วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสำคัญมากที่สุด ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูนประดับกระจก

พระธาตุดอยสุเทพ ที่อยู่ของวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
ถ.ศรีวิชัย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ลุมพินี
ลุมพินี อาจหมายถึง


แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

  • สวนลุมพินี สวนสาธารณะ
    สนามมวยลุมพินี
    สถานีลุมพินี สถานีรถไฟฟ้ามหานคร
    ลุมพินีวัน ชื่อสวนที่พระพุทธเจ้าประสูติ

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สิทธิเหนือสิทธิบัตร
มาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory licensing หรือ CL) หรือ สิทธิเหนือสิทธิบัตร คือการที่รัฐบาลออกมาตรการบังคับต่อเจ้าของสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิผูกขาดอื่นใด โดยให้รัฐหรือใครก็ตามได้รับสิทธิในการใช้สอยงานนั้นๆ โดยชอบธรรม. โดยปกติแล้วเจ้าของสิทธิมักจะได้รับค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิจากกรณีนี้ ซึ่งอาจจะมีระบุไว้ในตัวบทกฎหมายหรือตัดสินโดยผู้ชี้ขาดแล้วแต่กรณีไป.

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9
ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 (อังกฤษ: Shoemaker-Levy 9 หรือ SL9, ชื่ออย่างเป็นทางการ D/1993 F2) เป็นดาวหางที่พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งทำให้สามารถสังเกตการชนระหว่างวัตถุในระบบสุริยะได้โดยตรงเป็นครั้งแรก (ไม่นับการชนที่เกี่ยวกับโลก) เหตุการณ์นี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีการเผยแพร่ออกไปทางสื่อต่าง ๆ และนักดาราศาสตร์ทั่วโลกก็มีโอกาสติดตามสังเกตการชนครั้งนี้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้เหตุการณ์ดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงสภาพบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี รวมไปถึงบทบาทของดาวพฤหัสบดีที่คอยกวาดวัตถุในอวกาศที่อยู่ด้านในของระบบสุริยะ
แคโรลิน ชูเมกเกอร์ ยูจีน ชูเมกเกอร์ และเดวิด เลวี เป็นนักดาราศาสตร์ที่ค้นพบดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 เมื่อคืนวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2536 โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 0.4 เมตรหอดูดาวเมาต์พาโลมาร์ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นดาวหางดวงแรกที่พบขณะโคจรรอบดาวเคราะห์ ไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์
ชิ้นส่วนของดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 กิโลเมตร ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่าแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีได้ฉีกดาาวหางแตกออกเป็นชิ้น ๆ ระหว่างการโคจรเข้าใกล้กันเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 จากนั้นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของดาวหางได้พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีตรงด้านซีกใต้โดยเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม ถึง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ด้วยอัตราเร็วประมาณ 60 กิโลเมตร/วินาที ทำให้เกิดรอยคล้ำบนชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี เห็นได้ชัดเจนต่อเนื่องกันนานเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากนั้น

ดาวหางโคจรรอบดาวพฤหัสบดี
การค้นพบว่าดาวหางมีโอกาสชนดาวพฤหัสบดีทำให้นักดาราศาสตร์ทั้งหลายรวมไปถึงประชาชนที่สนใจต่างตื่นเต้นเป็นการใหญ่ เนื่องจากไม่เคยมีการสังเกตการชนกันระหว่างวัตถุที่สำคัญในระบบสุริยะมาก่อน ผลการพยากรณ์ตำแหน่งดาวหางเป็นที่แน่ชัดว่ามันจะพุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดี การชนครั้งนี้นักดาราศาสตร์คาดว่าจะเป็นโอกาสสำคัญในการศึกษาบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี เพราะจะเปิดเผยสภาพบรรยากาศด้านในของดาวพฤหัสบดีออกมาให้เห็น
นักดาราศาสตร์คะเนว่าชิ้นส่วนดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ที่สังเกตได้จากโลก มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่เมตรจนถึงไม่กี่กิโลเมตร ซึ่งแสดงว่าก่อนที่จะแตกออกมันมีขนาดใหญ่ได้ถึงราว 5 กิโลเมตร ซึ่งนับว่าใหญ่พอสมควรเมื่อเทียบกับดาวหางเฮียะกุตะเกะที่เห็นได้เหนือท้องฟ้าเมื่อปี พ.ศ. 2539 มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับผลของการชน และการชนจะทำให้เกิดแสงสว่างวาบมองเห็นได้จากโลกหรือไม่ นักดาราศาสตร์บางกลุ่มคาดว่าการชนอาจทำให้เกิดคลื่นสั่นไหวไปทั่วดาวพฤหัสบดี รวมไปถึงวงแหวนดาวพฤหัสบดีที่อาจมีมวลเพิ่มมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ชุดคำสั่ง
ชุดของคำสั่งเครื่อง (instruction set) คือ รายชื่อคำสั่งทั้งหมดที่หน่วยประมวลผล (processor) สามารถปฏิบัติได้ โดยชุดคำสั่งนั้นอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหน่วยประมวลผลของระบบ ชุดของคำสั่งเครื่องรวมถึง:

เลขคณิต เช่น เพิ่ม ลบ
ตรรก เช่น และ หรือ ไม่
ข้อมูล เช่น ย้าย โหลด บันทึก input output

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ซัน ไมโครซิสเต็มส์
ซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems) เป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์, และซอฟต์แวร์ ที่ตั้งอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ เมืองแซนตาแคลรา ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ผลิตภัณฑ์เด่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปของซัน ได้แก่ เครื่องเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชัน ที่ใช้หน่วยประมวลผลสปาร์ค (SPARC), ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris), ระบบไฟล์บนเครือข่าย NFS, และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาจาวา และแพลตฟอร์มจาวา
นอกจากนี้ ซันยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของ โครงการโอเพ่นออฟฟิศดอทอ็อก (OpenOffice.org) ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงานแบบโอเพนซอร์ส

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

โบลิเวีย ประวัติศาสตร์
โบลิเวียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 แคว้น (departments - departamentos) ชื่อเมืองหลวงอยู่ในวงเล็บ
แต่ละแคว้นแบ่งออกเป็น จังหวัด (provinces - provincias)

เบนี (ตรีนีดัด)
ชูกีซากา (ซูเกร)
โกชาบัมบา (โกชาบัมบา)
ลาปาซ (ลาปาซ)
โอรูโร (โอรูโร)
ปันโด (โกบีคา)
โปโตซี (โปโตซี)
ซานตากรุซ (ซานตากรุซ)
ตารีคา (ตารีคา) การเมืองการปกครอง
(รอเพิ่มเติมข้อมูล)

การแบ่งเขตการปกครอง
(รอเพิ่มเติมข้อมูล)

เศรษฐกิจ
(รอเพิ่มเติมข้อมูล)

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ดรีมแคสต์ (Dreamcast) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นสุดท้ายของบริษัทเซก้า โดยเป็นความพยายามของเซก้าในการชิงตลาดเกมคอนโซลคืนมา มันถูกออกแบบให้เหนือกว่านินเทนโด 64 และเพลย์สเตชัน แต่ไม่สามารถสร้างยอดขายและความสนใจได้มากพอก่อนการวางจำหน่ายเพลย์สเตชัน 2 หลังจากนั้นเซก้าได้ออกจากธุรกิจฮาร์ดแวร์เกมคอนโซล และมุ่งเน้นยังซอฟต์แวร์เกมเพียงอย่างเดียว
ดรีมแคสต์วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 และวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1999 ในสหรัฐอเมริกา (สามารถเขียนวันที่เป็น 9/9/99 ได้) เซก้าได้ประกาศหยุดการผลิตฮาร์ดแวร์ดรีมแคสต์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2001 ทำยอดขายรวมทั้งสิ้นประมาณ 20 ล้านเครื่อง ซึ่งมากเพียงครึ่งหนึ่งที่เซก้าประมาณการไว้
ดรีมแคสต์ใช้แผ่นดิสก์ของตนเองที่เรียกว่า GD-ROM (Gigabyte Disc Read Only Memory) เพื่อป้องกันปัญหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ และเป็นเครื่องเล่นเกมคอนโซลยุคแรกๆ ที่สามารถเล่นออนไลน์ได้ โดยถือได้ว่าเป็นเครื่อง รุ่นสุดท้าย ที่ ทางค่าย sega ได้ออกวางตลาดเครื่อง Console


Dreamcast

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550

วสันต์ สิทธิเขตต์
วสันต์ สิทธิเขตต์ ศิลปินและนักเคลื่อนไหวทางสังคม เกิดที่อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อ พ.ศ. 2500 เรียนศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรุงเทพฯ ระหว่าง พ.ศ. 2518 – 2524
วสันต์ สิทธิเขตต์เป็นที่รู้จักในวงกว้างหลังจากเข้าร่วมการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยอ่านบทกวีวิจารณ์การเมืองในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ครั้งแรก
ก่อนหน้านี้ วสันต์ สิทธิเขตต์ มีเคลื่อนไหวทางสังคมในการเลือกตั้งแทบทุกครั้ง
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ประกาศตั้งพรรคเพื่อกู มีนโยบายที่ออกไปในทางเสียดสีพรรคไทยรักไทย อาทิ โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งกองพัน เพื่อก่อตั้งแก๊งมือปืน นโยบายไล่ล่านักการเมืองที่หากินกับโครงการของรัฐ รวมทั้งการจัดซื้อเครื่องบินเอฟ 16 อีก 20 ฝูง เพื่อจะได้ค่าคอมมิสชั่นมาแจกจ่ายในหมู่สมาชิกพรรค
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ตั้งพรรคศิลปิน ร่วมกับเพื่อนศิลปินหลายท่าน เช่น ช่วง มูลพินิจ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ อังคาร กัลยาณพงศ์ มีนโยบายยึดทรัพย์นักการเมืองเศรษฐี ยกเลิกสัญญาการค้าที่ไม่เป็นธรรม จัดการศึกษาฟรีตั้งแต่เกิดจนโต

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เบนซิลเพนิซิลลิน
?
มาช่วยกันเพิ่มเติมและแก้ไขกันเถอะ เพื่อให้บทความนี้น่าอ่านยิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ เริ่มต้นเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย หรือ ภาษาอื่นด้านซ้ายมือ ให้นำกล่องนี้ออกเมื่อมีข้อความเพิ่มเติม


ฮีตาซิลลิน(Benzylpenicillin)


รุ่นที่ 1
รุ่นที่ 2
รุ่นที่ 3

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550


พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ (28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 — ) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทย (ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 1 ตุลาคม 2549 -- )โดยเป็นนายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร และไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ก่อนหน้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เคยรับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และองคมนตรี

พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประวัติ
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เริ่มรับราชการในยศร้อยตรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 จากนั้นจึงไปศึกษาต่อหลักสูตรเสนาธิการทหารบก ที่สหรัฐอเมริกา และทำงานในหน่วยรบต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ในขณะที่บิดาก็ยังเป็นแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น ใน พ.ศ. 2521 - 2531 พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายทหารคนสนิทของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น พล.อ.เปรม ได้แต่งตั้งให้ พล.อ.สุรยุทธ์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
หลังจากเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์วางเป้าหมายไว้ว่าจะอุปสมบทและออกธุดงค์ไปในภาคอีสาน ครั้นเมื่อลาสิกขา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546

รับราชการทหาร
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ก้าวเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทย ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยมีพลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
มีงบประมาณส่วนกลาง 5000 ล้านบาท ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ประสานงานจากส่วนกลางสู่ชุมชน

วางยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข โดยเน้นการพัฒนาคนและครอบครัวให้พึ่งพาตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง นโยบายสำคัญ

ห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด วัฒนธรรม

ยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เปลี่ยนเป็น รักษาฟรีทุกโรค สาธารณสุข

ยกเลิกแผนการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า พลังงาน

ให้โรงเรียนดัง 430 โรงเรียนทั่วประเทศ รับเด็กนักเรียนจากพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนครึ่งหนึ่ง ส่วนโรงเรียนอื่นจะต้องรับนักเรียนเข้าทั้งหมดโดยไม่มีการสอบ หากมีผู้สมัครเกินจำนวนที่รับ ให้ใช้วิธีจับสลาก
ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี การศึกษา

ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูปฯเรื่องห้ามการชุมนุมประท้วง แต่ยังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึก อื่นๆ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กรณีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ต.ค. พ.ศ. 2549 พบว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีทรัพย์สินรวม 25,246,091 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 5 บัญชี จำนวน 7,283,341 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 82,500 บาท ที่ดิน 9 แปลง มูลค่า 17,880,250 บาท พ.อ.หญิง คุณหญิง จิตรวดี จุลานนท์ ภริยา มีทรัพย์สินรวม 65,566,363 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 15 บัญชี จำนวน 20,620,933 บาท เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล 10,030,000 บาท เงินลงทุนอื่น 33,430 บาท ที่ดิน 3 แปลง มูลค่า 7 ล้านบาท บ้าน 3 หลัง มูลค่า 10 ล้าน ยาพาหนะ 3 คัน มูลค่า 3,725,000 ทรัพย์อื่น 14,157,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับอัญมณี ทั้งสองคนมีทรัพย์สินรวม 90,812,454 บาท

งานอนุรักษ์
รัฐบาลโดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประกอบคณะรัฐมนตรีที่ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุและข้าราชการประจำที่เกษียณแล้ว สื่อมวลชนจึงให้ฉายาว่า " รัฐบาลขิงแก่ " ในส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีเองแล้วถูกมองว่าทำงานล่าช้า ไม่ยอมจัดการกับกลุ่มอำนาจเก่า จึงได้รับฉายาจากนายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าเป็น " ฤาษีเลี้ยงเต่า " โดยล้อกับฉายาของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ที่ชื่อ " ฤาษีเลี้ยงลิง "

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ทฤษฎีเซต เป็นแนวทฤษฎีหนึ่งในทางคณิตศาสตร์ คิดค้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกออร์ก คันทอร์ (Georg Cantor) เป็นผู้ริเริ่มคำว่า "เซต" ต่อจากนั้นนักคณิตศาสตร์จึงใช้คำนี้กันอย่างแพร่หลาย ความรู้ในเรื่องเซตสามารถนำมาเชื่อมโยงเนื้อหาในคณิตศาสตร์หลายๆเรื่อง เช่น ฟังก์ชัน ความน่าจะเป็น

ทฤษฎีเซต การดำเนินการของเซต

ถ้า A เป็นเซตจำกัด เราใช้สัญลักษณ์ n(A) หรือ |A| แทนจำนวนสมาชิกของ A
การนับจำนวนสมาชิกของ U ที่ไม่อยู่ใน A อาจใช้สูตร n(A') = n(U)-n(A)

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ดูความหมายอื่นของ น่าน ได้ที่ น่าน (แก้ความกำกวม)
จังหวัดน่าน อยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า นันทบุรี มีพื้นที่กว้างใหญ่ เป็นอันดับ 13 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ พื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซอน และมีลำน้ำหลายสายเช่น ลำน้ำน่าน ลำน้ำว้า ทั้งยังมีประชากรหลายชาติพันธุ์ นับว่าเป็นดินแดนของความหลากหลากอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
พื้นที่จังหวัดน่าน มีเขตแดนด้านเหนือและตะวันออกติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านใต้ติดกับจังหวัดอุตรดิตถ์ ทางตะวันตกติดกับจังหวัดพะเยาและแพร่ นอกจากนี้แล้ว จังหวัดน่านยังมีด่านเข้าออกกับประเทศลาวหลายแห่งด้วยกัน เช่น ด่านห้วยโก๋น จุดผ่อนปรนบ้านใหม่ชายแดน และจุดผ่อนปรนบ้านห้วยสะแตง

จ.น่าน ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์เมืองน่าน เริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคา ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อน กันอยู่ ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดย ขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้อง สร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว
ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานาน และมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอย ู่เมืองย่างและมอบให้ชายา คือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่คือพญาภูคา พญางำเมืองเจ้าผู้ ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครอง บ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปิน พร้อมด้วยบุตรในครรภ์ ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนาง รับใช้พญาคำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็น เจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราดภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพ มาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865 - 1894 รวม 30 ปี จึงพิราลัย
ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัว ได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์ กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมือง มาบูชา ณ เมืองปัวด้วยพญาการเมือง ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาล จึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัว ลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือ พญาผากองขึ้นครองแทนอยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911
ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950 - 1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้าง พระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริษ์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่าน และแหล่งเกลือ บ่อมาง (ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึด เมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าว ไม่อาจต้านทาน ได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปี ที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของ อาณาจักรล้านนา ได้ค่อย ๆ ซึมชับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนา มาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัย อย่างชัดเจน ดังเช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103 - 2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้าง ไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247 - 2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ 2321 - 2344

สมัยล้านนา
ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เพื่อขอเป็น ข้าขอบขันทสีมา เจ้าอัตถวรปัญโญ หลังจากขึ้นครองเมืองน่านยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียว เนื่องจากเมืองน่าน ยังรกร้างอยู่ ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) หลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านแล้ว พร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรมมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่าน ต่างได้ทำนุบำรุงกิจการพุทธศาสนาในเมืองน่าน และอุปถัมภ์ค้ำจูนพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร ์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้ เมืองต่างๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองหลวงพระบาง
ในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลือนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศา ธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์" เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรก และองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ จึงได้สร้าง หอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำ มีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จหรือขบวนรักแขกเมืองสำคัญและในปี พ.ศ. 2474 เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็น ศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านจนกระทั่งปัจจุบัน
ในยุคประชาธิปไตย จังหวัดน่านยังมีตำนานการเป็นแหล่งกบดานของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะที่อำเภอทุ่งช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยมีอนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งช้าง เป็นพยานช่วยเตือนความจำให้แก่ชนรุ่นหลัง

สมัยรัตนโกสินทร์
จังหวัดน่านมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยเฉพาะบริเวณชายแดนด้านเหนือและตะวันออก ซึ่งเป็นรอยต่อติดกับลาว แต่ก็ยังมีแม่น้ำสายสำคัญด้วย นั่นคือ แม่น้ำน่าน ซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงไปยังเขื่อนสิริกิติ์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และบรรจบกับแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง และแม่น้ำยม ที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ลำน้ำสา ลำน้ำว้า ลำน้ำสมุน ลำน้ำปัว ลำน้ำย่าง
เมื่อถึงฤดูหนาว อากาศหนาวจัด เนื่องจากแวดล้อมไปด้วยภูเขาสูง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยภูคา ในอำเภอปัว มีความสูงถึง 1,980 เมตร

ภูมิศาสตร์
ประชากรในจังหวัดน่านมีอยู่อย่างเบาบางเป็นอันดับ 4 ของประเทศ (40 คน ต่อตารางกิโลเมตร) กระจัดกระจายไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ในพื้นที่ราบ มักเป็นที่อาศัยของชาวไทย เช่น ไทยล้านนา และไทยลื้อ ส่วนบริเวณที่สูง ตามไหล่เขา เป็นชุมชนของชนกลุ่มน้อย ที่เรียกกันว่า ชาวเขา ได้แก่ ชาวม้ง เมี่ยน ลัวะ ขมุ และรวมถึงชาวตองเหลือง ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอำเภอเวียงสาด้วย ผู้คนในจังหวัดน่านจึงมีภาษาพูดที่หลากหลายด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยถิ่นเหนือ หรือพูดคำเมือง สำเนียงน่าน

กลุ่มชาติพันธุ์

ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
การปกครองแบ่งออกเป็น 14 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 99 ตำบล 848 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองน่าน อยู่ในบริเวณกึ่งกลางของพื้นที่จังหวัด เป็นเมืองขนาดย่อม มีประชากรไม่หนาแน่น
อำเภอแม่จริม อยู่ทางตะวันออกของจังหวัด มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม
อำเภอบ้านหลวง อยู่ทางตะวันตก ติดกับจังหวัดพะเยา มีผู้คนเบาบาง
อำเภอนาน้อย ทางด้านใต้ของจังหวัด มีเส้นทางติดกับจังหวัดแพร่ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน และเสาดินนาน้อย
อำเภอปัว อำเภอศูนย์กลางเศรษฐกิจทางตอนบนของจังหวัด,มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เก่าแก่ และเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา พื้นที่โดยรอบมีสภาพเป็นภูเขา
อำเภอท่าวังผา บริเวณช่วงกลางของจังหวัด มีชื่อเสียงเรื่องการทอผ้า ของหมู่บ้านไทยลื้อ และมีวัดเก่าแก่ คือวัดหนองบัว
อำเภอเวียงสา เดิมเรียกอำเภอสา มีน้ำตกดอยสวรรค์ วัดดอยไชย และวัดบุญยืน
อำเภอทุ่งช้าง สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่มั่นสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย มีอนุสาวรีย์วีรกรรมทุ่งช้างประดิษฐานอยู่
อำเภอเชียงกลาง อำเภอเล็กๆ ทางตอนเหนือ มีรีสอร์ทสวยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวหลายแห่ง
อำเภอนาหมื่น อำเภอทางใต้สุดของจังหวัด ติดกับจังหวัดอุตรดิตถ์ มีหมู่บ้านชาวประมงน้ำจืด ที่อาศัยแอ่งน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ทำการประมง และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
อำเภอสันติสุข อำเภอขนาดเล็กทางตะวันออกของจังหวัด มีความสงบ ท่ามกลางขุนเขา
อำเภอบ่อเกลือ มีบ่อเกลือโบราณ และตำนานเก่าแก่ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นที่ตั้งของเมืองภูคาสมัยโบราณ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยเฉพาะเป้นจุดเริ่มต้นของการล่องแก่งน้ำว้า
อำเภอสองแคว อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด ติดกับจังหวัดพะเยา และมีด่านชายแดนไทยลาวทางตอนเหนือ มีหมู่บ้านชนกลุ่มน้อย ที่เรียกว่า ชาวขมุ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขาสูง
กิ่งอำเภอภูเพียง อยู่ใกล้กับอำเภอเมืองน่าน เป็นที่ตั้งของพระธาตุแช่แห้ง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเหนือสุดของจังหวัดน่าน มีด่านชายแดนไทยลาว และหมู่บ้านชาวเขา เป็นแหล่งปลูกส้มที่สำคัญของจังหวัด และแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสายสำคัญ คือแม่น้ำน่าน หน่วยการปกครอง

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจมากมาย มีอาณเขตประมาณ 260,000 ไร่
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน อำเภอนาน้อยและอำเภอนาหมื่น มีพรรณไม้และน้ำตกหลายแห่ง
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อุทยานแห่งชาติที่สำคัญของจังหวัดน่าน มีอาณาเขตกว้างขวางโดยมีพื้นที่ประมาณ 1,080,000 ไร่ ประกอบด้วยพรรณไม้ที่หลากหลาย มีการค้นพบพืชสำคัญหลายชนิด เช่น เต่าร้างยักษ์ภูคา ที่พบเฉพาะที่นี่เพียงแห่งเดียว รวมถึงต้นชมพูภูคา ซึ่งพบที่นี่เพียงแห่งเดียวเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีถ้ำที่น้อยคนเคยเข้าไปเที่ยว
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน อยู่ในอำเภอสองแคว ทางตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตประมาณ 280,000 ไร่
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี อยู่ในอำเภอปัว มีเนื้อที่ถึง 740,900 ไร่
อุทยานแห่งชาติแม่จริม มีสถานที่ล่องแพอย่างสนุกสนาน อยู่ในอำเภอแม่จริม มีอาณาเขตประมาณ 270,000 ไร่
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน อยู่ในเขตอำเภอนาน้อย มีอาณาเขตประมาณ 583,750 ไร่
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ตั้งอยู่ที่ บ้านขุนสถาน หม่ที่ 9 ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน อยู่ระหว่างเขตรอยต่อจังหวัดน่านและแพร่ ที่ทำการตั้งอยู่บน กม. 26 ถนนสาย 1216 จ.น่าน อุทยาน
จังหวัดน่านมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ ไม่มาก ส่วนใหญ่ติดกับประเทศลาว ดังนั้นการเดินทางมาจังหวัดน่านจึงมีเส้นทางที่จำกัด ไม่มีทางรถไฟ แต่ก็มีสนามบินพานิชย์ และมีถนนสายหลักที่ตัดผ่านตลอดความยาว ตั้งแต่เหนือลงมา และมีสภาพผิวถนนที่ดี สามารถใช้งานได้ตลอดปี ยิ่งไปกว่านั้น จากด่านห้วยโก๋นที่อยู่เหนือสุดของจังหวัดน่านยังมีระยะทางห่างจากเมืองหลวงพระบางในประเทศลาวเพียง 152 กิโลเมตรเท่านั้น

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550


พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary; OED) เป็นพจนานุกรม ที่ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ปกติถือเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษเชิงวิชาการและละเอียดที่สุด โดยมีรายการหลักประมาณ 301,100 รายการ (สถิติล่าสุด 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005) และมีตัวอักษรทั้งหมดมากกว่า 350 ล้านตัว นอกจากคำหลักของรายการหลักแล้ว ยังมีคำประสม และคำแผลงพิมพ์ตัวหนา 157,000 คำ ขณะที่มีวลีและวลีย่อยพิมพ์ตัวหนา 169,000 รายการ ทำให้มีลูกคำทั้งหมด 616,500 คำ นอกจากนี้ยังมีการเขียนคำอ่าน 137,000 คำ, รากศัพท์หรือที่มา 249,300 คำ ศัพท์เชื่อมโยง (cross-references) 577,000 มีจำนวนหน้า 21,730 หน้า และรายการศัพท์ทั้งหมด 291,500 รายการ
นโยบายของพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือ พยายามที่จะบันทึกการใช้งานและลักษณะแปรผันทั้งหมดเท่าที่ทราบ ในทุกลักษณะของปลีกย่อยของภาษาอังกฤษ ที่ใช้กันทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของคำนำฉบับพิมพ์ ค.ศ. 1933 มีดังนี้
เป้าหมายของพจนานุกรมนี้ ก็คือ เพื่อนำเสนอลำดับคำเรียงตามตัวอักษร ที่ก่อให้เกิดเป็นคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ จากช่วงเวลาเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีบันทึกมา จวบจนปัจจุบัน โดยมีข้อเท็จจริงอันเกี่ยวเนื่องทั้งมวล ในเชิงรูปคำ ประวัติศาสตร์ การออกเสียง และรากศัพท์ เราไม่เน้นเฉพาะภาษามาตรฐานในวรรณคดี และการสนทนาเท่านั้น ไม่ว่าในเวลาปัจจุบัน หรือศัพท์ที่เลิกใช้ หรือศัพท์โบราณ แต่เน้นคำศัพท์เฉพาะทางที่สำคัญ และการใช้ในท้องถิ่นระดับกว้าง และศัพท์สแลงด้วย
พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือจุดเริ่มต้นของงานที่เน้นวิชาการที่เข้มข้น ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคำศัีพท์ภาษาอังกฤษ การเลือกลำดับในการสะกดแบบต่างๆ ของคำหลักนั้น มีอิทธิพลต่อการเขียนภาษาอังกฤษในหลายประเทศ

จุดเริ่มต้น
เทรนช์นั้นมีบทบาทสำคัญในช่วงแรกๆ ของโครงการ แต่อาชีพนักบวชของเขานั้น ทำให้เขาไม่สามารถให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องแก่พจนานุกรมใหม่นี้ได้เท่าที่ควร ซึ่งอาจต้องใช้เวลายาวนานถึงสิบปีทีเดียว ด้วยเหตุนี้ เทรนช์จึงขอลาออก และเฮอร์เบิร์ต โคเลอริดจ์ก็เข้ามาเป็นบรรณาธิการคนแรกของพจนานุกรมเล่มนี้
วันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1860 มีการตีพิมพ์แผนการของโคเลอริดจ์สำหรับงานชิ้นนี้ และเริ่มการวิจัย บ้านของเราเริ่มกลายเป็นสำนักงานบรรณาธิการแห่งแรก เขาสั่งทำตู้ไม้ติดผนังมีช่องเล็กๆ 54 ช่อง สำหรับเรียงข้อความยกอ้าง ซึ่งในที่สุดมีมากถึง 1 แสนข้อความ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1861 ตัวอย่างหน้าแรกของพจนานุกรมก็ตีพิมพ์ออกมา และต่อมาในเดือนเดียวกันนั้น โคเลอริดจ์ซึ่งมีอายุเพียง 31 ก็เสียชีวิตเนื่องจากวัณโรค
ต่อมางานบรรณาธิการจึงตกแก่เฟอร์นิวอลล์ ซึ่งเขามีความขยันขันแข็งเป็นอย่างยิ่ง และยังมีความรู้มาก แต่ยังขาดความอดทนสำหรับโครงการระยะยาวเช่นนี้ การเริ่มต้นอย่างมีพลังของเขานั้นมีผู้ช่วยจำนวนมากคอยคัดเลือกข้อความ และมีแผ่นบันทึกข้อความจากผู้อ่านมีน้ำหนักถึง 2 ตัน และยังมีวัสดุรูปแบบอื่นๆ ส่งมายังบ้านของเขาอีก และมีหลายกรณีที่ส่งไปยังผู้ช่วยของเขา แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน หลายปี โครงการก็เริ่มแผ่วลง เฟอร์นิวอลล์เริ่มขาดการติดต่อกับผู้ช่วยของเขา และบางคนก็เข้าใจว่าโครงการนั้นถูกทอดทิ้งไป บางคนก็เสียชีวิต และข้อความในแผ่นกระดาษก็ไม่ได้ถูกส่งกลับ แผ่นบันทึกข้อความยกอ้างทั้งหมดที่เริ่มต้นด้วยอักษรเอช (H) ภายหลังพบที่ ทัสคานี แผ่นอื่นๆ ถูกมองว่าเป็นกระดาษเสีย และัเผาทิ้งไปก็มี
ในทศวรรษ 1870 เฟอร์นิวอลล์ก็ขอความช่วยเหลือจากเฮนรี สวีต และเฮนรี นิโคล เพื่อทำงานนี้ต่อ แต่ก็ไม่เป็นผล แต่ต่อมาเจมส์ เมอเรย์ (James Murray) ก็ตกลงรับตำแหน่งดังกล่าว

บรรณาธิการรุ่นแรก
ในขณะเดียวกัน สมาคมดังกล่าวก็เริ่มติดต่อเรื่องการพิมพ์ ซึ่งในเวลานั้นเห็นชัดแล้วว่า งานดังกล่าวจะเป็นหนังสือขนาดใหญ่มหึมาได้ มีการติดต่อผู้จัดพิมพ์จำนวนมากในระยะเวลาหลายปี ไม่ว่าจะเพื่อตีพิมพ์หน้ากระดาษตัวอย่าง หรือเพื่อการตีพิมพ์ทั้งเล่ม แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นตกลงว่าจ้างแต่อย่างใด และในบรรดาผู้จัดพิมพ์เหล่านี้ ก็คือ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
ในที่สุด ปี ค.ศ. 1879 หลังจากต่อรองอยู่สองปี กับสวีต และเฟอร์นิวอลล์ และเมอร์เรย์ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดก็ตกลงที่จะจัดพิมพ์ ไม่เฉพาะพจนานุกรมเท่านั้น แต่จะจ่ายเงินให้แก่เมอร์เรย์ (ซึ่งในเวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมอักษรศาสตร์) เป็นเงินเดือนค่าบรรณาธิการด้วย พวกเขาหวังว่างานนี้คงจะสำเร็จในอีก 10 ปีข้างหน้า
นับว่าเมอร์เรย์นั่นเอง เป็นผู้ปัดฝุ่นโครงการนี้ขึ้นมา และสามารถที่จะดำเนินการไปสู่การปฏิบัติจริง ส่วนสถานที่ทำงานนั้นเขาจึงไม่เลือกใช้บ้านของเขา (ในเมืองมิลล์ ฮิลล์ ชานกรุงลอนดอน) เป็นที่ทำงาน เนื่องจากเขามีลูกหลายคน แต่เขาได้สร้างอาคารอีกหลังหนึ่งต่างหากสำหรับเ้ป็นที่ทำงานของเขาและผู้ช่วย เขาเรียกอาคารนี้ว่า สคริปทอเรียม (Scriptorium) ซึ่งหมายถึง ที่เก็บต้นฉบับ นั่นเอง โดยมีตู้ไม้เป็นช่องๆ 1,029 ช่อง และชั้นวางหนังสือจำนวนมาก
ในตอนนี้เมอร์เรย์เริ่มค้นหา และรวบรวมแผ่นบันทึกที่เฟอร์นิวอลล์เคยทำไว้เรียบร้อยแล้ว แต่เขาพบปริมาณไม่มากพอ เพราะผู้อ่านเน้นไปที่คำหายาก และคำที่น่าสนใจ เขามีข้อความของคำว่า "abusion" มากกว่า "abuse" ถึง 10 เท่า ด้วยเหตุนี้ เขาจึงประกาศสร้างแรงจูงใจอย่างใหม่้แก้ผู้อ่าน ซึ่งตีพิมพ์อย่างกว้างขวางในหนังสือพิมพ์ รวมทั้งเผยแพร่ในร้านหนังสือและห้องสมุดต่างๆ ในคราวนี้ ผู้อ่านถูกขอร้องอย่างชัดเจนให้รายงาน "การคัดข้อความคำธรรมดาให้มากที่สุด เท่าที่คุณจะทำได้" และรวมทั้งคำที่ดูเหมือนว่า "ไม่ค่อยได้ใช้ เลิกใช้ คำเก่า คำใหม่ คำแปลก หรือคำเฉพาะทาง" เมอร์เรย์ได้ติดต่อนักอักษรศาสตร์ชาวเพนน์ซิลเวเนีย ชื่อ ฟรานซิส มาร์ช (Francis March) ให้มาจัดการกระบวนการดังกล่าวในอเมริกาเหนือ และไม่ช้า ก็มีการส่งข้อความมายังสคริปทอเรียม วันละ 1,000 ชิ้น และในปี 1882 มีข้อความมากถึง 3,500,000 แผ่น
ในที่สุดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1884 (นับเป็นเวลา 23 ปีหลังจากตีพิมพ์ตัวอย่างหน้าแรกของโคเลอริดจ์) ก็ได้ตีพิมพ์ส่วนแรก (fascicle) ของพจนานุกรมฉบับจริงขึ้น ในตอนนี้ชื่อเต็มของพจนานุกรมนี้คือ พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับใหม่ อิงหลักการเชิงประวัติ; จัดทำจากเอกสารที่รวบรวมโดยสมาคมอักษรศาสตร์เป็นหลัก (A New English Dictionary on Historical Principles; Founded Mainly on the Materials Collected by The Philological Society) ในการตีพิมพ์ครั้งนี้ มีด้วยกัน 352 หน้า เริ่มตั้งแต่คำที่ขึ้นต้นด้วยอักษร "A" จนถึง "Ant" โดยมีราคา 12 ชิลลิง 6 เพนนี (เทียบปัจจุบัน คือ 62.5 เพนนี) โดยมียอดขายทั้งหมดเพียง 4,000 เล่มเท่านั้น
ตอนนี้ปรากฏชัดแล้ว ว่า สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดคงจะัใช้เวลานานมาก จึงจะทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ หากยังไม่ได้แก้ไขปรับปรุงงานบรรณาธิการ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการสนับสนุนเงินทุนเพิ่มเติมสำหรับผู้ช่วย แต่ได้ก็ผลตอบแทนใหม่สองอย่างแก่เมอร์เรย์ อย่างแรกคือ ให้เขาย้ายจากมิลล์ ฮิลล์ มายังเมืองออกซฟอร์ด ซึ่งเขาตกลงย้ายใน ค.ศ. 1885 และเมื่อมาถึงออกซฟอร์ด เขาก็ได้สร้างสคริปทอเรียมขึ้นอีก ในที่ดินของเขา (และเพื่อไม่ให้เพื่อนบ้านลำบากใจ เขาจึงสร้างอาคารลงใต้ดินครึ่งชั้น) และสำนักงานไปรษณีย์ออกซฟอร์ด ก็ได้ติดตั้งตู้ไปรษณีย์กลมแบบใหม่ ที่หน้าบ้านของเขาพอดี
เมอร์เรย์ไม่ยอมตามคำขอประการที่สองอีก นั่นคือ หากเขาไม่สามารถทำตามแผนงานที่ต้องการได้ เขาจะต้องว่าจ้างบรรณาธิการอาวุโสคนที่สอง เพื่อทำงานคู่ขนนานกัน โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมดูแลของเขา เขาไม่อยากแบ่งกับคนอื่น และรู้สึกว่าในที่สุดแล้ว เมื่อเขามีประสบการณ์ งานก็จะเร็วกว่านี้ แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น และในที่สุด ฟิลิป เจลล์ แห่งสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดก็ทำให้เขาต้องยอมตาม กล่าวคือ เฮนรีย์ แบรดลีย์ ซึ่งเมอร์เรย์เคยจ้างเป็นผู้ช่วยเมื่อ ค.ศ. 1884 ก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง และเริ่มทำงานโดยอิสระใน ค.ศ. 1885 ในห้องทำงานหนึ่ง ในพิพิํธภัณฑ์บริติชมิวเซียม ในกรุงลอนดอน และใน ค.ศ. 1896 แบรดลีย์ก็ย้ายมายังออกซฟอร์ดเช่นกัน โดยทำงานที่ในมหาวิทยาลัย
เจลล์เริ่มทำให้บรรณาธิการทั้งสองอึดอัดใจ กับเป้าหมายทางการค้่าจากต้นทุนและการผลิตที่รวดเร็ว จนไปถึงจุดที่โครงการดูเหมือนจะล้ม แต่เมื่อมีการตีพิมพ์รายงานดังกล่าว ก็เริ่มมีความคิดเห็นจากสาธารณชนกลับมายังบรรณาธิการ จากนั้นเจลล์ก็ล้มเลิกความคิดดังกล่าว และมหาวิทยาลัยก็ยกเลิกนโยบายเกี่ยวกับต้นทุนของเขา หากบรรณาธิการรู้สึกว่าพจนานุกรมนี้จะเติบโตใหญ่กว่าที่ตนเคยมีส่วนร่วม ก็ต้องทำ เพราะมันเป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้ทั้งเวลาและเงินทุนอย่างพอเพียงจึงจะสำเร็จลงได้
แต่ไม่ว่้าเมอร์เรย์ หรือแบรดลีย์ ก็ไม่ได้อยู่ดูความสำเร็จของงานดังกล่าว เมอร์เรย์นั้นเสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1915 โดยได้รับผิดชอบคำศัพท์ ตั้งแต่ A-D, H-K, O-P และ T หรือเกือบครึ่งของพจนานุกรมเล่มสมบูรณ์ ส่วนแบรดลีย์นั้นเสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1923 รับผิดชอบคำศัพท์ ตั้งแต่ E-G, L-M, S-Sh, St และ W-We แต่ในตอนนี้บรรณาธิการเสริมสองคน ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง จากผู้ช่วย เป็นบรรณาํิืธิการ ทำงานอิสระต่อกัน ทำให้งานดำเนินต่อไปโดยไม่มีปัญหามากนัก ทั้งนี้ วิลเลียม เครกี (William Craigie) ได้เริ่มงานเมื่อ ค.ศ. 1901 รับผิดชอบตั้งแต่ N, Q-R, Si-Sq, U-V และ Wo-Wy ขณะที่สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดนั้น เคยรู้สึกว่าลอนดอนไกลจากออกซฟอร์ดเกินไป สำหรับให้บรรณาธิการทำงานที่นั่น แต่หลัง ค.ศ. 1925 เครกีได้ทำงานพจนานุกรมนี้ในเมืองชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเขาได้ืำงานตำแหน่งศาสตราจารย์ที่นั่น สำหรับบรรณาธิการคนที่สี่ คือ ชาลส์ แทลบัต อันยันส์ เริ่มทำงานเมื่อ ค.ศ. 1914 ครอบคลุมส่วนที่เหลือทั้งหมด คือ ตั้งแต่ Su-Sz, Wh-Wo และ X-Z

งานส่วนแรก
เดิมมีการวางแผนที่จะตีพิมพ์พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับใหม่นี้ เป็น 10 เล่มชุด (Volume) โดยเริ่มตั้งแต่ A, C, D, F, H, L, O, Q, Si และ Ti แต่เมื่อโครงการดำเนินไป เล่มชุดต่อมาเริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และขณะที่ฉบับพิมพ์สมบูรณ์อย่างเป็นทางการ ปี 1928 ยังคงเรียงหมายเลขตามที่เจตนาเอาไว้ เล่มชุดที่ 9 และ 10 กลับต้องตีพิมพ์เป็นชุดละสองเล่ม โดยแยกที่ Su และ V ตามลำดับ เป็นอันว่าพจนานุกรมทั้งชุดนี้ ตีพิมพ์รวม 20 เล่มชุด โดยเลือกเย็บเล่มสองแบบ ราคา 55 หรือ 55 กีนี (52.50 หรือ 57.75 ปอนด์) ขึ้นกับรูปแบบและการเย็บเล่ม
นับเป็นเวลา 44 ปี ตั้งแต่เริ่มตีพิมพ์คำศัพท์ A-Ant และแน่นอนว่า ภาษาอังกฤษก็มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในเวลานี้ พจนานุกรมชุดแรกๆ จึงล้าสมัยอย่างชัดเจน ทางแก้ปัญหาสำหรับคณะทำงานเดิมในเวลานั้นก็คือ ออกชุดเสริมพิเศษ (Supplement) ขึ้น โดยเรียงลำดับคำทั้ง หมด และควสามหมายที่เปลี่ยนแปลง นับตั้งแต่หน้านั้นๆ ตีพิมพ์เป็นครั้งแรก การทำงานดังกล่าวทำให้มีโอกาสแก้ไขความผิดพลาด หรือข้อบกพร่องต่างๆ ที่พบ สำหรับค่าใช้จ่ายของฉบับปี 1928 นั้น ตกลงได้ว่าจะทำฉบับเสริมพิเศษนี้แถมฟรีไปกับฉบับหลัก
พจนานุกรมฉบับเสริมพิเศษนี้ จัดทำโดยบรรณาธิการสองคนเช่นเดิม โดยทำงานคู่ขนานกัน ในเวลานี้ เครกีซึ่งทำงานอยู่ในสหรัฐอเมริกา ก็ทำการวิจัยส่วนใหญ่เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน นอกจากนี้ยังแก้ไขคำศัพท์หมวด L-R และ U-Z ขณะที่อันยันส์แก้ไขหมวด A-K และ S-T งานทั้งหมดนี้ใช้เวลาอีก 5 ปีจึงสำเร็จ
ในปีั 1933 มีการตีพิืมพ์พจนานุกรมทั้งชุดอีกครั้ง ตอนนี้ใช้ชื่อเป็นทางการว่า พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary) เป็นครั้งแรก การตีพิมพ์เล่มชุึดหลังจาก 6 ชุดแรกนั้นถูกปรับให้มีขนาดเท่าๆ กัน เพื่อจะได้ไม่ต้องมีชุดที่ตีพิมพ์สองเล่มอีก พจนานุกรมหลักในตอนนี้จึงมีทั้งหมด 12 เล่ม เรียงตามลำดับ ดังนี้ A, C, D, F, H, L, N, Poyesye, S, Sole, T และ V ส่วนฉบับเสริมพิเศษจัดไว้เป็นเล่มที่ 13 โดยตั้งลดราคาเหลือ 20 กีนี (21 ปอนด์)

ฉบับพิมพ์ครั้งแรก และฉบับพิมพ์เสริมครั้งแรก
ในปี 1933 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้พักเรื่องพจนานุกรมเอาไว้ชั่วคราว งานทั้งหมดสิ้นสุด แผ่นบันทึกคำศัพท์ถูกนำไปจัดเก็บ แต่แน่นอนว่าภาษาอังกฤษนั้นยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี พจนานุกรมก็ล้าสมัยเสียแล้ว
มีหนทางเป็นไปได้ 3 ทางที่จะปรับปรุงพจนานุกรมให้ทันสมัย วิธีที่ประหยัดที่สุด คือ เก็บไว้เฉพาะคำที่ใช้ในปัจจุบัน และรวบรวมฉบับเสริมพิเศษใหม่ ซึ่งอาจจุคำศัพท์ 1-2 เล่ม แต่สำหรับคนที่ต้องการหาคำ หรือความหมาย และไม่แน่ใจเกี่ยวกับอายุของคำ ก็จะต้องมองหาจากพจนานุกรมถึง 3 ที่ด้วยกัน มิฉะนั้นก็รวมฉบับเสริมพิเศษที่มีอยู่กับข้อมูลใหม่ เป็นฉบับเสริมพิเศษที่ใหญ่ขึ้น สำหรับหนทางที่สะดวกที่สุดสำหรับผู้ใช้พจนานกรม ก็น่าจะเป็นการใช้พจนานุกรมชุดเดียว มาปรับปรุงแก้ไขใหม่ และเรียงพิมพ์ใหม่ โดยการเปลี่ยนแปลงแต่ละอย่างนั้น จะรวมในตำแหน่งที่เหมาะสมตามลำดับอักษร แต่ก็แน่นอนว่าวิธีนี้คงจะแพงที่สุด และอาจตีพิมพ์ทั้งหมด 15 เล่มชุดด้วยกัน
สุดท้ายสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดก็เลือกทางสายกลาง คือ ผลิตฉบับเสริมพิเศษขึ้นใหม่ ทั้งนี้มีการว่าจ้างโรเบิร์ต เบิร์ชฟีลด์ (Robert Burchfield) ในปี 1957 ให้มาเป็นบรรณาธิการ ส่วนชาลส์ แทลบัต อันยันส์ ซึ่งเวลานั้นอายุ 84 ปีแล้ว ก็ยังคงทำงานบางส่วนอยู่ด้วย งานทั้งหมดนี้คาดว่าจะใช้เวลา 7-10 ปีด้วยกัน แต่เมื่อทำจริงปรากฏว่าใช้เวลาถึง 29 ปี เมื่อสำเร็จ ฉบับเสริมพิเศษชุดใหม่โตขึ้นเป็น 4 เล่ม เริ่มตั้งแต่ A, H, O และ Sea มีการทยอยตีพิมพ์ ในปี 1972, 1976, 1982 และ 1986 ตามลำดับ ทำให้พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์มีจำนวนเล่มถึง 16 เล่ม (หรือ 17 เล่ม หากรวมฉบับเสริมพิเศษชุดแรกด้วย)
อย่างไรก็ตาม ในคราวนี้ ข้อความในพจนานุกรมทั้งหมดมีการบันทึกในคอมพิวเตอร์ และจัดระบบออนไลน์ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่่าวต้องมีการเรียงพิมพ์ใหม่อีกครั้ง แต่คราวนี้สามารถสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์ได้ และเมื่อใดต้องการจัดพิมพ์พจนานุกรมฉบับใหม่ ก็จะเริ่มต้นด้วยการรวมเอาฉบับเสริมพิเศษ และพจนานุกรมเข้าไว้ด้วยกัน
และนับแต่นั้น โครงการ "พจนานุกรมภาษาอังกฤษใหม่ ฉบับออกซฟอร์ด" (New Oxford English Dictionary; NOED) ก็เริ่มต้นขึ้น การเรียงพิมพ์ข้อความอย่างเดียวนั้นไม่พอเพียง ข้่อมูลทั้งหมดถูกแทนด้วย typography ที่ซับซ้อน จากพจนานุกรมเดิมที่จะต้องคงไว้ ซึ่งสำเร็จด้วยการกำหนดเนื้อหาใน SGML และโปรแกรมสืบค้น (search engine) พิเศษ และยังมีซอฟต์แวร์แสดงผลเพื่อการเข้าถึงเนื้อหาอีกด้วย ในสัญญาปี 1985 ซอฟต์แวร์บางตัวได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูในแคนาดา ที่ ศูนย์พจนาุนุกรมอังกฤษใหม่ ฉบับออกซฟอร์ด (Centre for the New Oxford English Dictionary) หัวหน้าคณะคือแฟรงค์ วิลเลียม ทอมปา (Frank William Tompa) และแกสตน กอนเน็ต (Gaston Gonnet) เทคโนโลยีการสืบค้นนี้จะนำไปสู่การใช้งานเป็นพื้นฐานสำหรับ Open Text Corporation ทั้งนี้บริษัทลูกของไอบีเอ็มในอังกฤษได้บริจาคฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล และซอฟต์แวร์อื่นๆ ให้ และีบรรณาธิการควบคุมระบบสีสำหรับโครงการนี้ด้วย LEXX เขียนโดย ไมค์ คาวลิชอ (Mike Cowlishaw]] แห่งไอบีเอ็ม
ในปี 1989 โครงการ NOED ก็บรรจุเป้าหมายเบื้องต้น และบรรณาธิการ (เอดมันด์ ไวเนอร์ และ จอห์น ซิมป์สัน) ซึ่งงานแบบออนไลน์ ก็ประสบความสำเร็จในการรวมข้อความเดิม ฉบับเสริมพิเศษของเบอร์ชฟีลด์ และข้อมูลใหม่อีกจำนวนหนึ่ง มารวมพจนานุกรมฉบับรวมเล่มเดียว คำว่า "ใหม่" ในที่นี้ถูกตัดทิ้งไปจากชื่ออีกครั้ง และในที่สุดก็ตีพิมพ์ฉบับที่สอง หรือ OED2 ขึ้น (ดังนั้น ฉบับแรก จึงเรียกย่อๆ ว่า OED1)
พจนานุกรม OED2 นี้ตีพิมพ์เป็น 20 เล่มชุึด นับเป็นครั้งแรกที่ไม่ต้องเริ่มต้นจากขอบเขตของตัวอักษร และสามารถตีพิมพ์ให้มีขนาดใกล้เคียงกันได้ พจนานุกรมทั้งหมด 20 เล่มนั้น เรียงลำดับดังนี้ A, B.B.C., Cham, Creel, Dvandra, Follow, Hat, Interval, Look, Moul, Ow, Poise, Quemadero, Rob, Ser, Soot, Su, Thru, Unemancipated และ Wave
แม้ว่าเนื้อหาของ OED2 ่ส่วนใหญ่จะเป็นการปรับรื้อเนื้อหาจากรุ่นก่อนๆ แต่การเรียงพิมพ์ใหม่ก็ถือว่าได้สร้างโอกาสที่ดีสำหรัยบการเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่ต้องการในระยะยาว 2 อย่าง นั่นคือ คำหลัก ของแต่ละรายการนั้น ไม่ต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่อีกตอ่ไป ทำให้ผู้ใช้พจนานุกรมเห็นคำศัพท์ที่ต้องการอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ได้สะดวก และขณะที่เมอร์เรย์ได้ประดิษฐ์เครื่องหมายการออกเสียงของเขาเองเอาไว้ แต่ก็ไม่เป็นมาตรฐาน พจนานุกรมฉบับ OED2 จึงใช้สัทอักษรสากลที่ใช้ในปัจจุบันแทน
สำหรับเนื้อหาใหม่จะตีพิมพ์ไว้ใน พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ชุดเสริมพิเศษ (Oxford English Dictionary Additions Series) เป็น 2 เล่มชุดเล็ก ในปี 1993 และพิมพ์ครั้งที่ 3 ในปี 1997 ทำให้พจนานุกรมทั้งหมดมีด้วยกัน 23 เล่ม ชุดเสริมพิเศษแต่ละชุดจะมีนิยามศัพท์ใหม่เพิ่มประมาณ 3,000 คำ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแผนที่จะทำเล่มชุดเพิ่ม และคาดว่าคงจะไม่มีการพิมพ์ครั้งที่ 3 (หรือ OED3) เป็นแบบงานส่วนแรก อย่างที่เคยทำมาในอดีตอีก

ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง และฉบับเสริมพิเศษชุดที่สอง
ขณะเดียวกัน ในปี 1971 ก็มีการตีพิมพ์ซ้ำเนื้อหาเต็มของ OED1 ฉบับ 13 เล่มชุดจาก ปี 1933 เป็นฉบับกะทัดรัด (Compact Edition) เป็น 2 เล่มชุึด ทั้งนี้อาศัยการถ่ายย่อจากฉบับเดิมเหลือ 1/2 จากมิติระนาบ ทำให้ 4 หน้าเดิมจุได้ใน 1 หน้าใหม่ พจนานุกรมฉบับกะทัดรัด 2 เล่มชุดนี้ เริ่มต้นด้วยหมวดอักษร A และ P โดยมีฉบับเ้สริมพิเศษเพิ่มไว้ที่ด้านหลังของเล่ม 2
พจนานุกรมฉบับกะทัดรัดจัดจำหน่ายใส่กล่องเรียบร้อย เป็นลิ้นชักขนาดเล็ก พร้อมแว่นขยาย เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถอ่านตัวพิมพ์ที่มีขนาดเล็กจิ๋วได้ (ขนาดกะทัดรัดนั้น แม้คนที่สายตาดี ก็แทบจะอ่านด้วยตาเปล่าได้ไม่ชัด) มีการขายฉบับกะทัดรัดนี้ได้เป็นจำนวนมากโดยผ่านสโมสรหนังสือ ซึ่งจัดจำหน่ายในราคาย่อมเยา เป็นสินค้าพิเศษสำหรับสมาชิก
ในปี 1987 มีการตีพิมพ์ฉบับเสริมพิเศษ ชุดที่สอง เป็นเล่มที่ 3 รวมอยู่ในชุดกะทัดรัดดังกล่าว และในปี 1991 พจนานุกรม OED2 ก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบของฉบับกะทัดรัดเป็น ⅓ ของขนาดเดิม (ในเชิงระนาบ) คือ 9 หน้าเดิม เท่ากับ 1 หน้าใหม่ ทำให้ไม่สามารถอ่านด้วยตาเปล่าได้เลย ต้องอาศัยแว่นขยายเท่านั้น โดยตีพิมพ์เป็น 1 เล่มเดี่ยวเป็นครั้งแรก แม้แต่จะมีการตีพิมพ์ฉบับกะทัดรัดจิ๋วแล้ว สโมสรหนังสือทั้งหลายก็ยังเสนอขายรุ่นกะทัดรัด 2 เล่มชุด ปี 1971 แบบเดิมอย่างต่อเนื่องโดยทั่วไป ทั้งนี้มักปรากฏข้อความชมเชยว่าฉบับพิมพ์กะรัดทัด 2 เล่มชุดนั้น อ่านง่ายกว่า (ขนาดตัวอักษรใหญ่กว่า) และสะดวกกว่า (เล่มเล็กกว่า) นอกจากนี้คุณภาพของกล่องก็ดี และมีแว่นขยายให้ด้วย

ฉบับกะทัดรัด
ถึงตอนนี้ ข้อความทั้งหมดของพจนานุกรมถูกแปลงเป็นดิจิตอลและออนไลน์แล้ว และยังมีการจัดทำฉบับซีดีรอมด้วย โดยมีทั้งหมด 3 รุ่นหรือเวอร์ชัน ด้วยกัน รุ่น 1 (1992) เนื้อหาตรงกับฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 และในแผ่นซีดีเองนั้นก็ไม่ป้องกันการคัดลอก ส่วนรุ่น 2 (1999) มีการเพิ่มเติมเล็กน้อย และใช้ซอฟต์แวร์ที่ปรับปรุงใหม่ พร้อมความสามารถสืบค้นที่ดีขึ้น แต่มีการป้องกันการคัดลอก ทำให้ใช้งานยาก และโปรแกรมยังปฏิเสธการใช้ของเจ้าหน้าที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอรืด ในระหว่างการสาธิืตสินค้าด้่วย รุ่น 3 (2002) มีคำศัีพท์เพิ่มเติม และปรับปรุงซอฟต์แวร์ด้วย แต่ยังมีการป้องกันการคัดลอก และใช้งานได้เฉพา่ะกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของไมโครซอฟท์เท่านั้น
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000 "พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ออนไลน์" (Oxford English Dictionary Online; OED Online) ก็มีจำหน่ายแก่สมาชิก ฐานข้อมูลออนไลน์ประกอบด้วยพจนานุกรม OED2 ทั้งหมด และยังปรับปรุงแก้ไขถึง 1/4 ซึ่งจะรวมอยู่ใน OED3 (ดูข้างล่าง) ฉบับออนไลน์นี้ถือเป็นพจนานุกรมฉบับที่ทันสมัยที่สุดที่มีอยู่
สำหรับราคาการใช้บริการส่วนบุคคลของพจนานุกรมฉบับออนไลน์นี้ แม้จะลดแล้วในปี 2004 ก็ยังอยู่ในอัตรา 195 ปอนด์ หรือ 295 ดอลลาร์ ต่อปี ผู้สมัครเป็นสมาชิกส่วนใหญ่คือองค์กรขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย ผู้ใหญ่บางรายจะไม่ใช้พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่จะดาวน์โหลดฐานข้อมูลทั้งหมดโดยถูกกฎหมายลงมายังคอมพิวเตอร์ขององค์กรนั้นๆ
ในปี 2004 มีการนำเสนอวิธีการจ่ายเงินที่น่าสนใจมากกว่าเดิมเล็กน้อย นั่นคือ เสนอให้ผู้ใช้ในประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ มีโอกาสจ่ายเงิน 29.95 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เพื่อเข้าใช้งานออนไลน์ ทำให้ผู้ที่ไม่ค่อยได้เข้าใช้ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากพอสมควร

รุ่นอิเล็กทรอนิกส์
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 (OED3) เป็นงานที่ตั้งใจจะใช้คอมพิวเตอร์ทำเกือบทั้งหมด ใน ค.ศ. 2005 จอห์น ซิมป์สัน เป็นบรรณาธิการใหญ่ เนื่องจากงานชิ้นแรกของบรรณาธิกา่รแต่ละคนมีแนวโน้มที่ต้องกาีรการปรับปรุงมากกว่าผลของเขาในสมัยก่อน ซึ่งมีความสมบูรณ์เ้รียบร้อยกว่า จึงต้องมีการถ่วงดุลปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยการเริ่มทำงานตั้งแต่เนิ่นๆ และอาจเป็นงานที่อาจปรับปรุงจากอักษรอื่นก่อน แทนที่จะเริ่มด้วยอักษร A
ด้วยเหตุนี้ งานหลักของ OED3 จึงดำเนินไปตามลำดับจากอักษร M เมื่อมีการเผยแพร่ OED ฉบับออนไลน์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000 มีชุดแรกของรายการที่แก้ไแล้ว (ระุบุโดยทางการว่าเป็นรายการฉบับร่าง) ที่ขยายมาจาก M จนถึง mahurat และข้อความส่วนที่ต่อเนื่องไปจะเผยแพร่สามเดือนครั้ง เมื่อถึงเดือนมีนาคา ค.ศ. 2006 ส่วนปรับปรุงแก้ไขก็คืบหน้าไปถึงคำที่เริ่มต้นด้วย pi เมื่องานชิ้นใหม่สำเร็จลงในคำศัพท์ในส่วนอื่นๆ ก็จะมีการเผยแพร่คราวละสามเดือนเช่นกัน
เนื้อหาใหม่นี้จะอ่านได้จาก OED Online (โดยการสมัครสมาชิก หรือจากห้องสมุดที่ให้บริการนี้) หรือจากฉบับซีดีรอม ที่มีการปรับข้อมูลเป็นระยะสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่า OED3 คงจะไม่มีการตีพิมพ์เป็นเล่มชุดแบบเดิม แต่จะหาซื้อได้จากสื่อคอมพิวเตอร์เท่านั้น ประเด็นนี้จะเป็นการตัดสินใจอีกครั้งในอนาคต เมื่อการปรับปรุงแก้ไขใกล้เสร็จสมบูรณ์
แน่นอนว่า การผลิตพจนานุกรมฉบับพิมพ์ครั้งใหม่จริงๆ นั้น จะใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2005 มีการใช้แอปลิเคชั่น "Perfect All-Singing All-Dancing Editorial and Notation Application" หรือ Pasadena และด้วยระบบที่ใช้ XML นี้ ความสนใจของนักทำพจนานุกรม อาจอยู่ที่เนื้อหา มากกว่าประเด็นการนำเสนอ เช่น การกำหนดหมายเลขของนิยาม ระบบใหม่นี้ยังทำให้ใช้ฐานข้อมูลข้อความอ้างอิงให้ง่ายลง และทำให้เจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ในนิวยอร์กได้ทำงานโดยตรงกับพจนานุกรมในลักษณะเดียวกับผู้ร่วมงานในออกซฟอร์ด
การใ้ช้งานคอมพิวเตอร์ที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ การสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อหาหลักฐานการใ้ช้ในปัจจุบัน และการรับข้อความจากผู้อ่านและสาธารณะทั่วไปโดยผ่านอีเมล

พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด การสะกด

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเคยทำงานเป็นพนักงานของ OED (พนักงานวิจัยในช่วงคำ Waggle ถึง Warlock) และนำบุคลิกของบรรณาธิการหลัก 4 คน มาเป็นตัวละคร "The Four Wise Clerks of Oxenford" ในเรื่อง Farmer Giles of Ham ของเขา
วิลเลียม เชกสเปียร์ เป็นบุคคลที่ถูกอ้างถึงมากที่สุด
ไบเบิ้ลฉบับต่างๆ ถูกอ้างถึงมากที่สุด ส่วนงานชิ้นเดียวที่ถูกอ้างถึงมากที่สุด คือ "Cursor Mundi"
คำที่มีรายการยาวที่สุดในพจนานุกรมนี้ คือ กริยา set โดยบรรยายไว้ถึง 430 ความหมาย หรือลักษณะใช้งาน นิยามไว้ยาวถึงประมาณ 60,000 คำ

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์
ภูมิสถาปัตยกรรม (อังกฤษ: landscape architecture) อ่านออกเสียงว่า "พู-มิ-สะ-ถา-ปัด-ตะ-ยะ-กัม" เป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการออกแบบวางแผน การอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ใช้สอยภายนอกอาคาร รวมทั้งพื้นที่บางส่วนภายในหรือบนดาดฟ้าอาคารเพื่อความผาสุข สวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน

ลักษณะโดยรวม
นักออกแบบภูมิทัศน์และวิศวกรสำรวจ เกี่ยวข้องกับการทำสวน และ/หรือ การออกแบบปลูกต้นไม้ และการสรรค์สร้างพื้นที่สีเขียวกลางแจ้งทุกประเภท บุคคลเหล่านี้ทำงานภาครัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น บางคนอาจทำงานภาคเอกชนหรือทำงานอิสระ รับเป็นที่ปรึกษาส่วนราชการ อุตสาหกรรม พาณิชกรรมและเอกชนรายบุคคล ผู้จัดการภูมิทัศน์ ใช้ความรู้ด้านวัสดุพืชพรรณและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในการให้คำแนะนำในการดูแลรักษาระยะยาวและในการพัฒนาภูมิทัศน์ บุคคลเหล่านี้ทำงานเกี่ยวกับพืชสวน การจัดการสถานที่ ป่า การอนุรักษ์ธรรมชาติและเกษตรกรรม นักวิทยาศาสตร์ภูมิทัศน์ มีทักษะพิเศษเช่น ปถพีวิทยา อุทกวิทยา ภูมิสัณฐาน หรือพฤกษศาสตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาในงานภูมิทัศน์ งานของบุคคลเหล่านี้อาจไล่ตั้งแต่การสำรวจบริเวณไปจนถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมของบริเวณขนาดใหญ่เพื่อการวางแผนหรือการจัดการ และอาจทำรายงานผลกระทบในโครงการพัฒนาหรือในความสำคัญเฉพาะของพรรณไม้หรือสัตว์บางชนิดในพื้นที่ นักวางแผนภูมิทัศน์ เกี่ยวข้องและดูแลในด้านตำแหน่งที่ตั้ง วิวทิวทัศน์ นิเวศวิทยาและการใช้ที่ดินในเชิงนันทนาการของเมือง ชนบท และพื้นที่ชายฝั่ง งานที่บุคคลกลุ่มนี้ทำรวมถึงการเขียนรายงานด้านนโยบายและยุทธวิธี และลงท้ายด้วยการส่งผังรวมสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ การประเมินและและประมาณค่าพร้อมทั้งการจัดทำแผนการจัดการเพื่อนำไปใช้ในการทำแผนนโยบาย บางคนอาจมีสร้างสมความชำนาญเฉพาะเพิ่มเติม เช่น งานภูมิทัศน์โบราณคดี หรือกฎหมายที่เกี่ยวของกับภูมิทัศน์

ความชำนาญเฉพาะในงานภูมิสถาปัตยกรรม
มนุษยชาติทั่วโลกต่างก็ได้สร้างสวนมานานนับสหัสวรรษ สวนญี่ปุ่น และสวนสวรรค์เปอร์เซีย สวนสวรรค์เหล่านี้นับเป็นตัวอย่างของสวนประเพณีโบราณ สวนลอยบาบิโลนสร้า้งโดยพระเจ้าเนบูชาดเนสซาที่ 2 ประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล ในยุโรป เรนาซองส์ได้นำมาซึ่งยุคแห่งการออกแบบที่ยิ่งใหญ่ รวมทั้งสวนเพื่อความปีติต่างๆ เช่น วิลลา เดอเอสเต ที่ ทิโวลิ สวนเรนาซองส์ที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 (พ.ศ. 2043-2243) ได้บรรลุถึงขีดสูงสุดแห่งความยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นผลงานของ อังเดร เลอ โนตร์ ณ วัว เลอ วิกกอง และ แวร์ซาย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ระหว่าง พ.ศ. 2244-2343) อังกฤษเริ่มเน้นสไตล์ใหม่ของ "สวนภูมิทัศน์" บุคคล เช่น วิลเลียม เคนท์ ฮัมฟรีย์ เรพตัน รวมทั้งโจเซฟ แพกซ์ตัน และผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดอีกคนหนึ่งคือ ลานเซลอต บราวน์ "ผู้สามารถ" ได้แปรเปลี่ยนอุทยานคฤหาสที่ยิ่งใหญ่ของอังกฤษให้กลายเป็นธรรมชาติที่เรียบและสะอาดงดงาม อุทยานเหล่านี้ยังคงเหลือให้ชมในปัจจุบันหลายแห่ง คำว่าภูมิสถาปัตยกรรมในภาษาอังกฤษคือ "Landscape Architecture" ได้ถุกเรียกเป็นครั้งแรกโดยชาวสก็อตชื่อ กิลเบิร์ต เลง มีสัน ในหนังสือชื่อเรื่อง ภูมิสถาปัตยกรรมแห่งจิตรกรรมอันยิ่งใหญ่แห่งอิตาลี (ลอนดอน พ.ศ. 2371) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประเภทของสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในภาพเขียนภูมิทัศน์ คำว่า "ภูมิสถาปัตยกรรม" ได้รับการตอบรับนำมาใช้ต่อมาโดย เจซี ลูดอน และเอ.เจ. ดาวนิง สำหรับประเทศไทยเริ่มใช้คำว่า "ภูมิสถาปัตยกรรม" ประมาณ พ.ศ. 2498 เมื่อเริ่มมีการเปิดสอนวิชานี้ในชั้นปีที่ 3 ของหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฺฑิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเปิดสอนเป็นครั้งแรกโดยอาจารย์จันทรลดา บุณยมานพ ซึ่งจบปริญญาโทด้านภูมิสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา
ล่วงสู่คริสต์ศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2344-2443) การวางแผนชุมชนเมืองเริ่มมีบทบาทสำคัญโดยเป็นการผสมผสานระหว่างการวางแผนสมัยใหม่รวมกับสวนภูมิทัศน์ประเพณี ซึ่งทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมกลายเป็นจุดรวมสำคัญที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเองขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษ เฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตด ได้ออกแบบสวนสาธารณะหลายแห่งออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกลายเป็นผลที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมในยุคปัจจุบัน สวนสาธารณะดังกล่าวบางแห่งได้แก่ เซ็นทรัลปาร์ก ในนครนิวยอร์ก พรอสเป็กปาร์ก ใน บรุกลีน และในนครบอสตัน ที่ได้ชื่อเรียกกันว่า ระบบสวนสาธารณะ "สร้อยหยกเขียว"
ภูมิสถาปัตยกรรมได้พัฒนาตัวเองมาเป็นสาขาวิชาชีพการออกแบบเฉพาะ ได้สนองตอบต่อขบวนการออกแบบและสถาปัตยกรรมตลอดช่วงเวลาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2444-2543) ปัจจุบัน การค้นคิดสิ่งใหม่ๆ มีผลให้การแก้ปัญหาทางภูมิสถาปัตยกรรมในทางที่ก้าวหน้าขึ้นสำหรับในงานภูมิทัศน์ถนน สวนสาธารณะและอุทยาน ผลงานของ มาร์ธา ชวาท์ส ในสหรัฐฯ และในยุโรป เช่น ชูเบิร์กปลิน ในรอตเตอร์ดาม เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ

ประวัติ
ประวัติความเป็นมาของภูมิสถาปัตยกรรมของประเทศไทยไม่เป็นที่ชัดเจนนัก อาจเป็นด้วยหลักฐานทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีถูกทำลายในในสงครามไทย-พม่าที่กรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะเมื่อ พ.ศ. 2310 ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงสมัยสุโขทัยกล่าวไว้เพียงการปลูกต้นไม้เชิงเกษตรกรรมไว้เบื้องเหนือเบื้องใต้ มีกล่าวถึงตระพังหรือสวนน้ำไว้บ้างแต่ไม่พรรณนารูปแบบและความสวยงาม
บาทหลวงชาวฝรั่งเศสบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับสวนในสมัยพระนารายณ์มหาราชไว้พอควร ว่ามีชาวต่างประเทศนำพรรณไม้แปลกๆ มาถวาย และทรงลงมือทำสวนด้วยพระองค์เองในพระราชวังลพบุรี ไม่กล่าวถึงรูปแบบและความสวยงามที่มีนัยสำคัญไว้เช่นกัน
สมัยต้นรัตนโกสินทร์มีการนำรูปแบบสวนจีนมาสร้างในพระบรมมหาราชวังและวัดสำคัญ เรียกว่าเขามอ มีการสร้างสวนซ้ายสวนขวา เริ่มมีการสร้างสวนเพื่อความปีติในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสวนและมีรูปแบบของสวนปรากฏชัดเจนขึ้น มีการนำรูปแบบสวนยุโรปซึ่งกำลังผ่านความรุ่งเรืองของยุคเรนาซองส์ โดยมีนายช่างฝรั่งที่เข้ามารับราชการ เช่น นายเฮนรี อาลบาสเตอร์ หรือพระเศวตศิลา ต้นตระกูลเศวตศิลารวมทั้งคนอื่นๆ มาเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างสวนหลายแห่ง อุทยานสราญรมย์เป็นตัวอย่างสวนที่ยังหลงเหลือและได้รับการบูรณะให้สวยงามในปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอาจเป็นผู้ให้กำเนิดการผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรมเป็นพระองค์แรกก็ว่าได้ พระราชหัตถ์เลขาถึงเจ้าพระยาวรพงศ์ระหว่าง พ.ศ. 2444-2452 เป็นข้อพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่าพระองค์ทรงเชี่ยวชาญในงานทั้งสองสาขานี้อย่างไร ทรงรู้จักต้นไม้ พร้อมทั้งชื่ือและอุปนิสัยพรรณไม้ต่างๆ ที่ใช้ปลูกทั้งในสวนและในเมืองนับได้เกือบร้อยชนิด
งานสวนและสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลยุโรปในรัชกาลที่ 4-5 ได้ต่อเนื่องมาถึงสมัยรัชกาลที่ 6 และ 7 เช่น วังฤดูร้อนต่างๆ เป็นต้นว่า พระราชวังบ้านปืน และพระตำหนักมฤคทายวัน เพชรบุรี วังสนามจันทร์ นครปฐมและวังไกลกังวล เป็นต้น รูปแบบของสวนไม่เป็นที่เด่นชัดว่ามีรูปแบบอย่างไร กล่าวกันว่าเป็นงานประกอบที่ทำโดยสถาปนิกชาวยุโรปผู้ออกแบบและก่อสร้างอาคาร ซึ่งอาจมีรูปแบบที่สวยงามแต่ได้ถูกแปรเปลี่ยนไปโดยกาลเวลา
สวนและงานภูมิสถาปัตยกรรมได้หยุดนิ่งมาตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจโลกตกต่ำในปลายรัชกาลที่ 7 และเริ่มขยับตัวขึ้นใหม่ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่เริ่มพัฒนาประเทศและสมัยเริ่มสงครามเวียดนาม การใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ ทำให้มีความต้องการบ้้านเช่าที่มีสวน ต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนสร้างโรงแรม เช่น โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเน็นตัล (ปัจจุบันถูกรื้อกลายเป็นศูนย์การค้าสยามพารากอน)และโครงการเงินกู้ได้เผยโฉมของภูมิสถาปัตยกรรมให้ปรากฏ ช่างจัดสวนไทยจึงได้เคยเห็นและรู้จักวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมที่เป็นสากลเป็นครั้งแรก ในขณะเดียวกัน เทศบาลนครกรุงเทพฯ ก็ได้เริ่มรณรงค์จัดสวนตามมุมต่างๆ ของถนน เรียกว่า "สวนหย่อม" โดยเลียนแบบ "สวนญี่ปุ่น" ซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยนั้น
การเร่งรัดพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่จะต้องเร่งแก้ไขทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมได้รับการยอมรับมากขึ้นในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมาของภูมิสถาปัตยกรรมในประเทศไทย
ภูมิสถาปนิกถือว่าเป็นนักวิชาชีพในลักษณะเดียวกันกับแพทย์และนักกฎหมายเนื่องจากบุคคลเหล่านี้ จะต้องได้รับการศึกษาเป็นการพิเศษเฉพาะและจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
ในสหรัฐฯ และที่อื่นๆ การเข้าสู่สายวิชาชีพจะต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนขั้นสูง ผ่านการฝึกหัดงานและผ่านการสอบรับใบอนุญาต ทั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องประโยชน์แห่งสาธารณชนจากความเสียหายที่อาจได้รับจากผู้ไม่มีความรู้ความสามารถและไม่มีจรรยาบรรณ ผู้ปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมจะรวมตัวกันตั้งสมาคมวิชาชีพขึ้นเพื่อร่วมกันจรรโลงสาขาวิชาชีพแห่งตนให้เข้มแข็ง ในสหรัฐฯ คือสมาคมภูมิสถาปนิกอเมริกัน (American Society of Landscape Architects - ASLA) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2442 นับเป็นสมาคมวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมแห่งแรกของโลก
ประเทศไทยได้ก่อตั้ง "สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย" Thai Association of Landscape Architects-TALA เมื่อ พ.ศ. 2530 หลังสหรัฐฯ 88 ปี การควบคุมวิชาชีพกระทำโดยใช้กฎหมายบังคับให้ผู้ปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
อาจกล่าวได้วิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทยที่มีการออกแบบเฉพาะโดยภูมิสถาปนิกโดยตรง และมีการแยกสัญญาจากงานสถาปัตยกรรมเริ่มเมื่อประมาณ พ.ศ. 2515 โดยข้อกำหนดของธนาคารโลกในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาวิทยาเขตใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บ่งให้ใช้ภูมิสถาปนิก
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสำนักงานภูมิสถาปนิกมากกว่า 30 แห่ง วิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมของประเทศไทยอยู่ภายใต้การควบคุมของสภาสถาปนิกตาม พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้แทนพระราชบัญญัติควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508