วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550
สหภาพแรงงาน (Trade Union) คือการรวมตัวกันของกลุ่มลูกจ้างโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีการดำเนินการตาม หรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
เมื่อประมานสามร้อยปีที่แล้ว สหภาพแรงงานได้ถือกำเนิดขึ้นและได้พัฒนาไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน เนื่องจากบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดังนี้จึงส่งผลให้วัตถุประสงค์ และกิจกรรมหลักของสหภาพแรงงานจึงแตกต่างกันไปด้วย อย่างไรก็ตามอาจสรุปหน้าที่หลักของสหภาพแรงงานได้ดังนี้
การจัดเตรียมสิ่งอำนวยประโยชน์แก่สมาชิกสหภาพแรงงาน: สหภาพแรงงานในระยะเริ่มแรกนี้ มีลักษณะคล้ายกับสังคมที่เป็นมิตร (Friendly Society) ที่มีหน้าที่ตระเตรียมผลประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้สมาชิกสหภาพแรงงานมีความมั่นใจในกรณีถูกเลิกจ้าง เจ็บป่วย เกษียณอายุ และค่าใช้จ่ายในการทำศพ ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ หน้าที่ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่อย่า�! ��ไรก็ตามการจัดเตรียมการฝึกอาชีพ การให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย และบทบาทในการเป็นตัวแทนของสมาชิกสหภาพก็ยังคงเป็นผลประโยชน์ที่สำคัญของสมาชิกสหภาพแรงงาน
สร้างพลังต่อรอง: สหภาพแรงงานสามารถดำเนินการได้อย่างเปิดเผย และเป็นที่รับรู้ของนายจ้าง/กลุ่มนายจ้าง ดังนั้นสหภาพแรงงานสามารถเจรจากับนายจ้างได้ทั้งในเรื่องของค่าจ้าง และสภาพการทำงาน
การกระทำทางแรงงาน: สหภาพแรงงานอาจจัดให้มีการนัดหยุดงาน หรือ การต่อต้านการปิดงาน เพื่อผลักดันเป้าหมายบางประการ
กิจกรรมทางการเมือง: สหภาพแรงงานอาจเรียกร้องให้มีการบัญญัติกฎหมายที่เป็นประโยชน์โดยรวมแก่สมาชิกสหภาพแรงงาน ลูกจ้าง ดังนี้สหภาพแรงงานอาจดำเนินการโดยการจัดการรณรงค์ ชักชวนให้สมาชิกรัฐสภาสนับสนุนการออกกฎหมายฉบับหนึ่ง (lobbying) หรือให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือผู้สมัครอิสระ (เช่น พรรคแรงงาน (Labour Party) ในสหราชอาณาจักร)
ประวัติศาสตร์
สหภาพแรงงานในแต่ละภูมิภาค และประเทศ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น