
วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
บัวผุด(Rafflesia kerri Meijer) เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนรากของพืชจำพวกเถาองุ่นป่า (Tetrastigma) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ย่านไก่ต้ม มีลักษณะเด่นที่ดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็นมาก ให้เห็นระหว่างฤดูฝน ระหว่างพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม
ดอกตูมอยู่จะคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่มีกลีบหนาจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70-80 เซนติเมตร ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลมจานนี้จะซ้อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ดำเน่าไป
การค้นพบในประเทศไทย
บัวผุดที่พบในประเทศไทยได้รับการตั้งชื่อเป็นพันธุ์ของโลกเมื่อ พ.ศ.2527 โดย Dr.M.Meijer จากมหาวิทยาลัยเคนตักกี สหรัฐอเมริกา ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์สากลเพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr.A.F.G.Kerr นายแพทย์ชาวไอริช ผู้สำรวจพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2472
วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
อำเภอสามพราน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม มีแม่น้ำนครชัยศรีไหลผ่าน
ที่ตั้งและอาณาเขต
(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)
ประวัติศาสตร์
อำเภอสามพรานแบ่งการปกครองเป็น 16 ตำบล 137 หมู่บ้าน ดังนี้
การปกครองส่วนภูมิภาค
ท้องที่อำเภอสามพราน ประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลสามพราน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสามพราน ตำบลท่าตลาด ตำบลคลองใหม่ และตำบลยายชา
เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ้อมใหญ่ทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลบ้านใหม่
องค์การบริหารส่วนตำบล มีตำบลละ 1 แห่ง (ยกเว้นตำบลอ้อมใหญ่) รวม 15 แห่ง ซึ่งมีอยู่ 5 แห่ง ที่ดูแลพื้นที่ตำบลนั้น ๆ เฉพาะส่วนที่อยู่นอกเขตเทศบาลเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมเต็มพื้นที่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลสามพราน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบลยายชา และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่
สถานที่สำคัญ
สวนสามพราน
ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน
ตลาดดอนหวาย
วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
พระยาลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยลำดับที่ 6 ครองราชย์สืบต่อจากพระยาลิไทย หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1942)
พระยาลือไทย ขึ้นครองราชย์เมื่ออาณาจักรสุโขทัยอ่อนแอเสื่อมอำนาจ อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 2 แคว้นคือ แคว้นชากังราวประกอบด้วยเมืองตาก ชากังราว (กำแพงเพชร) และนครสวรรค์ กับแคว้นสุโขทัย ประกอบด้วยเมืองสุโขทัย อุตรดิตถ์ สองแคว (พิษณุโลก) พิจิตร นอกจากนี้เมืองขึ้นสำคัญ เช่น เมืองหงสาวดีและเมืองอู่ทองต่างแข็งข้อ ลุถึง พ.ศ. 1921 สุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุง! ศรีอยุธยา พระยาลือไทยจึงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของอาณาจักรสุโขทัย
อย่างไรก็ดี พระยาลือไทยยังทรงครองเมืองต่อไปที่ราชธานีพิษณุโลกในฐานะเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยาจนถึงประมาณ พ.ศ. 1931 และมีรัชทายาทครองเมืองสืบต่ออีก 2 พระองค์ จนถึงวาระที่เมืองพิษณุโลกถูกรวมไว้ในอาณาจักรอยุธยาโดยเด็ดขาดเมื่อ พ.ศ. 1981 โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา ส่งพระโอรสคือพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกแทน มีผลให้อาณาจัก! รสุโขทัยสิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิง
วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
กระแห ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii (เดิม Babodes และ Puntius schwanenfeldii) อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Poropunti รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสี�! �้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15 ซ.ม. ถึง 25 ซ.ม.
พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน ตะเพียนทอง แก้มช้ำ หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ
นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
กระแห ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกว่า " กระแหทอง " หรือ " ตะเพียนหางแดง " ในภาษาอีสานเรียก " ลำปำ " ในภาษาใต้เรียก " เลียนไฟ " ภาษาเหนือเรียก " ปก " เป็นต้น
วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
เนปทูเนียม(อังกฤษ:Neptunium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 93 และสัญลักษณ์คือ Np เนปทูเนียมเป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตภาพรังสีที่เป็นธาตุทรานซูแรนิค(transuranic element)แรกที่ได้จากการสังเคราะห์มีลักษณะสีเงินวาวอยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์(actinide group) ไอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ Np-237 เป็นผลพลอยได้จากเตาปฏิกรปรมณูและการผลิด พลูโทเนียม จากธรรมชาติพบเนปทูเนียมในแร่ยูเรเนียมในปริมาณเล็�! �น้อย
วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
โอเคเนชั่น (www.oknation.net) เป็นบริการฟรีเว็บล็อก (บล็อก) แห่งหนึ่งในประเทศไทย ในเครือเนชั่นกรุ๊ป เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยผู้เขียนบล็อกมีทั้งบรรณาธิการ คอลัมนิสต์ ผู้สื่อข่าวจากสื่อในเครือเนชั่น และสมาชิกที่ลงทะเบียนร่วมกันผลิตเนื้อหา โดยมีเนื้อหาหลากหลาย ทั้งนี้ รูปแบบการนำเสนอเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า Citizen Reporter โดยให้สมาชิกทุกค! นมีส่วนร่วมในการผลิตเนื้อหา
วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไทย (สบวท.) (อังกฤษ: Thailand Graduate Institute of Science and Technology - TGIST) เป็นบัณฑิตวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการสนับสนุน และการทำการวิจัย และพัฒนา
การดำเนินงานของ สบวท. ยึดหลักใหญ่ คือ ก่อให้เกิดทั้งความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาคน และการวิจัย ความเชื่อมโยงระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยต่าง ๆ และหน่วยงานภาคเอกชน และการดำเนินงานแบบ "เสมือนบวกจริง" กล่าวคือใช้เครือข่ายการสื่อสารทางไกล เช่น อินเทอร์เน็ต และดาวเทียม เป็นตัวประสานความเชื่อมโยงนั้น พร้อมไ�! �กับการสร้างประสบการณ์จริงในการศึกษาและวิจัย
นอกจากนี้ สบวท. ยังเป็นแกนนำ ในการสนับสนุนให้เกิดการรวมพลังความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา และผลิตกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในลักษณะเครือข่าย เช่น ความร่วมมือที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต , ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่สำคัญ คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ซึ่งสามารถใช้วัสดุ อุป�! ��รณ์ และสถานที่ของ สวทช. บริเวณอุทยานวิทยาศาสตร์ได้ อันจะทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน
อ้างอิง
วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ส่วนหนึ่งของ
พุทธศาสนา
พระพุทธเจ้า
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
วันรัต (อ่านว่า วันนะรัด) แปลว่า ผู้ยินดีในการอยู่ป่า, ผู้รักการอยู่ป่า ของเดิมใช้ พนรัต
วันรัต เป็นนามที่ได้มาจากลังกา สันนิษฐานตามคำแปลว่าคงเป็นสังฆนายกฝ่ายอรัญวาสี คู่กับพระพุทธโฆษาจารย์ สังฆนายกฝ่ายคามวาสี นามนี้มีปรากฏฏครั้งแรกในหนังสือพระราชพงศาวดารในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ที่มีชื่อเสียงปรากฏเด่นชัดคือ สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว ซึ่งได้เข้าไปถวายพระพรสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขอพระราชทานอภัยโทษแก่ข้าราชการที่ตามเสด็จ�! �ม่ทันในครั้งทำยุทธหัตถี
วันรัต ในปัจจุบันใช้เป็นพระราชทินนามสมเด็จพระราชาคณะ เรียกเต็มว่า สมเด็จพระวันรัต พระมหาเถระผู้จะได้รับพระราชทานนามนี้จะต้องมีความสำคัญมากในด้านภูมิธรรม โดยเฉพาะความป็นผู้ยินดีในการปฏิบัติกรรมฐาน ยินดีในการปลีกวิเวก
วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ราชวงศ์อาหม ปกครองอาหมมาเกือบ ๖๐๐ ปี นับตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
รายพระนามกษัตริย์ในราชวงศ์อาหม มีดังนี้
สุกาฟ้า พ.ศ. ๑๗๗๑-๑๘๑๑
สุดทิวฟ้า พ.ศ. ๑๘๑๑-๑๘๒๔
สุพินฟ้า พ.ศ. ๑๘๒๔-๑๘๓๖
สุขางฟ้า พ.ศ. ๑๘๓๖-๑๘๗๕ (ทางลานช้างมีชื่อขว้างฟ้า)
สุกรังฟ้า พ.ศ. ๑๘๒๕-๑๘๐๗
สุทุฟ้า พ.ศ. ๑๘๐๗-๑๙๑๙
ว่างกษัตริย์ พ.ศ. ๑๙๑๙-๑๙๒๓
ท้าวขำติ พ.ศ. ๑๙๒๓-๑๙๓๒
ว่างกษัตริย์ พ.ศ. ๑๙๓๒-๑๙๔๐
ราชธานีชารายเทโว
สุดางฟ้า พ.ศ. ๑๙๔๐-๑๙๕๐
สุจางฟ้า พ.ศ. ๑๙๕๐-๑๙๖๕
สุฟากฟ้า พ.ศ. ๑๙๖๕-๑๙๘๒
สุแสนฟ้า พ.ศ. ๑๙๘๒-๒๐๓๑
สุเหนฟ้า พ.ศ. ๒๐๓๑-๒๐๓๖
สุพิมฟ้า พ.ศ. ๒๐๓๖-๒๐๔๐
ราชธานีชารากูจา (ชากุยะ)
สุหังฟ้า (ทิหิงเกียราชา) พ.ศ. ๒๐๔๐-๒๐๘๒ มีพระนามฮินดูว่า สวรรคะนารายณ์
ราชธานีพกะตา
สุเคลนเมือง พ.ศ. ๒๐๘๒-๒๐๙๕
สุขามฟ้า พ.ศ. ๒๐๙๕-๒๑๔๖
สุแสงฟ้า พ.ศ. ๒๑๔๖-๒๑๘๔ มีพระนามฮินดูว่า ประทับ สิงห์
ราชธานีครหคาออน
สุรามฟ้า พ.ศ. ๒๑๘๔- ๒๑๘๗ มีพระนามฮินดูว่า ภะกา ราชา
ราชธานีไทมุง/รังปุระ
สุทยินฟ้า พ.ศ. ๒๑๘๗-๒๑๙๑ มีพระนามฮินดูว่า นรียา ราชา และมีชื่อว่า โกเกระ แปลว่า หลังโก่ง
ราชธานีครหคาออน
สุทามหล้า พ.ศ. ๒๑๙๑-๒๒๐๖ มีพระนามฮินดูว่า ชยธวัช สิงห์
ราชธานีครหคาออน/พกะตา
สุพุงเมือง พ.ศ. ๒๒๐๖-๒๒๑๓ มีพระนามฮินดูว่า จักรธวัช สิงห์
สุนยาตฟ้า พ.ศ. ๒๒๑๓-๒๒๑๕ มีพระนามฮินดูว่า อุทัยยาทิตยะ สิงห์
สุขล้ำฟ้า พ.ศ. ๒๒๑๖-๒๒๑๘ มีพระนามฮินดูว่า รามธวัช
สุหุง หรือ สุหุงเมือง พ.ศ ๒๒๑๘ (๒๑ วัน)
โคบาร์ พ.ศ. ๒๒๑๘ (๑ เดือน)
สุยินฟ้า พ.ศ. ๒๒๑๘-๒๒๒๐
สุทัยฟ้า พ.ศ. ๒๒๒๐-๒๒๒๒
สุลิคฟ้า พ.ศ. ๒๒๒๒-๒๒๒๔ มีพระนามฮินดูว่า ละรา ราชา
ราชธานีพกะตา/ครหคาออน
สุพาตฟ้า พ.ศ. ๒๒๒๔-๒๒๓๙ มีพระนามฮินดูว่า คทาธาร สิงห์
ราชธานีบารโคลา
สุขรุงฟ้า พ.ศ. ๒๒๓๙-๒๒๕๗ มีพระนามฮินดูว่า รุทร สิงห์
ราชธานีครหคาออน
สุทานฟ้า พ.ศ. ๒๒๕๗-๒๒๘๗ มีพระนามฮินดูว่า สิบ สิงห์
สุเนนฟ้า พ.ศ. ๒๒๘๗-๒๒๙๔ มีพระนามฮินดูว่า ประมัต สิงห์
สุรามฟ้า พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๑๒ มีพระนามฮินดูว่า รามเชศวร สิงห์
สุเนียวฟ้า พ.ศ. ๒๓๑๒-๒๓๒๓ มีพระนามฮินดูว่า ลักษมี สิงห์
ราชธานีรังปุระ
สุหิตปางฟ้า พ.ศ. ๒๓๒๓-๒๓๓๘ มีพระนามฮินดูว่า โกรินาถ สิงห์
สุกลิงฟ้า พ.ศ. ๒๓๓๘-๒๓๕๓ มีพระนามฮินดูว่า กมเรศวร สิงห์
สุทินฟ้า(ครั้งที่๑)พ.ศ. ๒๓๕๓-๒๓๖๑ มีพระนามฮินดูว่า จันทรกานต์ สิงห์
ไม่มีพระนามอาหม พ.ศ. ๒๓๖๑-๒๓๖๒ มีพระนามฮินดูว่า ปุรันทาร สิงห์
การปกครองภายใต้อาณัติแห่งพม่า๒๓๖๒-๒๓๖๗
ว่างกษัตริย์ พ.ศ. ๒๓๗๐ - พ.ศ. ๒๓๗๗
อังกฤษเข้ามายึดอัสสัมตอนใต้ พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๗๐
สนธิสัญญายันดะโบ พ.ศ. ๒๓๗๐-๒๓๗๗
ปุรันทาร สิงห์ (ครั้งที่ ๒) พ.ศ. ๒๓๗๗-๒๓๘๒
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)