วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

สถานีรถไฟกันตัง

มุขมนตรีเยอรมนี (Chancellor of Germany) หรือ อาจจะแปลเป็นไทยได้อีกอย่างหนึ่งว่า อัครมหาเสนาบดี คือผู้บริหารประเทศเยอรมนี ตำแหน่ง อัครมหาเสนาบดีของประเทศเยอรมนีนี้เป็นตำแหน่งเก่า เกิดขึ้นในสมัยที่เยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน (Constitution of the German Empire 1871 AD) ในสมัยบิสมาร์คในปี ค.ศ. 1871 โดยรัฐต่างๆ ของเยอรมนีที่เป็นประเทศอิสระจากกันหลายประเทศ หลายแว่น�! �คว้น (ภายหลังการยกเลิกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1815 โดยพระจักรพรรดินโปเลียนมหาราชแห่งฝรั่งเศส) ได้เข้ามารวมกันภายใต้การนำของราชอาณาจักรปรัสเซีย
การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนั้น กำหนดให้พระราชาแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียเป็นประธานาธิบดีของสหพันธรัฐ แล้วเรียกชื่อว่า จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมัน จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมันจะแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร คือตำแหน่ง อัครมหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิ (German Chancellor) ที่เรียกชื่อตำแหน่งเช่นนี้ เนื่องจากเยอรมันนีมีสภาพเป็น สหพันธรัฐ แต่ละรัฐหรือ ราชอาณาจักรในส�! ��พันธรัฐ (เช่น ราชอาณาจักรปรัสเซีย, ราชอาณาจักรบาวาเรีย เป็นต้น) ต่างก็มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเอง ตำแหน่ง Chancellor นี้เป็นตำแหน่งเก่ามาตั้งแต่สมัยโบราณ ยุคจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นเมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่เยอรมนีเปลี่ยนไปเป็นระบบประธานาธิบดี หรือแม้แต่หลังบบสงครามโลกครั้งที่สองลล ระบบสหพันธรัฐก็ย! ังคงอยู่ (แม้ว่ายุคบิสมา� �์กจะเรียกจักรวรรดิ แต่ในรัฐธรรมนูญนั้นยังเรียกว่าระบบสหพันธรัฐ) ตำแหน่ง Chancellor ก็ยังคงเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารไม่เปลี่ยนแปลง
ในสมัย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รวมตำแหน่ง Chancellor เข้ากลับตำแหน่งประธานาธิบดีแล้วเรียกว่า "ผู้นำ" (Fäler) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีกลับไปใช้ระบบสหพันธรัฐและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขเช่นเดิม หัวหน้าฝ่ายบริหารก็ยังคงเรียกแบบเดิมคือ Chancellor ตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาเยอรมนีมีมุขมนตรี 8 คน ถ้าไม่นับฮิ! ตเลอร์
มุขมนตรีคนล่าสุด ได้แก่ นางแองเกลลา เมอร์เคล ซึ่งเป็นมุขมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี สังกัดพรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต นางขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากนายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ จากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมนีในปี ค.ศ. 2005


ไม่มีความคิดเห็น: