วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สนธิสัญญาเบอร์นี

สนธิสัญญาเบอร์นี คือ สนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรก ที่ไทยได้ทำกับประเทศตะวันตกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ลอร์ด แอมเฮิสต์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินประจำอินเดีย ได้ส่งเฮนรี่ เบอร์นี่ เป็นทูตอังกฤษคนที่สองที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย พ.ศ. 2368 เพื่อเจรจาปัญหาทางการเมืองและการค้ากับไทยในด้านการค้า รัฐบาลอังกฤษมีความประสงค์ที่จะขอเปิดสัมพันธไมตรีทางการค้ากับไทย และขอความสะดวกในการในการค้าได้โดยเสรี เบอร์นีใช้�! �วลาถึง 5 เดือนจึงสามารถทำการตกลงทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์กับไทยได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนพ.ศ. 2369 นับเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่ทำกับประเทศตะวันตกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สนธิสัญญาเบอร์นี ประกอบไปด้วยสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีรวม 14 ข้อ และมีสนธิสัญญาทางการพาณิชย์แยกออกมาอีกฉบับหนึ่งรวม 6 ข้อ ในด้านการค้าได้มีข้อตกลงไว้ดังนี้ คือ
อนุญาตให้พ่อค้าไทยทำการค้ากับพ่อค้าชาวอังกฤษได้อย่างเสรี ตามความสะดวก รัฐบาลห้ามมิให้พ่อค้าซื้อข้าวเพื่อส่งออกนอกประเทศ ส่วนกระสุนปืน และดินปืนนั้น ถ้านำมาขายจะต้องขายให้แก่รัฐบาลไทยได้เพียงผู้เดียว ถ้าหากรัฐบาลไทยไม่ต้องการให้นำออกไป
รัฐบาลจะเก็บภาษีจากพ่อค้าอังกฤษรวมเป็นอย่างเดียว ตามความกว้างของปากเรือ หากเรือใดได้บรรทุกสินค้ามาให้คิดราคาตามความกว้างของปากเรือเป็นราคาวาละ 1,700 บาท ส่วนเรือที่ไม่ได้บรรทุกสินค้ามานั้นให้คิดตามความกว้างของปากเรือราคาวาละ 1,500 บาท
เรือสินค้าของพ่อค้าชาวอังกฤษที่เข้ามาค้าขายกับไทย จะต้องมาทอดสมอคอยอยู่นอกสันดอนปากแม่น้ำก่อน ผู้บังคับการเรือจะต้องให้คนนำบัญชีรายชื่อสินค้าที่บรรทุกมาตลอดจนอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ แจ้งแก่เจ้าเมืองปากน้ำ
เจ้าพนักงานไทยยังคงมีสิทธิลงไปตรวจสอบสินค้าของพ่อค้า และให้นำสินค้าประเภทอาวุธยุทธภัณฑ์ไว้ ณ เมืองปากน้ำ แล้วเจ้าเมืองจึงอนุญาตให้เรือมาถึงกรุงเทพ
พ่อค้าอังกฤษ ตลอดจนผู้บังคับการเรือและลูกเรือทั้งหลายซึ่งเข้ามาค้าขายยังเมืองไทย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยทุกประการ

ไม่มีความคิดเห็น: