วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
จูเลี่ยม กิ่งทอง หรือนายจูเลี่ยม มีแก้ว นายหนังตะลุงนามกระเดื่องทั่วภาคใต้ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2465 ที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เรียน สำเร็จชั้นประถมปีที่ 6 ด้วยความสนใจและรักการแสดงหนังตะลุงมาแต่เด็ก จึงชอบนำใบไม้มาทำเป็นตัวหนัง แสดงให้เพื่อนดูขณะที่เป็น นักเรียนชั้นประถม และชอบจดจำคำกลอนและนิทานต่างๆ มาท่องและเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอยู่เป็นนิตย์
สารบัญ
จูเลี่ยมเริ่มฝึกการแสดงหนังตะลุงเมื่อ อายุได้เพียง 12 ปี จนกระทั่งอายุได้ 14 ปี ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ หนังร้าน พิมพ์สุวรรณ ติดตามเป็นลูกคู่หนังร้านไปทุกหนทุกแห่งและ ได้พยายามฝึกแสดงหนังไปพร้อมๆ กัน ด้วยความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ ทำให้สามารถแสดงหนังได้ในเวลาอันรวดเร็ว หลังจากเที่ยวหาประสบการณ์กับหนังร้านถึง 3 ปีก็แยกมาตั้งคณะหนังตะลุงขึ้น! เองและได้แสดงครั้งแรกเมื่ออายุได้ 17 ปี หลังจากนั้นเพียง 1 ปี ก็รับขันหมากไปแสดงยังที่ต่างๆ มิได้ขาด
นักรบหนังตะลุง
เมื่อพ้นจากการเป็นทหารแล้วก็ได้ยึดอาชีพการแสดงหนังตะลุงอย่างจริงจัง ช่วงเวลาตั้งแต่อายุ 22 ปี จนกระทั่งอายุ 45 ปี นับเป็นช่วงเวลา ที่จูเลี่ยมได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้ชมในภาคใต้ผลจากการแสดงในเดือนหนึ่งๆ มีความถี่สูงถึง 24 - 30 ครั้ง หลังจากอายุ 45 ปีแล้วการแสดงหนังตะลุงของจูเลี่ยมได้ลดน้อยลงตามลำดับ เนื่องจากอายุมากขึ้นจึงรับการแสดงเฉพาะในบางงานเ�! ��่านั้น กระนั้นในช่วงบั้นปลายของชีวิต จูเลี่ยมก็ยังคงมีงานแสดงถึงเดือนละ 10 - 15 ครั้ง จะเห็นได้ว่าจูเลี่ยมเป็นหนังตะลุงที่มีระยะเวลา การแสดงที่ยาวนานคณะหนึ่งถ้านับเวลาจากที่เริ่มการแสดงมาจนกระทั่งเสียชีวิตก็จะยาวนานถึงกว่า 50 ปี
อยู่กับหนังกว่าครึ่งศตวรรษ
จูเลี่ยมมีเรื่องแสดงซึ่งแต่งขึ้นเองมากถึง 100 เรื่องเศษ เรื่องที่นำมาแสดงบ่อยครั้งและเป็นที่รู้จักแพร่หลายได้แก่ ศิลป์วงศ์ สิ้นแม่เหมือนแพ แตก น้ำใจแม่เลี้ยง สาวสลาตัน ราชินีนอกบัลลังก์ บุปผาสวรรค์ สายเลือดพยาบาท ขุนพลแพ้รัก รอยแส้แผลแค้น กงกรรม มาลัยพี่ชาย เลือด กตัญญู วงศ์เทวัญ ไร้แผ่นดิน เกศรินทร์ - สินนรายณ์ ฯลฯ เรื่องที่แสดงเกือบทั้งหมดได้ข้�! ��มูลมาจากนิยายธรรมะ วรรณคดีไทย งานเขียน ของพนมเทียนและจากการอ่านหนังสือนวนิยายต่างๆ
ผลงาน มหาศาล
การแสดงของจูเลี่ยม กิ่งทอง ซึ่งเป็นเวลายาวนานถึง 50 ปีนั้น ถ้านับเป็นจำนวนครั้งที่แสดงก็ไม่น้อยกว่า 6,500 ครั้งนับว่ามากมายทีเดียว ท่วงทำนองการแสดงของจูเลี่ยมมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเน้นมุขตลกและเกร็ดเบ็ดเตล็ดต่างๆ ที่สามารถให้ความสนุกสนานและสาระแก่ผู้ชม ไปพร้อมๆ กัน นักดูหนังตะลุงรุ่นเก่ากล่าวว่า จูเลี่ยมเป็นคณะแรกที่ใช้ไวโอลินเข้ามาประสมวงกับดน! ตรีหนังตะลุง ทั้งเป็นคณะแรกที่เอา เพลงลูกทุ่งและการละเล่นของภาคอื่นๆ เข้ามาแทรก เช่น ลิเก เพลงฉ่อย ลำตัด และหมอลำ เมื่อดูการแสดงของจูเลี่ยมจึงเหมือนได้ดูมหรสพ อื่นๆ เป็นของแถม โดยเฉพาะการร้องเพลงลูกทุ่งนั้นจูเลี่ยมให้"แก้ว" และ "นุช" ตัวตลกเอกเป็นผู้แสดงบทบาทเสมอ ตัวตลกทั้งสองตัวนี้ เป็นคู่ชูโรงที่ทำให้จูเลี่ยมมีชื่อเสียง และสำหรับ "นุช" นักดูห�! �ังตะลุงถือเป็นตัวแทนของ จูเลี่ยมเมื่อเอ่ยถึง "นุช" ก็จะนึกถึงจูเลี่ยมทันที
จูเลี่ยมได้แสดงประชันกับหนังตะลุงและมโนราห์ชั้นยอดของภาคใต้เกือบทุกคณะ เช่น หนังจันทร์แก้ว หนังหมุน หนังประทิน หนังอิมเท่ง หนังศรีพัฒน์ หนังจูลี้ หนังจำเนียร หนังเลื้อม หนังบ่าย หนังพร้อม หนังนครินทร์ หนังประวิง หนังหนูจันทร์ หนังฉิ้น หนังกั้น หนังแคล้ว หนังปรีชา หนังปล้อง ฯลฯ มโนห์ราเติม มโนห์ราฉลวย มโนห์ราปรีชา มโนห์ราขำคม ฯลฯ กับหนังประทิน เป�! �นคู่ประชันกัน มากที่สุด นับครั้งไม่ถ้วน ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ ถ้าหนังคู่นี้ประชันกันเมื่อใดผู้คนจะตามไปชมกันอย่างเนืองแน่น
สาริกา กิ่งทอง
จูเลี่ยมเป็นนายหนังตะลุงซึ่งได้รับการยอมรับจากเพื่อนนายหนังตะลุง ลูกคู่และชาวบ้านที่รู้จักดีว่าเป็นคนมีน้ำใจโอบอ้อมอารี มีความสุขุม รอบคอบ ใจคอเยือกเย็นชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นอยู่เสมอ มีสิ่งใดที่คิดว่าจะช่วยเหลือผู้อื่นได้จะไม่รีรอโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ในด้าน การแสดงหนังตะลุง จูเลี่ยมบอกว่าปีหนึ่งๆ จะมีจำนวนหลายๆ ครั้งที่แสดงโดย�! ��ม่ได้รับผลตอบแทน ของเพียงค่าตอบแทนแก่ลูกคู่เท่านั้น
ในส่วนของรางวัลต่างๆ ที่ได้จากการชนะการประชัน มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ถ้วยเกียรติยศ ขันน้ำพานรอง โล่ มงกุฎทองคำฝังเพชร และพระพิฆเนศวร์ทองคำ สำหรับถ้วยเกียรติ มีเป็นจำนวนมากกว่า 100 ใบ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จูเลี่ยมได้มอบถ้วยรางวัลเกือบทั้งหมด ให้แก่โรงเรียนต่างๆ ที่มาขอรางวัล เพื่อมอบให้แก่โรงเรียนในงานแข่งขันกีฬาในสายตาทั่วไปรางวัลดังกล่า�! ��เป็นสิ่งยืนยันว่าจูเลี่ยมประสบ ความสำเร็จสูงสุดในความเป็นศิลปินหนังตะลุง ซึ่งคณะหนังตะลุงน้อยนักจะได้รับรางวัลที่กล่าวนั้น อย่างไรก็ตามจูเลี่ยมกล่าวอย่างถ่อมตนว่ารางวัลเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ยืนยันถึงความมีชื่อเสียง มิได้หมายถึงความสำเร็จขั้นสูงสุด
ก่อนเสียชีวิต จูเลี่ยมพักอยู่กับภรรยาและลูกๆ หลานๆ ด้วยความสุข โดยมีบ้านของตนเองที่ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี ยังคงรับแสดงหนังตะลุงอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ยังใช้เวลาว่างทำสวนควบคู่ไปด้วย ทำให้เป็นศิลปินที่มีฐานะมั่นคง ผู้หนึ่ง นอกจากนี้ยังฝึกหัดศิษย์เกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุงอีกด้วย
จูเลี่ยมได้แสดงความคิดเห็นว่าศิลปินต้องมีวิญญาณศิลปิน ต้องรักษาแก่นแท้ของหนังตะลุงต้องไม่สกปรกหยาบโลน ต้องขยันอดทน ต้องเสาะหาความรู้ตลอดเวลา ต้องละเอียดอ่อน ต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ ทันเหตุการณ์และต้องตั้งมั่นในฆราวาสธรรม ในส่วนของงาน ด้านวัฒนธรรม จูเลี่ยมบอกว่า รัฐจะต้องอนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา และเผยแพร่อย่างจริงจังมิใช่อาศัยงานวัฒนธรรมเพื�! ��อผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจด้านเดียว
ด้วยประวัติและผลงานดังที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติยกย่องให้จูเลี่ยม กิ่งทองเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาศิลปะการแสดงหนังตะลุงของภาคใต้ประจำปี 2532 และเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2535 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้นายจูเลี่ยม กิ่งทอง เป็นศิลปินแห่งชาติประจำปีพ.�! �. 2535 สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง)
จูเลี่ยมกิ่งทองได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2547 รวมอายุ 83 ปี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น