วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550


พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ (28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 — ) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทย (ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 1 ตุลาคม 2549 -- )โดยเป็นนายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร และไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ก่อนหน้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เคยรับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และองคมนตรี

พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประวัติ
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เริ่มรับราชการในยศร้อยตรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 จากนั้นจึงไปศึกษาต่อหลักสูตรเสนาธิการทหารบก ที่สหรัฐอเมริกา และทำงานในหน่วยรบต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ในขณะที่บิดาก็ยังเป็นแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น ใน พ.ศ. 2521 - 2531 พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายทหารคนสนิทของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น พล.อ.เปรม ได้แต่งตั้งให้ พล.อ.สุรยุทธ์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
หลังจากเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์วางเป้าหมายไว้ว่าจะอุปสมบทและออกธุดงค์ไปในภาคอีสาน ครั้นเมื่อลาสิกขา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546

รับราชการทหาร
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ก้าวเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทย ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยมีพลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
มีงบประมาณส่วนกลาง 5000 ล้านบาท ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ประสานงานจากส่วนกลางสู่ชุมชน

วางยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข โดยเน้นการพัฒนาคนและครอบครัวให้พึ่งพาตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง นโยบายสำคัญ

ห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด วัฒนธรรม

ยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เปลี่ยนเป็น รักษาฟรีทุกโรค สาธารณสุข

ยกเลิกแผนการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า พลังงาน

ให้โรงเรียนดัง 430 โรงเรียนทั่วประเทศ รับเด็กนักเรียนจากพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนครึ่งหนึ่ง ส่วนโรงเรียนอื่นจะต้องรับนักเรียนเข้าทั้งหมดโดยไม่มีการสอบ หากมีผู้สมัครเกินจำนวนที่รับ ให้ใช้วิธีจับสลาก
ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี การศึกษา

ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูปฯเรื่องห้ามการชุมนุมประท้วง แต่ยังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึก อื่นๆ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กรณีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ต.ค. พ.ศ. 2549 พบว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีทรัพย์สินรวม 25,246,091 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 5 บัญชี จำนวน 7,283,341 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 82,500 บาท ที่ดิน 9 แปลง มูลค่า 17,880,250 บาท พ.อ.หญิง คุณหญิง จิตรวดี จุลานนท์ ภริยา มีทรัพย์สินรวม 65,566,363 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 15 บัญชี จำนวน 20,620,933 บาท เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล 10,030,000 บาท เงินลงทุนอื่น 33,430 บาท ที่ดิน 3 แปลง มูลค่า 7 ล้านบาท บ้าน 3 หลัง มูลค่า 10 ล้าน ยาพาหนะ 3 คัน มูลค่า 3,725,000 ทรัพย์อื่น 14,157,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับอัญมณี ทั้งสองคนมีทรัพย์สินรวม 90,812,454 บาท

งานอนุรักษ์
รัฐบาลโดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประกอบคณะรัฐมนตรีที่ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุและข้าราชการประจำที่เกษียณแล้ว สื่อมวลชนจึงให้ฉายาว่า " รัฐบาลขิงแก่ " ในส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีเองแล้วถูกมองว่าทำงานล่าช้า ไม่ยอมจัดการกับกลุ่มอำนาจเก่า จึงได้รับฉายาจากนายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าเป็น " ฤาษีเลี้ยงเต่า " โดยล้อกับฉายาของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ที่ชื่อ " ฤาษีเลี้ยงลิง "

ไม่มีความคิดเห็น: